![]() |
![]() |
รจนา ณ เจนีวา![]() |
...จิตรกรท่านนี้อยู่ร่วมสมัยกับพอล เคลค่ะ มีชื่อว่า วัสซิลี่ย์ คันดินสกี้ (Wassily Kandinsky) ถือว่าเป็นผู้สร้างสรรค์คนสำคัญของศิลปะสมัยใหม่ โดยใช้แนววาดแบบ abstraction...
ตอน : ภาพวาดแบบคันดินสกี้ (Kandinsky)
รจนากำลังสนุกกับการเรียนรู้เรื่องศิลปะสมัยใหม่ค่ะ พอดีช่วงนี้เขามีนิทรรศการภาพวาดของจิตรกรชาวรุสเซียมาแสดงที่เมืองบาเซิล สวิตเซอร์แลนด์ ก็เลยถือโอกาสนำมาฝากเพื่อน ๆ นะคะมารู้จักกันไว้ไม่เสียหาย เกิดมีใครพูดถึงก็ยังจะพอนึกออกว่า หน้าตารูปเขียนของเขาเป็นอย่างไร
จิตรกรท่านนี้อยู่ร่วมสมัยกับพอล เคลค่ะ มีชื่อเต็มว่า วัสซิลี่ย์ คันดินสกี้ (Wassily Kandinsky) ถือว่าเป็นผู้สร้างสรรค์คนสำคัญของศิลปะสมัยใหม่ โดยใช้แนววาดแบบ abstraction
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ดูภาพเหมือนของคันดินสกี้ คนนี้หน้าไม่ดุเหมือนพอล เคล ค่ะ
นอกจากเป็นจิตรกรแล้วคันดินสกี้ยังเป็นนักทฤษฎีด้านการพัฒนาศิลปะแบบนามธรรม (abstract art)
คันดินสกี้เกิดในกรุงมอสโคว์ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๑๘๖๖ สมัยเด็ก ๆ เขาอาศัยอยู่ที่เมือง Odessa พ่อของเขาเป็นนักเปียโน และตัวคันดินสกี้เองก็เรียนเปียโนและเชลโลตั้งแต่เด็ก ๆ นั่นเป็นเหตุผลให้ดนตรีมีอิทธิพลกับงานวาดของเขาอย่างยิ่ง
ในปี ๑๘๘๖ เขาเข้าเรียนที่ University of Moscow และเลือกเรียกกฎหมายกับเศรษฐศาสตร์ หลังจากผ่านการสอบทั้งหลายแล้ว เขาเริ่มเป็นผู้บรรยายที่มหาวิทยาลัย เขาเป็นคนที่รักความสำเร็จ ไม่เฉพาะในฐานะที่เป็นอาจารย์ แต่ยังในเรื่องการเขียนเกี่ยวกับจิตวิญญานความเชื่อ (spirituality)
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ในปี ๑๘๙๕ เขาไปชมงานเขียนของจิตรกร Impressionist ชาวฝรั่งเศสที่เขาได้เห็นภาพของ Monet ที่ชื่อว่า Haystacks at Giverny (กองฟางที่จิแวร์นี) เขากล่าวถึงภาพนี้ว่า "กว่าจะรู้ว่าเป็นภาพกองฟาง ผมก็ต้องไปอ่านจากในแคตตาล็อคภาพ ผมรู้สึกโมโหที่ดูไม่ออกเสียก่อนว่าเป็นภาพกองฟาง ผมคิดว่า จิตรกรไม่มีสิทธิที่จะวาดภาพที่ดูไม่รู้เรื่องเช่นนี้ ผมยังรู้สึกด้วยว่า กองฟางนั้นไม่ปรากฎอยู่ในภาพเขียนเลย....."
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
จิตรกรของเราศึกษาศิลปะที่ Academy of Fine Arts ในเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนีในระหว่างปี ๑๘๙๖-๑๙๐๐ ภาพวาดในระยะแรกจะมีลักษณะทางธรรมชาติ (naturalistic style) แต่พอถึงปี ๑๙๐๙ หลังจากเดินทางไปเยือนปารีส คันดินสกี้จึงได้แรงบันดาลใจจากงานของ Fauves และจิตรกรแบบ post-impressionists ภาพเขียนของเขาจึงเริ่มมีสีสันและมีการจัดวางที่เป็นระบบขึ้น
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ในปี ๑๙๑๓ คันดินสกี้จึงเริ่มสร้างผลงานที่ถือว่าเป็นงานศิลปะสมัยใหม่เชิงนามธรรมอย่างเต็มตัว โดยไม่อ้างอิงวัตถุใด ๆ ที่คนรู้จักกัน และได้รับการสร้างสรรค์โดยอิทธิพลของดนตรีโดยแท้
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ในปี ๑๙๑๑ คันดินสกี้ได้ร่วมกับฟร้านซ์ มาร์ค (Franz Marc) และจิตรกร expressionists ชาวเยอรมันคนอื่น ๆ ก่อตั้ง กลุ่ม Der Blaue Reiter (The Blue Rider หรือ นักขี่ม้าสีฟ้า) ทั้งนี้เพราะคันดินสกี้รักสีฟ้า และมาร์คเองรักม้า ในช่วงนี้จิตรกรเอกของเรารังสรรค์ผลงานแบบแอ๊บสแตร็กท์และแบบ figurative โดยใช้สีสันอันยอดเยี่ยม และมีแพทเทิร์นที่ดูซับซ้อนยิ่ง
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
อิทธิพลของคันดินสกี้ต่องานศิลปะในศตวรรษที่ ๒๐ นี้ยิ่งเน้นชัดขึ้นเนื่องจากเขามีฐานะเป็นนักทฤษฎี (Theorist) และอาจารย์ที่สั่งสอนศิลปินรุ่นต่อมาด้วย ในปี ๑๙๑๒ เขาตีพิมพ์หนังสือที่ชื่อว่า Concerning the Spiritual in Art ซึ่งเป็นงานด้านทฤษฎีเกี่ยวกับ abstraction เล่มแรกที่ทำให้แนวคิดของเขากระจายไปทั่วทวีปยุโรป
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
นอกจากนั้นเขายังทำงานสอนที่ Moscow Academy of Fine Arts ในระหว่างปี ๑๙๑๘ ถึง ๑๙๒๑ และสอนที่ the Bauhaus ในเมือง Dessau เยอรมนีจากปี ๑๙๒๒ ถึง ๑๙๓๓
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ (๑๙๑๔-๑๙๑๘) ความเป็นนามธรรมในงานของคันดินสกี้เริ่มมีลักษณะเป็นเรขาคณิตมากขึ้น ภาพที่ชื่อว่า Composition VIII No. 260 เป็นตัวอย่างของการรวมตัวกันของเส้นสาย วงกลม วงโค้ง และรูปแบบเรขาคณิตอื่น ๆ งานต่อมา เช่น Circle and Square จะดูหรูหรางดงามขึ้นและซับซ้อนขึ้น อันเนื่องมากจากการสร้างสมดุลอย่างงดงามในลักษณะที่เหมือนอัญมณี
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
คันดินสกี้ถือเป็นจิตรกรที่มีอิทธิพลต่องานศิลป์มากที่สุดคนหนึ่งในยุคสมัยของเขา และเป็นผู้บุกเบิกหลักการแห่งศิลปะเชิงนามธรรมที่ "สมบูรณ์" อาจกล่าวได้ว่า เขาเป็นผู้ปูทางให้ abstract expressionism ซึ่งเป็นสำนักวาดที่กุมแนวคิดของจิตรกรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (๑๙๓๙-๑๙๔๕)
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
งานของคันดินสกี้มีแสดงอยู่ทั่วยุโรป นับตั้งแต่ปี ๑๙๐๓ เป็นต้นมา และมักทำให้มวลชนและนักวิจารณ์งานศิลป์เกิดความปั่นป่วนได้เสมอ ชื่อเสียงของเขาเป็นที่รู้จักกันดีในสหรัฐอเมริกา โดยผ่านงานแสดงภาพที่นับไม่ถ้วน นอกจากนั้น เขายังได้ Solomon Guggenheim เป็นผู้ให้การสนับสนุนงานของเขาอย่างเต็มที่
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
คันดินสกี้สิ้นชีวิตที่เมือง Neuilly-sur-Seine ชานเมืองปารีสเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๑๙๔๔ กล่าวกันว่า เขาวาดรูปจนแทบจะนาทีสุดท้ายของชีวิตเลยทีเดียว
รจนาว่าภาพของเขาหลายภาพก็เป็นภาพทิวทัศน์ดูง่าย ๆ เช่น ภาพแรกกับสองสามสุดท้าย แต่หลายภาพก็ดูเวียนหัวดี มีลักษณะเหมือนความคิดที่ฟุ้งกระจายแบบท่วงทำนองดนตรี.....
(ปล ภาพทั้งหมดนี้โหลดมาจากอินเตอร์เน็ตค่ะ ลุงเปี๊ยก เป็นขนาดต้นฉบับทั้งนั้นเลย ก็เลยไม่สามารถทำให้ใหญ่กว่านี้ได้)
เมื่อวันที่ : ๑๓ ธ.ค. ๒๕๔๙, ๐๙.๔๘ น.
ภาพสวยจังครับ เสียดายว่าขนาดภาพออกจะเล็กไปสักหน่อย
ภาพขนาดความกว้าง 500 pixel น่าจะแสดงผลบนนิตยสารเราได้ดีนะครับ เพียงแต่ต้องอัพโหลดทีละน้อย ๆ แล้วก็อย่าไปติ๊ก resize (รีไซต์เนี่ย เค้าจะปรับขนาดลงตอนแสดงผลครับ แต่ไฟล์จริงจะเก็บขนาดใหญ่)
ชอบภาพที่นำมาโพสต์มาก สวยแจ่ม !