![]() |
![]() |
รจนา ณ เจนีวา![]() |
ตอน : นักเรียนภาษาพาเพลิน (สาม) - Maison Tavel
วันนี้พาไปเที่ยวบ้านหลังที่เก่าแก่ที่สุดในเจนีวาก็แล้วกันค่ะ เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมทัศนศึกษา (excursions) สำหรับนักเรียนภาคฤดูร้อน ขนาดรจนาอยู่ที่นี่มาห้าปีกว่า ก็ยังไม่ได้เข้าไปดูบ้านหลังนี้เลย ปัจจุบันเขาทำเป็นพิพิธภัณฑ์ เก็บเงินคนเข้าดูเล่าประวัติคร่าว ๆ นะคะ Maison Tavel ถือเป็นบ้านส่วนบุคคลหลังที่เก่าแก่ที่สุดในเจนีวา เคยถูกไฟไหม้ไปหนึ่งครั้งเมื่อ ปี ค.ศ. ๑๓๓๔ และสร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมดในภายหลัง และถือเป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์ของนครเจนีวา หรือ เชอเนฟ (Genève) ตามการออกเสียงภาษาฝรั่งเศส
การเข้าไปเยี่ยมชม เรามักจะเริ่มจากห้องใต้ดิน (cellar)เพื่อดูร่องรอยทางโบราณคดี และขึ้นมาชั้นระดับพื้นดิน เพื่อดูความเป็นมาของเจนีวาจากยุคกลางมาจนยุคฟื้นฟู (Age de Renovation)
ชั้นที่สองเป็นภาพวาด ภาพแกะสลัก และภาพถ่ายที่นำเสนอวิวัฒนาการของเมืองเอกแห่งนี้
ส่วนไฮไล้ท์นั้นอยู่ชั้นบนสุดค่ะ เป็นการจำลองเมืองเชอเนฟทั้งหมดในยุคศตวรรษที่ ๑๗ และ ๑๘ โดยทำย่อขนาดเล็กใช้ไม้ประกอบกับโลหะ สวยงามน่าดูมากค่ะ เขาเก็บรายละเอียดได้แม่นยำมาก
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ตัวบ้านมองจากด้านนอก มีการบูรณะมาหลายครั้งแล้ว เป็นหินฉาบปูนสีเทา ๆ ดูไม่น่าสนใจเลยค่ะ
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
เมืองเชอเนฟจำลองค่ะ น่าทึ่งมาก
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ส่วนใหญ่ของเมืองจำลองนี้ยังเหมือนสภาพในปัจจุบันค่อนข้างมาก จะมีสิ่งปลูกสร้างใหม่ ก็ทำสวมของเดิม และไม่ให้มีความสูงเกินกว่าสมัยก่อนค่ะ เขาอนุรักษ์กรุงเก่าของเขาดีจริง ๆ ท้องน้ำที่เห็นนั้นคือที่ที่เขาสร้าง เจ๊ะโด (Jet d'eau) น้ำพุประจำเมืองในปัจจุบัน
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ห้องที่อยู่อาศัย และทำครัว ลักษณะการอยู่อาศัยถือเป็นบ้านของคนเมือง (ไม่ใช่ชาวนา) และเป็นคนชั้นกลาง
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
อุปกรณ์ทำครัวต่าง ๆ เตาหุงต้มที่หน้าตาเหมือนเตาผิง
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
หม้อต้มซุปผัก หม้อแบบนี้ชื่อดังนักแล คือ ช่วงที่มีข้าศึกแอบปีนกำแพงเมืองขึ้นมาตอนดึกต้นเดือนธันวา (อากาศหนาว) คุณแม่บ้านคนหนึ่งกำลังต้มซุปผักไว้รอรับสามีซึ่งออกไปลาดตะเวณในเมืองกะดึก แมวในบ้านเกิดทำเสียงผิดปกติ คุณแม่บ้านคนนี้ก็เลยชะโงกหน้าต่างออกไป เห็นข้าศึกกำลังปีนกำแพงขึ้นมา ก็เลยไม่รู้จะทำอะไร คว้าหม้อซุปนี้เทใส่ (สวมหัว) ข้าศึกคนนั้น (ผู้โชคร้ายอย่างเหลือแสน) แล้วก็ร้องแรกแหกกระเชิงให้ชาวเมืองตื่นขึ้นมาขับไล่ข้าศึกหนีไป รักษาเมืองเชอเนฟไว้ได้
คุณแม่บ้านคนนี้ภายหลังมีการกล่าวขวัญเรียกกันว่า ย่าโม....เอ๊ย...แมร์โรโยม (Mère royaume) แปลได้ประมาณว่า แม่ขวัญเมือง นะคะ
ปัจจุบัน พอถึงหน้าเทศกาลเอสคาหลาด (Escalade) เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์นี้ ร้านช็อคโกแล็ตเขานิยมทำหม้อทรงที่ว่านี้ด้วยชอคโกแลต และใส่ขนมแป้งอัลม่อนด์ (เหมือนถั่วกวน) ปั้นเป็นรูปผักต่าง ๆ ไว้ในหม้อค่ะ เหมือนเป็นตัวแทนของซุปหม้อประวัติศาสตร์ไงคะ
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ไส้กรอก (Saucisson) จำลองนะคะ อย่าเผลอไปทานเข้าเชียว ไส้กรอกฝรั่งเขามีทำอย่างแห้งก็เยอะ เก็บรักษาไว้ได้นานมาก แค่แขวนผึ่งลมไว้เท่านั้นเองค่ะ เพราะอากาศบ้านเขาไม่ร้อน ไม่มีแมลงวัน (ยกเว้นในหน้าร้อนจัด)
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
กิโยตีน (Guillotine) จำลองค่ะ ไม่ทราบว่าเคยได้บั่นหัวใครไปบ้างหรือเปล่า ดูแล้วน่ากลัว
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ประตูไม้เก่า ๆ ที่เขารักษาไว้ ถ่ายมาดูเล่น ๆ เป็นประตูแกะสลักขนาดใหญ่ (ของเขา) หากเทียบกับความวิจิตรของงานแกะสลักบ้านเรา คงต้องบอกว่า ของเขาต้องชิดซ้าย
เล่าต่ออีกนิดนึงค่ะว่า บ้านทาเวลนี้เป็นของตระกูลทาเวลสร้างขึ้นในศตวรรษที่ ๑๒ แต่ตระกูลนี้ก็หมดคนสืบตระกูลไปในช่วงศตวรรษที่ ๑๖ บ้านก็เลยเป็นของคนอื่นสืบมาอีกหลายตระกูล จนสุดท้ายขายให้กับเมืองเชอเนฟทำเป็นมิวเซียมค่ะ
บ้านทาเวลคือ บ้านหมายเลข ๖ ถนน Rue du Puits-St-Pierre (เอ๊ะ ถ้าเป็นบ้านหลังแรกทำไมได้เลขที่ ๖ เนาะ อ้อ...เขาบอกว่าเป็นบ้านส่วนบุคคลค่ะ)
การไปดูมิวเซียม (Musée) ถือเป็นการเรียนภาษาอย่างหนึ่ง และได้เข้าใจวัฒนธรรมชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้น การสร้างบ้านอย่างแข็งแกร่งด้วยหินด้วยปูนนี่ก็ทำให้ตัวบ้านอยู่ยั้งยืนยงมาให้เราได้เข้าชม (และเขาได้เก็บตังค์) มาจนทุกวันนี้เนาะ
เมื่อวันที่ : ๐๑ พ.ย. ๒๕๔๙, ๐๙.๐๑ น.
ดีจังค่ะคุณรจ เหมือนได้ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์เลยค่ะ
ให้ด้วยค่ะ
กิโยตินนี่น่ากลัวนะคะ.....ทำไมมาอยู่ในบ้านได้น๊อ?....เป็นแบบเดียวกับที่บั่นเศียรของพระนางมารีอังตัวเนตต์ป่าวคะ?
แก้วชอบดูของเก่าๆแบบนี้จัง....ขอมอบ