นิตยสารรายสะดวก  Memorandum  ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๔
เที่ยวไปตามใจฉัน #21
pilgrim
...จอห์นต้อนรับพวกเราอย่างแข็งขันมาก พี่แกช่างพูด ช่างคุย ​แต่ค่อน​จะ​ไปในแนวออกคำสั่ง ​คือ ห้ามพวกเราทำนั่นทำนี่ เช่น ห้ามผึ่งผ้าชื้นๆ​​ที่ฮีทเตอร์ ตื่นเช้า​ห้ามทำเสียงดัง​เพราะเดี๋ยว​จะรบกวนแขกห้องอื่น...

ตอน : สุดแผ่นดินอังกฤษ: ซอมเมอร์เซ็ต-เดวอน-คอร์นวอล ทะเลตะวันตกฝั่งแอตแลนติก

Cornwall- Looe - Fowey - Polperro

อังคาร 23 สิงหาคม 2005

เราออกจากโรงแรม Sommerville ​ที่เมืองทอร์คีย์ แห่งแคว้นเดวอนตอนใต้กัน​แต่เช้า​

หลังจากกินอาหารเช้า​สไตล์ English breakfast ตามเดิม ฉันบอกเลสลีย์ให้ช่วยเจรจา​กับเจ้าหน้า​ที่โรงแรมขอ​ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์​เขาหน่อย​​ได้ไหม ​เพราะคาร์ดในกล้องถ่ายรูปใกล้​จะเต็มแล้ว​ ฉัน​เอาฮาร์ดดิสขนาด 80 GB ติดตัว​ไปด้วย อยาก​จะย้ายรูป​ไปอยู่​ในฮาร์ดดิสอันนั้น​ ​แต่เราไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ ​เมื่อวานลองขับรถหาอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ก็หาไม่เจอสักร้าน

เลสลีย์ก็จัดแจงเจรจาให้ ​เขาเลย​ให้ฉัน​ไปนั่งทำอยู่​ในห้องสำนักงานของโรงแรม
​เมื่อยักย้ายถ่ายเทรูป​ไปอยู่​ในฮาร์ดดิสแบบพกพา​ได้ เราก็ออกเดินทางมุ่งสู่ Cornwall กัน ​ซึ่งถือ​เป็นไฮไลต์ของการเดินทาง

เลสลีย์ขับเข้าสู่เขต Cornwall ข้ามสะพานทาร์มาร์(Tarmar) ​ซึ่งถือ​เป็นสะพานแบ่งเขต​ระหว่างแคว้นเดวอน​กับคอร์นวอล ​ต้องเสียค่าด่านผ่านสะพานด้วยค่ะ​ ​เพราะรัฐบาลสมัยหนึ่ง​ไม่ยอมให้เงินอุดหนุน ทางรัฐบาลท้องถิ่นก็เลย​​ต้องบริหาร ​โดยให้เอกชนเข้ามาจัดการเก็บเงินค่าด่าน​เอามาทำทุนซ่อมบำรุง

คลิกดูภาพขยาย





สะพานทาร์มาร์นี้​เป็นสะพานแขวน ข้ามแม่น้ำทาร์มาร์​ซึ่งอยู่​ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ​ระหว่างเมืองพลีมัธ (Plymouth) ​กับเมืองซัลแทช (Saltash)

จากนั้น​ เลสลีย์ก็ขับรถมุ่งตรง​ไปเมืองลู (Looe)

เราแวะกัน​ที่เมืองนี้ชั่วคราว ​เพราะเลสลีย์​ต้องการแวะกดเงินจากเครื่อง พวกเราอีกสามคนนั่งรออยู่​ในรถ ​เพราะหา​ที่จอดไม่​ได้ ฉันก็เลย​ถือโอกาสนั่งสำรวจเมือง​ไปพลางๆ​

เมือง Looe ​เป็นเมืองชายทะเลเล็กๆ​ ​แต่ก็จอแจน่าดูเหมือนกัน ฉันคิดว่า หน้าร้อนอย่างนี้ เมืองชายทะเลของอังกฤษก็คงจอแจ คับคั่ง​ไปด้วยนักท่องเ​ที่ยวเต็ม​ไปหมดทุก​ที่

เมือง​แต่ละแห่งในคอร์นวอล​เป็นเมืองเล็กๆ​อยู่​แล้ว​ ดังนั้น​ จึงยิ่งเต็มแน่น​ไปหมด ​เมื่อมีนักท่องเ​ที่ยวมาเยือน

ออกจากเมือง Looe พวกเรามุ่งตรงสู่​ที่พัก B&B ​ที่จองไว้เหมือนเดิม คราวนี้ เราพักกัน​ที่ Greystone Pool B&B

พวกเรารีบเข้า​ไปเช็คอินกันก่อน เจอเจ้าของบ้านพัก​เป็นคู่สามีภรรยา คน​ที่มาต้อนรับ​คือฝ่ายสามี ชื่อ จอห์น

จากการคุยกัน ทำให้เลสลีย์​และแคเรนบอกฉันว่า จอห์น​เป็นชาวแมนเชสเตอร์ ​เพราะสำเนียง​เขาออก​ไปทางนั้น​ เรียกว่า สำเนียงแมนคูเนียน (mancunian) ​ทั้งเลสลีย์​และแคเรนบอกว่า เธอก็เคยอยู่​​ที่แมนเชสเตอร์มาเหมือนกัน ​แต่ไม่ติดสำเนียงนั้น​ ​เพราะไม่​ได้มีพื้นเพอยู่​​ที่นั่น

เลสลีย์บอกว่า สำเนียงชาวแมนเชสเตอร์นั้น​ ฟังยากมาก ​เพราะ​เขา​จะพูดสำเนียงแปลกๆ​

ฉัน​ได้ยินเช่นนั้น​ ก็นึกในใจว่า เออ ดีจริงหนอ อังกฤษก็ไม่ใช่ประเทศกว้างใหญ่ไพศาลนัก (​ถ้าเปรียบ​กับอเมริกา) ​แต่เรื่อง​สำเนียงในการพูดนั้น​ ​ถ้า​ใคร​ได้มาฟังแล้ว​​จะเวียนหัว ​เพราะมันมีสำเนียง​ที่เหน่อกัน​ไป​ได้มากมาย​เหลือเชื่อ

แบบสก็อตช์บ้าง แบบเวลช์บ้าง แบบไอริชบ้าง แบบลอนดอนบ้าง แบบภาคกลางบ้าง แบบนิวคาสเซิลบ้าง แบบภาคใต้บ้าง แบบคอร์นวอลบ้าง

เรียกว่า​เป็นนักอนุรักษ์นิยม รักษาเอกลักษณ์ของตัวเองไว้​ได้ทุกอย่าง แล้ว​​เขาก็ไม่เห็น​จะอายกัน​ที่ตัวเองมีสำเนียงเหน่อๆ​ ไม่เหมือนชาวบ้าน ตรงกันข้าม ​เขา​กับภาคภูมิใจซะด้วยซ้ำ ​ที่มีรกรากทางภาษา​และวัฒนธรรมของตัวเอง

น่ามึนจริงๆ​ เรียกว่า​แต่ละ​ที่​แต่ละถิ่น ​จะมีสำเนียงประจำท้องถิ่นของตัวเองก็​ได้ ​และคน​แต่ละกลุ่มก็พูดเพี้ยนๆ​กัน​ไป

ไหน​จะยังมีสำเนียงค็อคนีย์ของคนชั้นล่างอีก เรียกว่า บางที ฟังคนขายของ คนขับรถ ชาวไร่ชาวนา หรือชาวบ้านร้านตลาดพูด ก็ไม่ค่อย​จะรู้เรื่อง​ ​เพราะ​เขา​จะมีน้ำเสียง สำเนียงเฉพาะของ​เขา

พี่จอห์นต้อนรับพวกเราอย่างแข็งขันมาก พี่แกช่างพูด ช่างคุย ​แต่ค่อน​จะ​ไปในแนวออกคำสั่ง ​คือ ห้ามพวกเราทำนั่นทำนี่ เช่น ห้ามผึ่งผ้าชื้นๆ​​ที่ฮีทเตอร์ ตื่นเช้า​ห้ามทำเสียงดัง​เพราะเดี๋ยว​จะรบกวนแขกห้องอื่น อาบน้ำให้อาบค่อยๆ​ ​ต้องจอดรถใน​ที่​ที่ระบุไว้เท่านั้น​ (แกออกมาโบกให้จอดทุกครั้ง​ที่เราเลี้ยวเข้ามาจอด)

พอพวกเราเข้าเช็คอิน พี่จอห์นก็เรียกเลสลีย์ให้ขึ้น​บันได​ไปดูห้องเพียงคนเดียว สั่งเด็ดขาดว่าแค่คนเดียว คนอื่นไม่​ต้องตาม​ไปดู

แก​ไปชี้ให้เลสลีย์ดูว่าห้องอยู่​ตรงโน้นนะ ​ถ้ายูกลับมาตอนกลางคืน ยู​จะ​ได้ตรงเข้าห้องของยู​ได้เลย​ ​แต่ตอนนี้ อย่าเพิ่งเข้า​ไปเลย​ ​เพราะแกยังจัดห้องให้ไม่เสร็จ พวกเราก็ไม่ว่าอะไร​ ​ได้​แต่ขนกระเป๋ามากองไว้ ​เพราะพี่จอห์นบอก​จะยกเข้า​ไปเก็บในห้องให้

พวกเราคุยกันว่า อยาก​ไปเ​ที่ยว Land's end กัน แกบอกว่า อย่า​ไปเลย​ Land's end ตอนนี้กลาย​เป็น rubbish ​ไปแล้ว​ มี​แต่ร้านขายของเต็ม​ไปหมด

อันคำว่า rubbish ของคนอังกฤษนั้น​ ก็​คือ ขยะ ​แต่​เขา​จะมี​ความหมายอุปมาอุปมัยถึงอะไร​ก็​ได้ ​ที่มันแย่ ห่วย กระจอก เห่ย โหลยโท่ย ​เป็นการเน้น​ความหมายให้เข้มข้น

เช่น I'm rubbish at drawing. ก็หมาย​ความว่า ฝีมือเขียนภาพลายเส้นของฉันนั้น​มันห่วยจริงๆ​ (อันนี้ว่าตัวเองให้คนอื่นฟัง)

พวกเรา​ได้ฟังก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ​แต่ใจฉันน่ะอยาก​ไป ​เพราะเคย​ได้ยินชื่อ Land's end มานาน ใน​เมื่อเรามาจ่อขนาดนี้แล้ว​ ขอ​ได้​ไปสัมผัสสักครั้งก็ยังดี

พวกเราถามจอห์นว่า ​ถ้าวันนี้ เรายังไม่​ไป Land's end แถวนี้มีชายหาด​ที่ไหนสวยบ้าง จอห์นบอกว่า ให้​ไปนั่นเลย​ Talland Bay

เลสลีย์​กับแคเรนก็อุตส่าห์ขับรถ​ไปตามคำแนะนำ หมายมั่นปั้นมือ​จะให้เนโอมี​ได้ลง​ไปเล่นทราย​ที่ชายหาด​และว่ายน้ำเล่น

​แต่พอ​ไปถึง ​ที่ทัลแลนด์เบย์ กลับ​เป็นหาดหิน ประมาณว่ามี​แต่ก้อนหินระเกะระกะอยู่​เต็มหาด ไม่มีหาดทรายเลย​ พวกเราก็ขำกันด้วย​ความอ่อนใจ​กับคำแนะนำของพี่จอห์น


คลิกดูภาพขยาย



แคเรนไม่สิ้น​ความพยายาม เธอ​เอาแผน​ที่มาเปิดดู ​เพื่อหาหาดทรายชายทะเลให้ลูกเล่นน้ำ
อันว่า ชายหาดของอังกฤษนี้ ไม่ใช่ว่า​จะลงเล่นน้ำ​ได้ทุกหาด ​ต้องเล็งให้ดีๆ​ว่าหาดนี้​เป็นหาดทราย มิฉะนั้น​ก็​จะเจอ​แต่ก้อนหินตะปุ่มตะป่ำเรียงรายกันเต็มหาด

ใน​ที่สุด แคเรนก็หาหาดทรายเจอจากพื้น​ที่ ​แต่เรา​ต้องขับรถ​ไปอีกหน่อย​ ลงเรือ ferry ข้ามฟาก​ที่เมืองบอดดินนิค (Bodinnick) ​เพื่อข้าม​ไปยังเมืองฟาวอี้ (Fowey)


คลิกดูภาพขยาย



​ที่นั่น มีหาดทรายเล็กๆ​ชื่อหาด Ready Money เราจอดรถด้านบน แล้ว​เดินลง​ไป​ที่ชายหาด


คลิกดูภาพขยาย


คลิกดูภาพขยาย



จากนั้น​ก็​เอาผ้าพลาสติกมาปู ​เอาถังทรายออกมาเล่นก่อปราสาททราย ฝังเลสลีย์ในหลุมทรายเล่น แล้ว​ก็​ไปเดินเล่นริมหาด​ที่อยู่​เชิงผา ป่ายปีน​ไปตามก้อนหิน ขากลับน้ำขึ้น​เร็วมาก เกือบ​ต้องว่ายน้ำกลับ


คลิกดูภาพขยาย



วันนั้น​ เราพักผ่อนกันแบบสบายๆ​ ซื้อไอศกรีมจากรถไอศกรีม​ที่มาจอดขายกินกัน จนเย็น เราจึงขับรถ​ไปยังเมืองโพลแพโร (Polperro) ​เพื่อหาอาหารเย็นกิน

ก่อนกินอาหารเย็น พวกเราถือโอกาสเดินเ​ที่ยวเมือง (หรือหมู่บ้านก็ไม่รู้ ​เพราะมันเล็กๆ​) เดิน​ไปถึงท่าเรือ​ที่มีเรือประมงเข้ามาจอดเทียบขนปลาเข้าโกดังห้องเย็น ​ที่เมืองนี้ ท่าทาง​จะ​เป็นตลาดขายปลา​และอาหารทะเลประเภทต่างๆ​ด้วย ​เพราะมีโรงเรือนเหมือนตลาดปลาใหญ่มาก ​แต่ตอน​ที่เรา​ไปเย็นมากแล้ว​ จึงไม่มี​ความเคลื่อนไหวใดๆ​ในตลาดนั้น​ๆ​

คลิกดูภาพขยาย



คลิกดูภาพขยาย



ร้านรวงในเมืองโพลแพโรนี้สวยงาม น่ารัก มีการ​แต่งร้านกระจุ๋มกระจิ๋ม ​และมีร้านอาหารมากมาย​ให้เลือกลิ้มลอง

คลิกดูภาพขยาย


คลิกดูภาพขยาย



พวกเราเลือก​ได้ร้านหนึ่ง​ ชื่อว่าร้าน Neville’s จึง​ได้ค้นพบว่า ซุปแบบซีฟู้ดของ​เขาอร่อยมากๆ​ ​เป็นซุปข้นๆ​

จากนั้น​ พวกเราก็สั่งอาหารจานหลัก หรือ main course กัน ฉันสั่งข้าวราดแกงเผ็ดกุ้ง ​แต่​เมื่อ​ได้กินแล้ว​ไม่อร่อยอย่าง​ที่คิด ​เพราะ​เขาแกงออก​ไปทางแนวอาหารอินเดีย ​ซึ่งกลิ่นเครื่องเทศค่อนข้าง​จะแรง ไม่อร่อยเหมือนแกงเขียวหวานของไทยเลย​สักน้อยเดียว

พวกเราขับรถกลับกัน กว่า​จะมาถึง​ที่พักของพี่จอห์นก็ดึกโขอยู่​ ราวๆ​ห้าทุ่ม เ​ที่ยวหน้าร้อนก็​เป็นเช่นนี้ ​เพราะกลางวัน​จะยาวกว่ากลางคืน

หน้าร้อนของอังกฤษประมาณตีสี่ฟ้าก็เริ่มแจ้ง ขณะ​ที่กว่า​จะเย็นย่ำโพล้เพล้ก็ราวๆ​สี่ทุ่ม ​เพราะฉะนั้น​ การเ​ที่ยวหน้าร้อน จึง​เป็นสวรรค์ของนักท่องเ​ที่ยว ​เพราะมีเวลา​ได้เตร็ดเตร่​ได้นาน​ทั้งวัน

เราขับรถเลี้ยวเข้ามาถึง​ที่พัก พี่จอห์นยังไม่นอน ก็ลงมาโบกรถให้พวกเราเข้าจอดตาม​ที่แก​ต้องการ แล้ว​ก็เปิดประตูรับพวกเราเข้าสู่คฤหาสน์ของแกด้วย จากนั้น​ แกก็ผลุบหาย​ไป

พอ​จะเข้าห้องพักนี่สิมีปัญหา ​เพราะเลสลีย์ดันจำไม่​ได้ว่าห้องของพวกเราอยู่​ตรงไหน เธอปรี่เข้า​ไปไขกุญแจประตูห้องหนึ่ง​ ​แต่​ได้ยินเสียงผู้หญิงลอดออกมาจากในห้อง จึงตระหนักว่า​กำลัง​จะเข้าห้องผิด

แล้ว​พวกเราก็ไม่กล้า​ไปถามพี่จอห์นด้วย ​เพราะมันดึกแล้ว​ แคเรนส่ายหัว​กับ​ความเป๋อเหรอของพี่สาว

เธอบอกฉันว่า พี่จอห์นตัดสินใจผิดอย่างจัง ​ที่ดันเลือกเลสลีย์​ไปดูห้องเพียงคนเดียว ไม่ยอมให้คนอื่นตาม​ไปดูด้วย ​เพราะพวกเรารู้กันว่า เลสลีย์นั้น​มัก​จะหลงทิศหลงทาง​เป็นประจำ

​แต่ใน​ที่สุด ​เมื่อเลสลีย์ตั้งสติ ก็จำ​ได้ว่าเราควร​จะ​ต้องเดิน​ไปทางไหน พวกเราจึง​ได้เข้าห้องใน​ที่สุด

ถึงห้องพัก พวกเราก็เตรียมตัวนอนกันเหมือนเช่นทุกคืน คราวนี้ เรา​ได้นอนในห้องเดียวกัน มีสี่เตียงก็ดีเหมือนกัน ​แต่แย่งกัน​ใช้ห้องน้ำหน่อย​ ​เพราะห้องพักบ้านพี่จอห์น มีห้องน้ำให้ในตัว ห้องหนึ่ง​ต่อสี่คน ก็เลย​​ต้องเข้าคิวกัน

 

F a c t   C a r d
Article ID S-2201 Article's Rate 170 votes
ชื่อเรื่อง เที่ยวไปตามใจฉัน --Series
ชื่อตอน สุดแผ่นดินอังกฤษ: ซอมเมอร์เซ็ต-เดวอน-คอร์นวอล ทะเลตะวันตกฝั่งแอตแลนติก --อ่านตอนอื่นที่ตีพิมพ์แล้ว คลิก!
ผู้แต่ง pilgrim
ตีพิมพ์เมื่อ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๔
ตีพิมพ์ในคอลัมน์ ฉันเขียนให้เธออ่าน
จำนวนผู้เปิดอ่าน ๓๔๒ ครั้ง
จำนวนความเห็น ๔ ความเห็น
จำนวนดอกไม้รวม ๗๔๐
| | | |
เชิญโหวตให้เรตติ้งดอกไม้แก่ข้อเขียนนี้  
R e a d e r ' s   C o m m e n t
ความเห็นที่ ๑ : pilgrim [C-11612 ], [124.121.113.142]
เมื่อวันที่ : ๐๔ มิ.ย. ๒๕๕๐, ๒๑.๑๘ น.

สวัสดีค่ะ​​นักท่องเ​​ที่ยวเวอร์ชวลทุกท่าน
เรื่อง​​นี้ใกล้มาถึงตอนจบเต็มทีแล้ว​​นะคะ​​ ​​เพราะเรา​​กำลังเข้าใกล้ สุดแผ่นดินอังกฤษเข้า​​ไปทุกที

​​ต้องขอขอบคุณนักอ่านทุกๆ​​ท่านค่ะ​​​​ที่คลิกเข้ามาอ่าน
ขอขอบคุณป้าอุ๊ ​​ที่เพิ่งเผยโฉมว่า​​เป็นนักอ่าน​​และนักเ​​ที่ยว นักเดินทางด้วยค่ะ​​
ขอให้ท่องเ​​ที่ยวเดินทางอย่างมี​​ความสุขในทุก​​ที่นะคะ​​

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๒ : ป้าทอง [C-11613 ], [58.9.68.105]
เมื่อวันที่ : ๐๕ มิ.ย. ๒๕๕๐, ๐๐.๔๒ น.

สนุกดีจ๊ะ​​ เจ๊พิลฯ ​​แต่​​ไปหาด ​​ทั้งที น่า​​จะมี ถ่ายภาพสาวๆ​​ใส่วันพีซ (หมวก)มาให้ดูด้วย

ป้าทองเพิ่ง​​ได้เข้ามาอ่าน ​​ต้องขอโทษด้วย​​ที่หาย​​ไปนาน
เข้ามา​​ได้ก็แว็บๆ​​ตอนดึกๆ​​ก่อนนอน
งานเขียนยัง​​ต้องพักอีกยาว ตอนนี้มี​​แต่งานขน(ของ)อย่างเดียวจ๊ะ​​
คิดถึงจัง ​​แต่ยังหาจังหวะไม่ค่อย​​ได้เลย​​จ๊ะ​​ ขอให้มี​​ความสุขมากๆ​​นะจ๊ะ​​

​​ถ้าคิดถึงป้าทอง อย่าลืมจุดธูปอีกนะจ๊ะ​​ bye

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๓ : ป้าอุ๊ [C-11614 ], [203.157.16.246]
เมื่อวันที่ : ๐๕ มิ.ย. ๒๕๕๐, ๐๘.๔๗ น.

อิอิ
มาอีกแล้ว​​คร๊าบบบทั่น
จริงๆ​​ ป้าอุ๊ไม่ใช่นักท่องเ​​ที่ยวตัวยงหรอกจ้ะ​​ หนูพิล
บังเอิญ มีชายอัน​​เป็น​​ที่รัก อยู่​​​​ที่ประเทศอังกฤษ ค่ะ​​
​​แต่ก็ยังรักชีวิตโสด แบบนี้อยู่​​
เลย​​​​ได้​​ไปเ​​ที่ยวอังกฤษ แค่ปีละหน มิ​​ได้​​ไปอยู่​​ถาวร..อิอิ

งานเขียนของ หนูพิล ช่วยป้าอุ๊​​ได้มาก ​​กับ​​ความไม่​​เป็นประสาของตัวเอง
อิอิ ขอบคุณหลายเด้อ

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๔ : ปอ เปลือกไม้ [C-11655 ], [125.26.27.107]
เมื่อวันที่ : ๐๙ มิ.ย. ๒๕๕๐, ๐๕.๓๗ น.

​​ไปเ​​ที่ยวมามากมาย​​ตามใจฉัน
เดี๋ยว​​ที่นั่น​​ที่นี่มี​​ความหมาย
​​ได้เรียนรู้โลกกว้าง​​ที่ห่างไกล
​​ได้ท่อง​​ไปต่างแดนแสนเพลิดเพลิน
ไม่​​ได้เห็น​​กับตายังตาตื่น
รอวันคืนผินผกระหกระเหิน
เรา​​เป็นแค่เปลือกไม้ฝันไกลเกิน
ขอแค่เพลินชมภาพประทับใจ.

แจ้งลบข้อความ


สั่งให้ระบบส่งเมลแจ้งการเพิ่มเติมความเห็น
 ศาลานกน้อย พร้อมบริการเสมอ และยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกท่าน  ติดต่อเว็บมาสเตอร์ได้ทางคอลัมน์ คุยกับลุงเปี๊ยก หรือทางอีเมลได้ที่ uncle-piak@noknoi.com  พัฒนาระบบ : ธีรพงษ์ สุทธิวราภิรักษ์  โลโกนกน้อย : สุชา สนิทวงศ์  ภาพดอกไม้ในนกแชท : ณัฐพร บุญประภา  ลิขสิทธิ์งานเขียนในนิตยสารรายสะดวก เป็นของผู้เขียนเรื่องนั้น  ข้อความที่โพสบนเว็บไซต์แห่งนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้โพสทั้งสิ้น