![]() |
![]() |
รจนา ณ เจนีวา![]() |
ตอน : อินเตอร์ลาเก้น (Interlaken) (หนึ่ง)
ในที่สุดก็ได้เขียนเรื่องนี้เสียที เพราะมัวไปติดเรื่องนักเรียนภาษาพาเพลินเสียสิบกว่าตอน ซึ่งที่จริงยิ่งเขียนก็ยิ่งสนุกค่ะ และอาจจะมีเขียนภาคสองก็ได้ แต่ก็จะเอาเรื่องเที่ยวสวิสอื่น ๆ มาเล่าคั่นจังหวะบ้างแล้วกันนะคะเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีการประชุมรถยนต์คลาสสิกของยี่ห้อ มาเซอราติ (Maserati) เป็นรถอิตาเลียนนะคะ เชื่อว่าผู้อ่านจำนวนมากคงรู้จักดี (เป็นรถแข่ง รถสปอร์ต รถที่มีไว้ขับอวดกันมากกว่าอย่างอื่น)
การประชุมนี้เป็นการประชุมระดับภูมิภาคยุโรป มีสปอนเซอร์ใหญ่ ๆ เช่น บัตรเครดิตอเมริกันยี่ห้อหนึ่ง กาแฟอิตาเลียนอีกยี่ห้อหนึ่ง นาฬิกาสวิสอีกยี่ห้อหนึ่ง และอื่น ๆ อีกมากมาย ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่ต้องจ่ายค่าสมัครมาก แต่ได้บริการดีเยี่ยม
การประชุมพบปะของคนรักรถนี้จัดที่เมืองท่องเที่ยวชื่อดังของสวิตฯ อยู่ใจกลางประเทศและอยู่ระหว่างทะเลสาบสองแห่ง จึงได้ชื่อว่า เมืองอินเตอร์ลาเก้น (Interlaken แปลว่า ระหว่างทะเลสาบ) เป็นเมืองสวย มีทิวทัศน์เห็นยอดเขายุงเฟรา (Jungfrau สาวน้อย) ที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกพากันมาดู
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ยอดยุงเฟราเห็นสลัว ๆ ในสายหมอก
พวกเราสมัครเข้าร่วมก็หลายเดือนล่วงหน้าค่ะ เห็นว่าค่าสมัครค่อนข้างถูกทีเดียวเมื่อเทียบกับเกรดโรงแรมที่เขาจัดให้เราพัก (ห้าดาว) และกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งก็ได้แก่ การแข่งแรลลี่ อาหารทุกมื้อ กาลาดินเน่อร์ และกิจกรรมทางวัฒนธรรมอื่น ๆ รจนาแค่เห็นชื่อโรงแรมก็บอกพ่อบ้านว่า สมัครเถอะ โรงแรมขนาดนี้ หากให้เราไปพักเองคงไม่มีปัญญาจ่าย (ห้องละประมาณ ๗๕๐ ฟรังก์ต่อวัน แต่ที่เราสมัครนั้นเราจ่ายถูกกว่ามากมาย)
แต่ที่จริงแล้วก็เป็นว่า อินเตอร์ลาเก้นกับเราใกล้กันแค่สองชั่วโมง หากไม่ไปร่วมก็เสียดายเปล่า ๆ เพราะไม่ต้องเดินทางไกลเลย
การเข้าร่วมประชุมนี้ก็มีกฎเกณฑ์ง่าย ๆ ค่ะ ว่าท่านต้องเป็นเจ้าของรถมาเซราติ และลงทะเบียนรถของท่านในการประชุม เขาจะเตรียมแคตาล็อคการประชุมไว้เป็นหนังสือสีสี่อย่างงดงาม มีภาพรถยี่ห้อของเรา (อาจจะเป็นคันอื่น) มีชื่อของเจ้าของรถพร้อมคู่ใจ (เช่น ภรรยา หรือเพื่อนร่วมทาง) ประกาศไว้ในหนังสือเสร็จสรรพ ด้วยเหตุนี้คนที่ไปก็จะได้รู้จักกันผ่านรถยนต์นี่แหละค่ะ
พอใกล้วันเดินทางเข้ามา ปรากฎว่า รถของพ่อบ้านซึ่งเป็นรถรุ่นเก๋า มาเซอราติ เกียอะลามี (Maserati Gyalami) ซื้อมาจากอเมริกาและส่งขึ้นเรือมาลงที่ร็อตเตอร์ดัมในเนเธอแลนด์ ซื้อมาแล้วก็ยังไม่เคยได้ใช้ ต้องมาเคาะพ่นสีใหม่ เปลี่ยนเบาะนั่งใหม่ จูนเรื่องใหม่ ร้อยแปด ทำอยู่เป็นปีก็ไม่เสร็จเสียที ที่เล่านี่ก็อยากให้เห็นว่า คนที่รักรถนั้นเขามีอุปนิสัยอย่างไร เขาไม่ได้ซื้อรถที่เอามาแล้วขับได้เลยหรอกค่ะ เขาจะต้องเอามาตกมาแต่งมาเสียเงินเพิ่มเติมมากมายจนกว่าจะพอใจจึงจะได้ขับ....

ทีแรกพ่อบ้านก็คิดว่า จะซ่อมรถเสร็จทันไปร่วมงาน แต่กลับเสร็จไม่ทันอย่างที่หวัง ทางอู่ซ่อมรถ (ยี่ห้อมาเซอราติโดยเฉพาะ) ก็ดีใจหาย เขายินดีให้ขับรถของเขาไปซึ่งเป็นรถยี่ห้อเดียวกันรุ่นเดียวกัน แต่ว่ามีปัญหาเรื่องประกันรถยนต์ ทำให้เอาไปใช้ไม่ได้ พ่อบ้านก็จนใจ โทรไปขอยกเลิกกับประธานชมรมที่จัดประชุมว่าจะไม่ไปดีกว่า ประธานฯก็บอกว่า อย่ายกเลิกเลย เพราะตอนนี้ไม่มีคิวรออยู่ จะเสียเงินเปล่า เอารถอื่นมาก็ได้ จะเป็นบีเอ็มหรือเมอร์ซิเดสก็ได้ เราคุยกันแล้วก็คิดว่าเอาก็เอา อินเตอร์ลาเก้นอยู่แค่นี้เอง ไม่เสียเวลามาก น่าจะไปแล้วกัน
แต่เราไม่มีทั้งสองยี่ห้อที่ว่านี้ค่ะ

![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
รถของเรา Triumph TR-8
เขาจัดลงทะเบียนอย่างมืออาชีพ มีโต๊ะแจกเอกสารโฆษณาต่าง ๆ มีกระเป๋าใส่อย่างดี มีป้ายแรลลี่ มีอะไรต่ออะไร รจนาก็จำไม่ได้ แล้วยังให้เรากรอกหมายเลขรถของเราใส่กล่องจับฉลากอีก เพราะเขาจะมีการจับรางวัลใหญ่สามรางวัล คือ แพกเก็จฮอลิเดย์ในสามประเทศ และรางวัลย่อย ๆ อีกเล็กน้อย พอครบโปรแกรมเขาก็แจกโล่ห์โลหะอย่างสวยงามให้เราเป็นที่ระลึก
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
โรงแรมที่พักของเราชื่อว่า วิคตอเรีย ยุงเฟรา (Victoria Jungfrau) เป็นโรงแรมห้าดาวค่ะ
เราเข้าห้องพักซึ่งหันไปทางถนนด้านหลังโรงแรม เงียบสงบ ไม่มีเสียงรถรบกวน ห้องพักกว้างขวาง สะดวกสบายสมกับเป็นโรงแรมชั้นหนึ่ง มีช็อคโกแลตสวิสวางไว้ให้ในห้องกล่องนึงตามธรรมเนียมโรงแรมที่นี่ ปรากฎว่าช็อคโกแลตกล่องนั้น พ่อบ้านทานคนเดียวเรียบร้อยในเย็นวันนึง พ่อบ้านรู้ใจว่ารจนาไม่ค่อยชอบทานเท่าไร ก็เลยทานแทนเสียเลย
ห้องน้ำที่นี่เขาแบ่งเป็นสองตอน มีแบบอ่างอาบน้ำกับแบบฝักบัว ห้องกว้างมาก มีคนมาทำความสะอาดทุกครั้งที่เราออกจากห้องไปทานข้าว ไม่ใช่แค่วันละครั้ง เวลาเขามา เขาก็จะเปลี่ยนผ้าเช็ดตัว ผ้าปูพื้นให้ใหม่ อะไรที่เราทำรก ๆ ไว้เขาก็จะเก็บ จนตอนหลัง รจนารู้สึกเกร็งขึ้นมาทีเดียว ไม่กล้าทำอะไรรกเลย

![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ห้องโถงของโรงแรม
เล่าเรื่องที่พักก่อนนะคะ หากว่าใครอยากจะมาเที่ยวบ้าง ห้องพักสบายจริง ๆ ค่ะ กว้างขวาง สิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมพรั่ง ตู้เสื้อผ้าใหญ่โต ส่วนอาหารเช้าก็อุดมสมบูรณ์ ห้องอาหารก็วิวสวย เป็นกระจกส่วนใหญ่ อาหารก็มีให้เลือกมากมาย ชากาแฟก็เสิร์ฟใส่กาน้ำชาของโรงแรม ไม่มีการชงกาใหญ่ ๆ แล้วเอามารินให้ทีละแก้ว คนทานอาหารแน่นทุกเช้าเลยเพราะกลุ่มของเราเองก็เกือบสองร้อยคนเข้าไปแล้ว รจนารู้สึกอึดอัดนิดหน่อย เพราะเป็นช่วงที่นักแข่งแรลลี่จะต้องรีบกินข้าวแล้วไปเข้าแถวรอปล่อยตัว ต้องแย่งกันตักและรีบทาน
ห้องอื่น ๆ ก็มีมากมาย มีมุมนั่งดื่มกาแฟหรือจิบไวน์ มีบาร์เล็ก ๆ มีห้องออกกำลังกาย มีสระน้ำ มีห้องอาหารสวย ๆ แต่เราก็ไม่ได้ใช้บริการอะไรมากไปกว่าที่เกี่ยวข้องกับพวกเราผู้เข้าร่วม (ตามเคย) เพราะแค่นี้เราก็ยุ่งกันทั้งวันแล้วค่ะ ยังดีว่า รจนาได้มีโอกาสออกไปเดินเที่ยวเล่นในเมือง ไปดูซื้อของ (ซึ่งก็คล้าย ๆ เจนีวา) แต่ไม่ได้ซื้อ
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
เย็นวันแรกที่ไปถึงเขามีรีเซฟชั่นเลี้ยงในสวนค่ะ นัยว่าเพื่อทำความรู้จักกันและดื่มอะไรเรียกน้ำย่อยเสียก่อน ตอนนี้รจนาสังเกตเห็นมีหนุ่มสาวคู่หนึ่งหน้าตาที ท่าทางสปอร์ต ผู้ชายเป็นฝรั่ง (หน้าหล่อแบบคีนู รีฟแต่ดูเรียบร้อยกว่า) ส่วนผู้หญิงเป็นคนจีนแต่ดูทันสมัยและมีรอยยิ้มรับแขกดี เราไม่ได้ทำความรู้จักกันแต่ส่งยิ้มให้กัน วันแรกก็ยังเขิน ๆ อยู่
วันนี้เขาบอกว่าให้เราแต่งตัวตามสบายแบบสปอร์ต เพราะรู้ว่าส่วนใหญ่เพิ่งเดินทางมาถึงกัน ยังไม่มีเวลาประดอยเรื่องการแต่งตัว ถึงกระนั้นสาว ๆ ก็แต่งตัวกันสวยงามไม่น้อยหน้า เพียงแต่ไม่ใช่ชุดราตรียาวเท่านั้น รจนาก็ชุดกระโปรงผ้าฝ้ายเปิดไหล่หลากสีค่ะ ออกส้ม ๆ อมชมพู ออกทางแนวน่ารัก (แต่ไม่มีรูปให้ดูนะคะ เดาเอาเองแล้วกัน)
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
แล้วพอค่ำหน่อยก็ย้ายเข้าไปห้องจัดเลี้ยงอย่างหรู ปรากฎว่าเราได้ไปนั่งโต๊ะเดียวกับหนุ่มฝรั่งกับสาวจีน ชื่อว่าออเรลกับชุง ทั้งคู่เป็นแฟนกัน ทำงานสนามบินที่เจนีวา (ช่างบังเอิญอะไรขนาดนั้น) เราคุยกันถูกคอมากค่ะ งานเลี้ยงเย็นนั้นเขามีอาหารจานแรกรู้สึกจะเป็นปลา อาหารจานหลักเป็นเนื้ออบ อร่อยมาก เนื้อนุ่มมาก ๆ ค่ะ ของหวานก็แบบฝรั่งอร่อยเหมือนกัน
การเลือกนั่งโต๊ะนี้น่าสนใจมาก เผื่อใครจะจำไปใช้ คือ เขาไม่ได้กำหนดว่าใครต้องนั่งกับใคร เราคนไทยส่วนใหญ่หากไม่เห็นโต๊ะของคนที่รู้จัก ก็จะเลือกนั่งโต๊ะที่ว่าง ทีแรกรจนาก็จะไปเลือกนั่งโต๊ะว่าง พ่อบ้านเตือนว่า เราไปนั่งกับคนอื่นดีกว่า รจนาก็เห็นดีด้วย เพราะอย่างนี้เราสามารถเลือกนั่งกับใครที่หน้ารับแขกหน่อย รจนามองไปมองมาก็เลือกสองหนุ่มสาวนี่แหละค่ะ และก็เป็นการเลือกที่ไม่ผิด หากเราเลือกนั่งโต๊ะว่าง เราก็กำหนดไม่ได้ว่า ใครจะมานั่งกับเราบ้าง เราอาจจะชอบหรือไม่ชอบคนที่มานั่งด้วย ยิ่งหากโต๊ะว่างเยอะ ไม่มีใครมานั่งกับเราเลย เราจะดูแปลกแยกมากเลยค่ะ
คืนนั้นเราก็เอากระเป๋าที่เขาให้มาเปิดอ่านมาการแข่งขันมีกฎกติกามารยาทอย่างไรบ้าง และเส้นทางเป็นอย่างไร ก่อนจะผล็อยหลับไปด้วยความเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางและอาหารมื้อหนักตอนเย็น
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
เช้าวันรุ่งขึ้นรถที่ร่วมแข่งแรลลี่ก็ไปเข้าแถวเตรียมความพร้อม ที่สวนหน้าโรงแรมนี่เอง อย่างที่บอกว่า คนที่ออกแรลลี่รอบเช้าต่างต้องรีบไปเข้าคิวกัน ทำให้เราต้องรีบ ๆ ทานอาหารเช้า ไม่ค่อยอร่อยเท่าไรเลยค่ะ
ที่เห็นสองคนนั้นคือ ลูกเสือค่ะ เขามาอาสาเช็ดกระจกรถ เตรียมความพร้อมให้ผู้แข่งขัน
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
พ่อบ้านกับรถของเรา กางเกงแดงแรงฤทธิ์ค่ะ รู้สึกจะเป็นกางเกงแดงตัวแรกของพ่อบ้าน รถคันนี้ได้เบอร์ ๔๗ ค่ะ เป็นเลขนำโชค (เล็ก ๆ) ซึ่งรจนาจะเล่าให้ฟังทีหลัง
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
จุดปล่อยรถแรลลี่ เขาแจกโร้ดบุ๊ค (เส้นทาง) และใบจับเวลาให้ ก่อนจะปล่อยตัวเราออกไป
การอ่าน Roadbook นี่เป็นเรื่องตลกมาก เพราะทั้งรจนาและพ่อบ้านก็อ่านไม่เป็นทั้งคู่ เขาให้ตัวเลขเป็นหลักกิโลเมตร พวกเรากลับคิดว่าเป็นตัวเลขนาที ขับเท่าไร ๆ ก็ไม่ได้รางวัลกับเขา เพราะแค่อ่านคู่มือก็ผิดแล้ว แต่พวกเราก็สนุกกับเส้นทางมากเลยค่ะ เขาเข้าใจเลือกเส้นทางสวย ๆ คราวนี้เชย แต่คราวหน้าจะปรับปรุงให้ดีกว่านี้ค่ะ
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
รถทั้งหมดที่ร่วมแข่งขัน เรียงรายกันที่ลานบินแห่งหนึ่ง หลากสีหลายรุ่นค่ะ คนจัดเขาก็เข้าใจหาสถานที่ใหญ่ ๆ ให้รถได้รวมตัวกัน เพราะที่โรงแรมนั้น เราต้องจอดไว้ชั้นใต้ดินของโรงแรมค่ะ พอเอามาจอดรวมกันแบบนี้ก็ได้เห็นรถทั่วถึง ส่วนใหญ่คนรักรถก็จะพากันไปชี้ชมรถคนอื่น สอบถามเรื่องเครื่องยนต์กลไกอุปกรณ์ตกแต่งบ้าง ตามประสาค่ะ คุยกันไม่เบื่อ ส่วนสุภาพสตรีก็หาอย่างอื่นทำ คุยกันเองบ้าง ไปซื้อของบ้าง ใครที่เอาลูก ๆ มาด้วยก็ไปดูแลลูก แต่งานนี้มีไม่กี่คนที่เอาลูกมาด้วย
มีคู่หนึ่งที่เอาลูกเล็ก ๆ แบเบาะมา และเอาคุณย่ามาช่วยเลี้ยงลูกตอนพ่อแม่ออกไปแข่งแรลลี่ด้วย น่ารักดีค่ะ พอตอนกินข้าวเขาก็ผลัดกันมาทาน คือ พ่อมาทานก่อน แล้วก็กลับไปดูลูก ให้แม่มาทานข้าวบ้าง ฝรั่งชายหญิงเขาแบ่งหน้าที่การเลี้ยงเด็กอย่างดีทีเดียว
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
เส้นทางการแข่งขันอันสวยงาม
เขาจะมีจุดพักให้เราทานอาหารกลางวันร่วมกัน งานนี้เขาปล่อยรถหลายผลัด ดังนั้น ร้านอาหารที่เขาจองไว้ เขาจึงทำอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ เรียกว่าไปถึงเมื่อไรก็ทานได้ทันที เขาเลือกร้านอย่างดี วิวดีที่สุด อาหารอร่อยลิ้น แม้จะเป็นบุฟเฟ่ต์ เขาก็นำอาหารร้อน ๆ มาเติมตลอด มีขนมหวานที่ขึ้นชื่อของภูมิภาคมาให้ชิม มีชีสหลายชนิดให้ทานหลังอาหารคาว มีไวน์ขาวและแดงวางประจำโต๊ะ พร้อมน้ำดื่มในขวด เราเรียกขอกาแฟชาได้หลังอาหาร หากเราจะดื่มอะไรเพิ่มที่นอกเหนือจากที่เขาหาไว้ให้ก็ต้องจ่ายเพิ่ม แต่เท่าที่เห็นก็เรียกว่า เหลือจะพอค่ะ
แล้วจะมาเล่าต่อนะคะ อย่าเพิ่งหนีไปไหน
เมื่อวันที่ : ๑๙ พ.ย. ๒๕๔๙, ๑๙.๕๐ น.
สวัสดีค่ะ พี่รจนา
อ่านถึงตอนพี่รจบอกว่าอ่านตัวเลขเป็นผิดอ่านเป็นนาที แล้วอมยิ้ม ครั้งนี้ครั้งแรกถือเป็นการเรียนรู้ ครั้งต่อไปชนะแน่นอนเลยค่ะ
จะแวะเข้ามาทักทายเป็นระยะนะคะ
กว่าจะได้เข้ามา ก็มาทันอ่านเรื่องตอนใหม่ของพี่รจนาซะแล้ว เข้ามาอ่านแล้วน่ารักจังค่ะ คุณพ่อบ้านของพี่รจในชุดกางเกงแดงน่ารักมาก ชักอยากรู้ว่า เลข 47 นี่เป็นตัวเลขนำโชคยังไงนะ ต้องติดตามตอนต่อไปใช่ไหมเอ่ย
พันนทียังคงงานยุ่งต่อเนื่องเลยค่ะ ก็ทำงานตลอดเพื่อเตรียมเขียน thesis พี่รจสบายดีไหมคะ คิดถึงพี่รจจังค่ะ