![]() |
![]() |
รจนา ณ เจนีวา![]() |
...พระราชวังซวิงเก้อร์ถือเป็นเครื่องหมายสำคัญของเยอรมนีอีกแห่งหนึ่ง โดยชื่อนี้ได้มาจากคำภาษาเยอรมันว่า bezwingen ที่แปลว่า เพื่อพิชิต...
ตอน : เหยียบเยอรมนี (ห้า) - เดรสเด็น ๒
พาชมเดรสเด็นด้านนอกวังไปแล้วตอนนี้แอบเข้าไปในวังดีกว่า
พระราชวังซวิงเก้อร์ถือเป็นเครื่องหมายสำคัญของเยอรมนีอีกแห่งหนึ่ง โดยชื่อนี้ได้มาจากคำภาษาเยอรมันว่า bezwingen ที่แปลว่า เพื่อพิชิต
ตำแหน่งของพระราชวังนี้แต่ก่อนเคยเป็นป้อมปราการของเดรสเด็น โดยมีกำแพงชั้นนอกกับกำแพงชั้นใน และพื้นที่ระหว่างกำแพงก็ใช้สำหรับดักยิงผู้รุกรานที่แอบปีนกำแพงชั้นนอกเข้ามา เรียกว่าปิดประตูตีแมว
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
พระเจ้าออกัสเดอะสตรองก์ (ออกัสจอมพลัง) กษัตริย์ผู้คัดเลือกแห่งแซกโซนี่ได้เดินทางกลับมาจากทัวร์ฝรั่งเศสและอิตาลี (ข่าวไม่ได้บอกว่าใช้ทัวร์บริษัทอะไรนะคะ) ใน ค.ศ. ๑๖๘๗-๘๙ ซึ่งเป็นขณะเดียวกับกับที่พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ก็ย้ายพระราชสำนักไปอยู่ที่แวร์คซายล์สเช่นกัน ตอนที่พระองค์กลับมานั้น ก็ได้ทรงจัดการเลือกตั้งให้ตัวพระองค์เป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์ (๑๖๙๗) ก็เลยมีพระประสงค์จะทำอะไรที่เลิศอลังการให้สมกับพระราชฐานะใหม่
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ป้อมปราการที่มีอยู่เดิมก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป และสามารถนำพื้นที่มาปรับใช้กับแปลนพระราชวังใหม่ได้ สถาปนิกประจำพระราชสำนักชื่อว่า Matthäus Daniel Pöppelmann เป็นผู้มีออกแบบแปลนแรก ซึ่งรวมเอาสวนและพื้นที่ทอดลงไปถึงแม่น้ำเอลเบ้ ที่ต่อมาในศตวรรษที่ ๑๙ ได้มีการสร้างโรงละครโอเปร่าเซ็มแปร์และจตุรัสโรงละคร
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
พระราชวังซวิงเก้อร์ตามแบบที่ Pöppelmann ออกแบบนั้น ก่อสร้างกันระหว่างปี ค.ศ. ๑๗๑๐ ถึง ๑๗๒๘ รูปปั้นต่าง ๆ ได้มาจาก Balthasar Permoser และมีการเฉลิมฉลองพระราชวังใหม่ในปี ค.ศ. ๑๗๑๙ ซึ่งเป็นเหตุการณ์เดียวกับเมื่อเจ้าชายผู้คัดเลือกเฟรเดริก สตรองก์ได้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดาแห่งองค์จักรพรรดิ์แห่งฮัปบูร์ก คือ อาร์คดัชเชสมาเรีย โจเซฟา
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ถึงตอนนั้น กำแพงด้านนอกของพระราชวังก็ก่อสร้างเสร็จ ระเบียงทางเดิน ศาลาพัก ห้องแกลเลอรี่ต่าง ๆ ก็แต่งแต้มความงดงามอลังการให้กับสถานที่ กว่าจะตกแต่งภายในเสร็จก็ร่วมไปปี ๑๗๒๘ เพื่อจะได้ใช้การเป็นห้องจัดแสดงและหอสมุด
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
เมื่อพระเจ้าออกัสตุสสิ้นพระชนม์ลงในปี ค.ศ. ๑๗๓๓ การก่อสร้างก็ชะงักตามไปด้วยเพราะหมดทุน บริเวณพระราชวังจึงเปิดโล่งไว้ด้านหน้าหอโอเปร่าเซ็มแปร์และด้านติดแม่น้ำ ต่อมาพอมีการลดแปลนให้เล็กลง ก็มีการสร้างปีกแกลเลอรี่ขึ้นมาแยกจากพระราชวัง
ตัวอาคารต่าง ๆ ของพระราชวังนั้นถูกทำลายไปมากจากการทิ้งระเบิด แต่โชคดีที่มีการนำงานศิลปะต่าง ๆ ไปเก็บซ่อนไว้ในที่ปลอดภัยเสียก่อน จากนั้น หลังสงคราม ชาวเดรสเด็นได้ลงคะแนนเสียงให้สัญญาประชาคมว่า จะช่วยกันฟื้นฟูตึกราม และความงดงามของเมืองเดรสเด็นอีกครั้ง แทนที่จะยอมให้มีการไถกลบซากสลักหักพังเพื่อไปสร้างอาคารแบบสมัยใหม่ตามแนวคิดสังคมนิยม
แล้วเขาก็ทำได้ตามสัญญาจริง ๆ ไม่เหมือนผู้แทนราษฎรบางแห่งที่สัญญาแต่ลม ๆ (อุ๊ย ใครขว้างอะไรมา ต้องหลบเร้ว)
แล้วนั่นเห็นใครแอบหาว ฟังเรื่องประวัติศาสต์ หลับไปเสียแล้ว
ต้องขอบคุณชาวเดรสเด็นที่ทำให้พวกเราที่ได้มาดูของงาม ๆ กันในวันนี้ เพราะชาวเมืองเขาเห็นค่าในบ้านเมืองของเขา
เราไปเดินเที่ยวดูด้วยความเพลิดเพลิน เขาไม่คิดเงินค่าเข้าชม แต่วันนั้นมีการแสดงโอเปร่าเล็ก ๆ เรื่องโรมีโอกับจูเลียตฉบับย่นย่อ และมีการแสดงเต้นรำปลายเท้าโดยนักแสดงชุดเดียวกันด้วย
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ที่นั่งชมและเวทีแสดง แสดงกันกลางวังเลยค่ะ
การแสดงนี้ต้องซื้อตั๋วสำหรับนั่ง หากเราจะยืนดูไกล ๆ ก็ไม่ต้องเสียเงิน แกร์ฮาร์ดแย่งซื้อตั๋วให้พวกเราได้นั่งชมกัน การแสดงเริ่มหกโมงครึ่ง และเลิกประมาณสองทุ่มครึ่ง ตอนเลิก ยังโพล้เพล้ ไม่มืดเลยค่ะ
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
เขาเล่นกันดีทีเดียวค่ะ ดนตรีก็ใช้ได้ เด็ก ๆ (ดูหน้าเด็ก แต่อาจจะแก่แล้วก็ได้) ก็เต้นกันเก่ง ตอนโรมีโอคร่ำครวญกับความตายของเพื่อนรักนั้นน่ากินใจมาก
อากาศค่อนข้างเย็น ขนาดฝรั่งอย่างแกร์ฮาร์ดยังบ่นหนาว รจนารู้ทันค่ะ ตอนจะลงจากรถนั้น หอบเสื้อคลุม ผ้าพันคอ และใส่รองเท้าอย่างหนา เลยอุ่นสบายจนเขาเลิกเล่น
จากนั้นเราก็ไปกินข้าว เอ๊ย มันฝรั่ง กันใต้ดิน....
อยากรู้ต้องตามอ่านต่อ
เมื่อวันที่ : ๑๘ ก.ย. ๒๕๔๙, ๒๐.๕๒ น.
มาขอนั่งดูโรมีโอกับจูเลียตด้วยค่ะ