นิตยสารรายสะดวก  Articles  ๐๙ มีนาคม ๒๕๕๗
อรุณสวัสดิ์ กัมพูชา #11
กาบแก้ว
...อาณาจักรจามปา ​เป็นอาณาจักรโบราณตั้ง​เมื่อพุทธศตวรรษ​ที่ 7 อยู่​ทางใต้ของจีน อยู่​ทางเหนือของอาณาจักรฟูนันปัจจุบัน​คือ เมืองเว้ กว่างนาม ถัวเถียน...

ตอน : บทที่ 4 - อาณาจักรจามปา และคนไทยเชื้อสายจาม

อาณาจักรจามปา ​เป็นอาณาจักรโบราณตั้ง​เมื่อพุทธศตวรรษ​ที่ 7 อยู่​ทางใต้ของจีน อยู่​ทางเหนือของอาณาจักรฟูนันปัจจุบัน​คือ เมืองเว้ กว่างนาม ถัวเถียน แผนรัง ​และ ญาจาง​เนื่องจากสมัยก่อนพื้น​ที่นี้​เป็นเขตทุรกันดาร จีนจึงไม่​สามารถครอบครองพื้น​ที่นี้​ได้

คลิกดูภาพขยาย

แผน​ที่อาณาจักรจามปา Vietnam Champa

ชนชาติจามสืบเชื้อสายจากชาวมาลาโย-โพลินีเชียน พวกจาม​เป็นชาวทะเลมี​ความ​สามารถทางการเดินเรือ ​ต่อมาราว พ.ศ. 989 กองทัพจีน​ได้ยกทัพมาตีราชธานีของชาวจามลง​ได้

​เมื่อพุทธศตวรรษ​ที่ 10 มีชาวจีนชื่อ มาตวนหลิน ​ได้เขียนเรื่อง​ของชาวหลินยี่ หรือ ชาวจามว่า ชาวบ้านสร้างบ้านด้วยอิฐแล้ว​ฉาบด้วยปูน หญิง​และชายมีผ้าฝ้ายผืนเดียวห่อหุ้มร่างกาย ​และชอบเจาะหู​และห้อยห่วงเล็ก ผู้ดีใส่รองเท้าหนัง พวกไพร่เดินเท้าเปล่า ​พระราชาทรง​พระมาลาทรงสูง ทรงช้าง ​และล้อมรอบด้วยบริพารถือธง​และกลดกั้น


ศาสนสถานศิลปะจามปา

พุทธศตวรรษ​ที่ 17 นั้น​ชาวจามปา​ได้ถูกรุกราน​โดยกองทัพของ​พระเจ้าชัยวรมัน​ที่ 2 กษัตริย์อาณาจักรเขมร ​และ​ต่อมาใน พ.ศ. 1856พ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัยโจมตี ​และใน พ.ศ. 2014ราชวงศ์เลของชาวเวียดนาม​ได้ยกมาโจมตีราชธานีกรุงวิชัย (บิญดิ่ญ) จนแตก ชาวจามเสียชีวิต 60,000 คน ​เป็นเชลยอีก 30,000 คน ทำให้เสีย​ความ​เป็นชาติ​ไป ​โดย​เป็นเมืองขึ้น​ญวน ​และบาง​ส่วน​ได้อพยพเข้ามาในอาณาจักรสยาม​และมา​เป็นอาสาจามในกรุงศรีอยุธยา​โดยมี​ความรับผิดชอบด้านเรือทะเล ​โดย​ได้​เป็นพนักงานกำปั่นหลวงตั้งแต่สมัย​พระนารายณ์มหาราชจนถึงรัชกาล​ที่ 5

ศาสนาของชาวจาม พวกจามเดิมนับถือ​พระพุทธศาสนา​แต่ชาวมลายู​ได้​ไปเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ชาวจามจึงหันมานับถือศาสนาอิสลามคนไทยจึงเรียกว่า แขกจาม

คลิกดูภาพขยาย

การเต้นระบำจาม​ที่วัดแห่งหนึ่ง​ทางภาคใต้ของประเทศเวียดนาม

ชาวจาม (ชาติพันธุ์)เดิมชาวจามอาศัยอยู่​บริเวณทางใต้ของเวียดนาม ชาวจามมุสลิม​เป็น 1 ใน 54 ชาติพันธุ์ของประเทศเวียดนามในอดีตชนชาติจามตั้งอาณาจักรจามปา​ที่ยิ่งใหญ่ มี​ความเจริญรุ่งเรืองช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ​ที่ 2-15 ด้วยอาณาเขตติดทะเล ชาวจามจึงมี​ความ​สามารถเดินเรือ​และค้าขาย ​ไปตามหมู่เกาะ ไกลถึงแถบตะวันออกกลาง รวมถึงประเทศจีน ​ส่วนใหญ่​เป็นผ้าไหม ไม้หอม เครื่องปั้นดินเผา ปัจจุบัน​คือบริเวณเมืองดานังเมืองท่าในตอนกลางของเวียดนาม มีเมืองหลวงเดิมชื่อ วิชัย ปัจจุบัน​คือเมืองบิญดิ่ญ มีโบราณสถานกระจัดกระจายอยู่​ตามภูเขาต่างๆ​ในเวียดนาม

กระทั่งในปี ค.ศ. 1471 อาณาจักรจามปาสู้รบ​กับชนชาติเวียดนามเดิม ​ที่อยู่​ทางตอนเหนือของประเทศ ทำให้อาณาจักรจามปาล่มสลาย ชาวจาม​ส่วนใหญ่​ต้องอพยพลง​ไปใต้ปัจจุบันมีชาวจามอาศัยอยู่​ทางตอนกลางของเวียดนาม ​ที่เมืองนิงห์ถ่วง เมืองบินห์ถ่วง เตยนินห์ โฮจิมินห์ ​ส่วนทางใต้​จะอาศัยอยู่​​เป็นจำนวนมาก​ที่เมืองอันยาง

คลิกดูภาพขยาย

รูปสลักในปราสาทบายน​เป็นรูปชาวจามบนเรือ ​และซากศพศัตรูชาวขอมในน้ำ

ประวัติศาสตร์อาณาจักรจามปา

ชาวจาม​เป็นกลุ่มชาติพันธุ์​ที่มีภาษา ศาสนา ​และวัฒนธรรมใกล้เคียง​กับกลุ่มชาติพันธุ์ในมาเลเซีย ​และอินโดนีเซีย ​โดยในอดีตชาวจาม​ได้ก่อตั้งอาณาจักรจามปา ​ซึ่งในอดีตพื้น​ที่ของอาณาจักร​จะครอบคลุมเมืองเว้ กว่างนาม ถัวเถียน ฟานรัง ​และญาจาง ของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน

ราว พ.ศ. 989 กองทัพจีนยกทัพมาตีราชธานีวิชัย (เมืองบิญดิ่ญในปัจจุบัน)​ได้สำเร็จช่วงนี้ชาวจีน​ที่มีชื่อ หม่าตวนหลิน เข้ามาบันทึกเรื่อง​ชาวหลินอี้ (ชาวจาม) ​ความว่า

"...​สร้างบ้านด้วยอิฐฉาบปูน หญิง​และชายมีผ้าฝ้ายผืนเดียวห่อหุ้มร่างกายชอบเจาะหู​และห้อยห่วงเล็ก ผู้ดีใส่รองเท้าหนัง ไพร่เดินเท้าเปล่า​พระราชาสวม​พระมาลาทรงสูง ทรงช้าง​และล้อมรอบด้วยบริพารถือธง​และกลดกั้น" — หม่าตวนหลิน

อาณาจักรจามปา รุ่งเรืองสูงสุดช่วงพุทธศตวรรษ​ที่ 14-15 ​แต่ช่วงปลาย​ต้องกรำศึกสงคราม​กับอาณาจักรดายเวียดหรือไดเวียดทางทิศเหนือ ​และอาณาจักรขอมโบราณกระหนาบทางทิศใต้อย่างต่อ​เนื่อง จนในปี พ.ศ. 1688 ​พระเจ้าสุริยวรมัน​ที่ 2 ผู้​ที่สร้างนครวัด เข้ายึดครองเมืองหลวง​ได้ ​ต่อมา ชาวจามปารวมตัวกันติด จัดกองทัพยกมาตี​เอาเมืองเมืองหลวงคืน​ได้ พ.ศ. 1692

ใน พ.ศ. 1720 กองทัพเรือจามปายังยกพลขึ้น​บกเข้าโจมตี​และปล้นสะดม เผาทำลายเมือง​พระนครเสียหายยับเยิน อำนาจอาณาจักรนครหลวงเสื่อม​ไประยะหนึ่ง​ จนถึงสมัย​พระเจ้าชัยวรมัน​ที่ 7 (พ.ศ. 1724-1763) ​พระองค์​ได้กระทำสงครามปราบกษัตริย์จามปาสำเร็จ ​โดยปรากฏมีภาพสลักยุทธนาวี​กับกองทัพจาม ณ ปราสาทนครธมด้วย ​โดย​ได้ผนวกอาณาจักรจามปาเข้า​เป็น​ส่วนหนึ่ง​ของอาณาจักรขอมโบราณถัดจาก​พระองค์นี้ อาณาจักรก็อ่อนแอลงเรื่อยมา

​แม้ชาวอาณาจักรจามปาพยายามรวมตัวถือโอกาสปลดแอกจากอาณาจักรขอม​ได้สำเร็จ ​แต่​ต่อมาก็ถูกอาณาจักรไดเวียด พ.ศ. 2014 กษัตริย์เลถั่นตองแห่งไดเวียดส่งทัพตีเมืองหลวงวิชัย ยึดสำเร็จ กระทั่ง พ.ศ. 2375 สมเด็จ​พระจักรพรรดิมิงห์หม่างจึง​ได้ผนวกดินแดน​ส่วน​ที่เหลือของจามปาเข้า​เป็น​ส่วนหนึ่ง​ของเวียดนาม ​และกลืนชาวจามจนกลาย​เป็นชนกลุ่มน้อย

​ระหว่างสงครามทำลายล้างชาวจามของขอม​และไดเวียดนั้น​ ชาวจามบาง​ส่วนอพยพเข้าสู่ดินแดนสยามในสมัยสมเด็จ​พระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 - 2231) จนถึงรัชสมัย​พระบาท​สมเด็จ​พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่​หัว รัชกาล​ที่ 5 จึง​ได้มีผู้อพยพชาวจามเข้ามามาก​ที่สุดอีกช่วงหนึ่ง​ ​คือ​เมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดครองกัมพูชา​เมื่อกว่า 100 ปีก่อน ​โดย​ได้บีบบังคับห้ามนับถือศาสนาอิสลาม ชาวจามจึงเข้ามาพึ่ง​พระบรมโพธิสมภาร​พระมหากษัตริย์ไทย

คลิกดูภาพขยาย

ศาสนสถานฮินดูศิลปะจามปา ในจังหวัดฟานรัง

วัฒนธรรมจามปา

วัฒนธรรมของอาณาจักรจามปานั้น​ ​ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ​โดยเฉพาะอย่างยิ่งไศวนิกายมาตั้งแต่ต้น ศาสนาพุทธนิกายมหายานมีอิทธิพล​เป็นระยะเวลาสั้น ๆ​ ในราวพุทธศตวรรษ​ที่ 14 ​แต่หลังจากนั้น​ศาสนาฮินดูก็กลับมา​เป็นศาสนาหลักอีกครั้ง

​ส่วนศาสนาอิสลามเริ่มเข้าสู่อาณาจักรจามในพุทธศตวรรษ​ที่ 15 จากการค้าขาย​กับชาวอาหรับ ​แต่ก็ไม่แพร่หลายมากนัก ศาสนาฮินดูยังคง​เป็นศาสนาหลักอยู่​ ​แต่​ต่อมาหลังจาก​ที่อาณาจักรจามแพ้เวียดนามในปี พ.ศ. 2014 ศาสนาอิสลามก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้น​ จนกระทั่งในราวพุทธศตวรรษ​ที่ 22 ราชวงศ์ของกษัตริย์แห่งจามปาก็ยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม ​ซึ่งก็ยิ่งทำให้ประชาชนทั่ว​ไปนับถือศาสนาอิสลามมากขึ้น​ตาม​ไปด้วย

ปัจจุบันนี้ ​แม้ว่าคน​ที่สืบเชื้อสายจาม​ส่วนใหญ่​จะนับถือศาสนาอิสลาม ​แต่​ทว่าอิทธิพลของวัฒนธรรมฮินดูนั้น​ก็ยังคงมีอยู่​​กับชาวจามอยู่​ค่อนข้างมาก

คลิกดูภาพขยาย

ชาวมุสลิมเชื้อสายจามในกัมพูชา

ศาสนา

ชาวจามในอดีตนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู​และพุทธมหายาน​ได้ปรากฏในโบราณสถานต่างๆ​ของชาวจาม ​แต่​ต่อมาชาวมาเลย​์​ได้มาเผยแพร่ศาสนาอิสลามแก่ชาวจาม ​โดยชาวจาม​ที่แบ่งตามศาสนา​สามารถแยกออก​เป็น 4 กลุ่ม ​ได้แก่

จามยัต หรือ จามฮารัต ​เป็นจาม​ที่บริสุทธิ์ หรือจามดั้งเดิม ​ที่ยังไม่​ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หรือศาสนาอิสลาม จามกลุ่มนี้เชื่อในเรื่อง​ของเทวดานับถือเทพดิน น้ำ แม่น้ำ ต้นไม้ ​เมื่อเสียชีวิต​จะ​ใช้วิธีฝังศพ ปัจจุบันจามกลุ่มนี้เหลือเพียงไม่ถึง 2,000 คน อยู่​​ที่เมืองนิงห์ถ่วง

จามอาฮิเออร์ จาม​ที่ยังไม่​ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ​แต่​ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่กินเนื้อวัว ​เมื่อเสียชีวิต​จะทำการเผาศพ บูชาเทวดา ​พระศิวะ จามกลุ่มนี้ปัจจุบันอยู่​​ที่เมืองนิงห์ถ่วง ​และบินห์ถ่วง

จาม​เอาวัล หรือ บีนี หรือ บานี จาม​ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม​เป็นกลุ่มแรก อาศัยอยู่​​ที่เมืองนิงห์ถ่วง มี​ทั้งสิ้น 40,000 คน ​แต่​เป็นจามมุสลิม​ที่ต่างจากชาวมุสลิมทั่วโลก ​เพราะมีวัฒนธรรม​เป็นของตนเอง ​จะนับถือศาสนาอิสลาม คู่​ไป​กับการนับถือบรรพบุรุษดั้งเดิม ​โดยพวก​เขานับถือ​และบูชา​พระอัลเลาะห์ เทวดา ​และบรรพบุรุษ ​แต่​จะไม่ท่องจำคัมภีร์อัลกุรอ่าน ไม่สวด ไม่ละหมาด ไม่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน มัสยิด​จะเปิดเฉพาะในเดือนรอมฎอนเท่านั้น​ ​และไม่มี​ความสัมพันธ์​กับมุสลิมทั่วโลก

จามอาซูแลม ​ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม​โดยตรง อาศัยอยู่​มาก​ที่เมืองอันยาง เมืองยางไซยอ เมืองเตยนินห์ เมืองนิงห์ถ่วง มีประมาณ 25,000 คน กลุ่มนี้ปฏิบัติตนเคร่งครัดตามหลักศาสนาอิสลาม ละหมาดวันละ 5 ครั้ง ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน บริจาคราย​ได้ (ซะกาต) แสวงบุญ​ที่เมืองเมกกะ ​และมี​ความสัมพันธ์​กับมุสลิมทั่วโลก

ชาวไทยเชื้อสายจาม

ชาวไทยเชื้อสายจาม ​เป็นชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่ง​ในตระกูลมาลาโย-โพลินีเชียนหรือชนชาติมลายู อาณาจักรจามอยู่​​ระหว่าง ญวน​กับเขมร ​ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามเรียกกันว่าแขกจาม มีภาษาพูด​ที่สื่อสารกัน​คือ ภาษามลายู ​เป็นกลุ่มภาษาออสโตรนีเชียน เข้ามาในประเทศไทยด้วยสาเหตุต่างๆ​

เข้ามาในช่วงหลังจากเสียกรุงวิชัย อัน​เป็นเมืองหลวงของจามปา

แขกจามในไทยสะสมมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ชาวจามเหล่านี้น่า​จะถูกกวาดต้อนมาจากดินแดนของตัวเอง(เวียดนามปัจจุบัน)ตั้งแต่สมัย​พระเจ้าชัยวรมัน​ที่ 7 แล้ว​ตั้งถิ่นฐานอยู่​ในปริมณฑลของนครธม จน​เมื่อถูกเจ้าสาม​พระยาโจมตีจึงเริ่มถูกกวาดต้อนมาอยู่​อยุธยา ในช่วงสงครามคราวเสียกรุงครั้ง​ที่สอง ชุมชนชาวจามนี้ก็​เป็น​กำลัง​ส่วนหนึ่ง​ในการสู้รบ​กับการรุกรานของพม่าด้วย ​แต่ภายหลังการหลังเสียกรุง ชาวจาม​ที่เหลือรอด​ได้เข้าสวามิภักดิ์​กับ​พระเจ้ากรุงธนบุรี ​และ​ได้ตั้งถิ่นฐาน​ที่บ้านครัว ในรัชกาล​พระเจ้ากรุงธนบุรี มีการรุกรานเขมร​และกวาดต้อนครัวจามมาเพิ่มเติม​ที่บ้านครัวอีก

ชาวจามกลุ่มแรก มีหลักฐานปรากฏช่วงตอนต้นกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 1991 จากการอพยพมาจากตอนเหนือของลาว​และเวียดนาม หรือ อาจ​จะมาจากเกาะบอร์เนียว เข้าอยู่​เมืองชุมพร ก่อนปี พ.ศ. 1997 ในแผ่นดินสมเด็จ​พระบรมไตรโลกนาถ ชาวจาม ​เป็นทหารชั้นดี ราชสำนักอยุธยา​ใช้ในการรบ การเดินเรือ ​และการค้าทางทะเล หรือการขยายอาณานิคมของอาณาจักรอยุธยาลงทางไต้ ชาวจามเข้าตีเมืองชุมพร จากราชอาณาจักรนครศรีธรรมราช​ได้ จึง​ได้ปกครองดินแดนแทบนี้ เมืองชุมพร ​และเมืองไชยา (คอคอดกระ) ​และกวาดต้อนชาวเมืองพงสาลี ​และชาวเมืองแถง (เดียนเบียนฟู) ​เป็นพลเมือง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ​และ​เป็นเมืองท่าค้าขายสำคัญตั้งแต่นั้น​มา

ในสงคราม 9 ทัพ ในรัชสมัย​พระบาท​สมเด็จ​พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช​ได้มีการเกณฑ์เชลยศึกกองทัพอาสาจาม​ไปต่อสู้​กับพม่าจน​ได้รับชัยชนะ ​พระบาท​สมเด็จ​พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรง​พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ​พระราชทาน​ที่ดินผืนหนึ่ง​ ​เพื่อให้ทำมาหากินอยู่​รวมกัน​เป็นหมู่นอกเขต​พระนคร ​โดยมีต้นไม้ใหญ่​เป็นแนวเขต ​และมีร่องน้ำลำกระโดงตามธรรมชาติไหลผ่านริมคลองมหานาค​และคลองแสนแสบ ​คือชุมชนบ้านครัว เขตปทุมวันในปัจจุบัน

ในช่วงรัชกาล​ที่3 ​ระหว่าง พ.ศ. 2330-2394 ชาวจามหรือแขกจาม​ที่นับถือศาสนาอิสลาม​ได้ถูกกวาดต้อนออกมาจากกัมพูชาเข้ามาในสยาม ในสมัย​พระบาท​สมเด็จ​พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่​หัวรัชกาล​ที่ 3 ช่วง​ที่ญวนทำสงคราม​กับเขมร เข้ามาอยู่​ครั้งแรก​ที่ ตำบลน้ำเชี่ยว แห่งเดียว

หลักฐาน​ที่ปรากฏชัดเจนเกี่ยว​กับชาวจามตั้งแต่สมัย​พระบาท​สมเด็จ​พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่​หัว​เป็นต้นมา ​ที่บ้านครัว​เป็นแหล่ง​ที่อยู่​ ของขุนนาง​และทหารเรือของกรมอาสาจาม ภายใต้การนำของ ​พระยาราชวังสัน (บัว) ชาวบ้านครัวมีวัฒนธรรม​เป็นของตนเอง หญิงชาวจามมี​ความชำนาญในเรื่อง​การทอผ้าไหมมาก หญิงบ้านครัวจึงทอผ้า​เป็นหัตถกรรมในระยะแรก ​เพราะตามประเพณีดั้งเดิมของชาวจาม​จะทอผ้า​เอาไว้​ใช้เองในครอบครัว

คลิกดูภาพขยาย

การย้อมไหมของชุมชนจามแห่งบ้านครัว

คลิกดูภาพขยาย

ตัวอย่างผ้าไหมบ้านครัว​ที่ทำ​ได้หลังทอเสร็จ

ในช่วงรัชกาล​ที่5 ​ได้อพยพหนีการบีบบังคับทางด้านศาสนาของฝรั่งเศส​ที่ยึดเมืองเขมรในขณะนั้น​ ในสมัยต้น​พระบาท​สมเด็จ​พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่​หัวรัชกาล​ที่5 เรียกตัวเองว่า แขกจาม หรือ จามปา แขกจามกลุ่มนี้เดินทางด้วยเรือมา​เป็นกลุ่ม ​ต่อมาแยก​ไปตั้งถิ่นฐาน​เป็นสามแห่ง

กลุ่ม​ที่หนึ่ง​ เดินทางลัดเลาะชายฝั่งจนถึงบริเวณปากอ่าวลำคลองท่าตะเภา​และปากอ่าวคลองน้ำเชี่ยว แยกเข้าสู่คลองน้ำเชี่ยว ​ได้แก่ชาวไทยมุสลิม ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบในปัจจุบัน

กลุ่ม​ที่สอง เดินทาง​ไปจนถึงปากน้ำจังหวัดระยอง ขึ้น​​ที่ระยอง

กลุ่ม​ที่สาม ร่องเรือ​ไปถึงกรุงเทพฯ กลุ่มนี้ รัชกาล​ที่ 5 ทรงทราบ โปรดให้จัด​ที่​พระราชทานให้อยู่​​ที่บ้านครัว​โดยรวม​กับชาวจาม​ที่มีอยู่​แล้ว​ เรียกว่า กลุ่มบ้านครัว หรือ แขกบ้านครัว ในปัจจุบันนี้

ชาวมุสลิม​ที่เข้ามาตามลำคลองน้ำเชี่ยว ​ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่​บริเวณป่าชายเลน ​ซึ่งมีชาวไทยอาศัยอยู่​ก่อนแล้ว​ ​ได้สร้างบ้านเรือนขึ้น​ง่ายๆ​ ​เมื่อสร้าง​ที่พักแล้ว​​ได้ร่วมกันสร้างสุเหร่า​เพื่อ​ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา ​โดย​ใช้ไม้โกงกาง มาปัก​เป็นเขต 4 ต้น หลังคามุงด้วยใบปรงนำมาสาน​เป็นตับเหมือนตับจาก มุงกันแดดกันฝน ​ต่อมา​เมื่อตั้งหลักแหล่งแน่นอนแล้ว​​ได้ต่อเติมสุเหร่าให้มีสภาพดีขึ้น​จนถึงปัจจุบัน ​โดยมิ​ได้เคลื่อนย้ายจาก​ที่ตั้งเดิม​แต่อย่างใด ​ส่วนมุสลิม​ที่บ้านเนินตาแมว บ้านปลายคลอง อำเภอเมืองตราด นั้น​ ​เป็นมุสลิม​ที่เกิดจากการ​แต่งงาน​กับคนไทย​และ​ได้มีการย้ายข้ามศาสนากลาย​เป็นกลุ่มมุสลิม​ที่ใหญ่ขึ้น​

ชาวไทยเชื้อสายจาม​ที่มีชื่อเสียงในกองทัพรือ
หลวงปรีชาชาญสมุทร (ซอ โสตะจินดา) -- อดีตผู้บังคับการเรือรบหลวงมกุฎราชกุมาร
​พระพลสิทธิ์ธวาณัฐ (แอ) -- ต้นตระกูลไอศนาวิน
หลวงสาครยุทธวิชัย -- ต้นตระกูลหัสตานนท์
หลวงสมบูรณ์ยุทธวิชา

อ้างอิง
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสาร​และจดหมายเหตุ, 2542

 

F a c t   C a r d
Article ID S-3549 Article's Rate 20 votes
ชื่อเรื่อง อรุณสวัสดิ์ กัมพูชา --Series
ชื่อตอน บทที่ 4 - อาณาจักรจามปา และคนไทยเชื้อสายจาม --อ่านตอนอื่นที่ตีพิมพ์แล้ว คลิก!
ผู้แต่ง กาบแก้ว
ตีพิมพ์เมื่อ ๐๙ มีนาคม ๒๕๕๗
ตีพิมพ์ในคอลัมน์ สัพเพเหระ
จำนวนผู้เปิดอ่าน ๙๖๐ ครั้ง
จำนวนความเห็น ๐ ความเห็น
จำนวนดอกไม้รวม ๘๗
| | | |
เชิญโหวตให้เรตติ้งดอกไม้แก่ข้อเขียนนี้  
R e a d e r ' s   C o m m e n t

สั่งให้ระบบส่งเมลแจ้งการเพิ่มเติมความเห็น
 ศาลานกน้อย พร้อมบริการเสมอ และยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกท่าน  ติดต่อเว็บมาสเตอร์ได้ทางคอลัมน์ คุยกับลุงเปี๊ยก หรือทางอีเมลได้ที่ uncle-piak@noknoi.com  พัฒนาระบบ : ธีรพงษ์ สุทธิวราภิรักษ์  โลโกนกน้อย : สุชา สนิทวงศ์  ภาพดอกไม้ในนกแชท : ณัฐพร บุญประภา  ลิขสิทธิ์งานเขียนในนิตยสารรายสะดวก เป็นของผู้เขียนเรื่องนั้น  ข้อความที่โพสบนเว็บไซต์แห่งนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้โพสทั้งสิ้น