![]() |
![]() |
รจนา ณ เจนีวา![]() |
ตอน : เหยียบเยอรมนี (หนึ่ง) - เบอร์ลิน ๑
ขึ้นต้นว่า "เหยียบเยอรมนี" นะคะ ไม่ได้ "เหยียบเยอรมัน" เพราะถ้าเหยียบเยอรมัน สงสัยรจนาจะถูกเหยียบก่อนแหง ๆ ค่าที่เรามันตัวกระจ้อยร้อย คนเยอรมันล้วนรูปร่างสูงใหญ่แข็งแรง จะเป็นเพราะมันฝรั่ง ขนมปัง หรือกระหล่ำปลีดอง แกล้มกับเบียร์ก็ไม่อาจทราบได้อันประเทศเยอรมนี (Germany) หรือ ด๊อยชลันด์ (Deutschland) นั้น ควรเรียกหาว่า "เยอรมนี" เพราะคำว่า "เยอรมัน" หรือ German นั้นเขาให้เรียกเฉพาะ "ภาษาเยอรมัน" หรือ "คนเยอรมัน" เท่านั้นค่ะ ส่วนประเทศของเขามีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Germany จึงควรอ่านออกเสียงให้ตรงกันว่า เยอรมนี (หรือเจอรมนีก็แล้วแต่) เพื่อป้องกันความสับสน
รจนาเห็นหนังสือพิมพ์ไทยหลายฉบับเขียนว่า ประเทศเยอรมัน ก็ไม่อยากจะไปทักท้วงว่าใครผิดใครถูก แต่อยากชักชวนให้พวกเราช่วยกันออกเสียงให้ครบตามต้นฉบับภาษาต่างประเทศเท่านั้นเองค่ะ
เกริ่นเสียยาว จะชวนไปเที่ยวเยอรมนีกันสิคะ
ปีนี้ชีพจรลงเท้ามาก ๆ เลยค่ะ เดินทางไม่ได้หยุดหย่อน เที่ยวนี้ไปยาวสองอาทิตย์ ได้ไปหลายเมืองเอก เช่น เบอร์ลิน (Berlin) เดรสเด็น (Dresden) และฮัมบูร์ก (Hamburg) ที่คนไทยคงได้ยินชื่อ คุ้นหูกันอยู่ และได้ไปเที่ยวเมืองเล็ก ๆ เช่น วานซลีเบ่น (Wanzleben) และคุ๊กซฮาเฟ่น (Cuxhaven)
ต้องยอมรับว่า ไปประเทศเยอรมนีหลายครั้งเพราะคนใกล้ตัวเป็นชาวเยอรมัน (ที่ชอบแซวเวลารจนาเรียกประเทศเยอรมนีว่า "เยอรมัน"

อาจเป็นเพราะเราได้ไปพักผ่อนท่องเที่ยวจริง ๆ ไม่ได้รีบ ๆ ไปเยี่ยมญาติหรือทำธุระ
อีกส่วนหนึ่ง คือ รจนาไม่ได้ตั้งความคาดหวังกับการเดินทางอะไรมากมาย แค่ทำใจสบาย ๆ พยายามไม่หงุดหงิดกับเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือไม่คิดเล็กคิดน้อยว่าอะไรแพงอะไรถูก ก็เลยทำให้แม้ความประทับเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เราเป็นสุขไปได้หลายวันค่ะ
แล้วการที่อยู่ในยุโรปมาหลายปีก็ทำให้เราปรับตัวทานอาหารฝรั่งได้หลายอย่าง และรู้จักว่าควรทานอะไรที่ถูกปากเรา ไปไหนมาไหนก็เลยสะดวกใจสะดวกปาก เขาหาอะไรให้เราก็ทานได้ ไม่กังวลเรื่องอาหารมากเกินไป
พร้อมออกเดินทางแล้วใช่ไหมคะ?
รจนาจะพาขึ้นรถไฟนะคะ
ในยุโรปจะมีเส้นทางรถไฟหลายเส้นที่ให้บริการสำหรับผู้ที่สัญจรด้วยรถยนต์ค่ะ คือ รถไฟนี้จะแบกเอารถยนต์ของเราข้ามประเทศไปด้วย และตัวเราก็นั่งหรือนอนไปในตู้นอน ส่วนใหญ่เป็นรถเดินทางตอนกลางคืน ทำให้เราได้พักผ่อน ไม่ต้องขับรถเองให้สึกหรอ ไปถึงปลายทางตอนเช้า แล้วก็ขับรถเที่ยวต่อได้เลย
ค่าเดินทางนั้น เขาจะนับค่าระวางรถยนต์ตามขนาดรถ ยาวมากก็แพงหน่อย และค่าโดยสารรถไฟเท่าจำนวนผู้โดยสาร คิดแล้วแพงกว่าเครื่องบินค่ะ และแพงกว่าขับรถเอง แต่เราได้พักผ่อนหนึ่งคืน และถนอมรถยนต์ค่ะ
ระยะทางก็ประหยัดได้ประมาณเกือบพันกิโลในหลายเส้นทาง
ส่วนของเรานั้น เราเอารถสปอร์ตเปิดประทุนคันเล็กนิดเดียว นั่งได้สองคน แต่กระโปรงท้ายจุมากค่ะ ใส่กระเป๋าเดินทางใหญ่ได้ ๑ ใบ ใบเล็กได้อีก ๓ ใบ และของกระจุกระจิกอีก
ที่ขาดไม่ได้คือเสื้อแจ้กเก็ตกันหนาว หมวก ถุงมือ และผ้าพันคอ เผื่อตอนเปิดประทุน เหล่านี้เอาไว้ตรงหลังเบาะที่นั่งค่ะ
เราต้องขับรถจากเจนีวาไปชายแดนเยอรมนี (ทางทิศอีสานของเรา) โดยข้ามที่เมืองบาเซิ่ล พ่อบ้านเลิกงานเร็วประมาณ ๔ โมงครึ่ง ก็ขับรถดิ่งไปสามร้อยกิโล ไปเจอรถติดใกล้ ๆ กับเมืองหลวง (เบิร์น) ไปถึงจุดหมายปลายทางแบบจวนแจเลยค่ะ เราข้ามบาเซิ่ลเข้าประเทศเยอรมนีที่เมืองเลอร์รัค (Lörrach) ซึ่งเป็นที่ขึ้นรถไฟด้วย
เขาโหลดรถกันตั้งแต่ทุ่มครึ่งถึงสองทุ่มครึ่ง เราก็ไปถึงสองทุ่มครึ่งพอดีเหมือนกัน เป็นคันสุดท้าย
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
พ่อบ้านขับรถขึ้นไปที่ระวางรถไฟค่ะ แล้วก็ค่อย ๆ ลอดตัวออกมา เรียกว่าต้องออกมาอย่างนอบน้อมทีเดียว
วันนั้นฝนตกพรำ ๆ ด้วย พอเราก้าวขึ้นรถไฟตู้นอน เดินไปได้ไม่ทันจะครึ่งตู้ รถไฟก็เคลื่อนตัวค่ะ ตื่นเต้นดี
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
นี่รถที่จัดเข้าระวางบรรทุกไปแล้ว จะเห็นว่าเขาทำขบวนไว้สองชั้น
รจนาเตรียมแซนด์วิชไปจากที่บ้าน ก็ควักมาทานกันบนรถนี่แหละค่ะ เพราะบนรถไฟเขามีแต่เครื่องดื่มขาย ไม่มีข้าวผัดไข่ดาวแบบบ้านเรา พอทานเสร็จก็เข้าห้องน้ำ ซึ่งสะอาด เขาแยกห้องส้วมไว้หนึ่งห้อง และห้องล้างมือล้างหน้าอีกสองห้อง ทั้งหัวโบกี้และท้ายโบกี้ ประตูระหว่างโบกี้ก็ทำดี คือใช้กดปุ่มให้ประตูเปิด ไม่ต้องผลักหรือดันหรือดึงค่ะ
เราซื้อตั๋วแบบสองคนต่อตู้นอนค่ะ แพงหน่อย แต่ได้ความเป็นส่วนตัวดี ปกติตู้หนึ่งเขาจะมีเตียงถึงห้าเตียง ซ้อนกัน คงเผื่อไว้สำหรับครอบครัวที่มากันหลายคน ครั้งหนึ่งที่รจนาเคยเดินทาง ก็มีเพื่อนร่วมเดินทางอีกคู่หนึ่ง สี่คนใช้ตู้นอนเดียวกัน ก็ขลุกขลักพอสมควรค่ะ
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
เบาะที่เห็นนี้ปรับเป็นที่นอนได้ เขามีหมอนขาวสะอาดดี ผ้าห่มก็ไม่มีกลิ่นสาบ และมีปลอกผ้าสีขาวเหมือนถุงนอนให้เราเอาตัวสวมเข้าไปก่อนห่มผ้าห่มค่ะ แต่ไม่มีคนมาทำเตียงให้เหมือนรถไฟไทย
เราเคยเดินทางด้วยรถแบบนี้สองสามครั้ง แต่ก่อนรจนาไม่ค่อยชอบเพราะรู้สึกนอนไม่หลับ ไม่สบายตัว แต่เที่ยวนี้ทำใจไม่คิดมาก ก็เลยรู้สึกว่า เพลิดเพลินดี
จุดหมายปลายทางของเราคือเมืองฮิลเดสไฮม์ (Hildesheim) ซึ่งห่างไปเกือบ ๗๐๐ กิโล กำหนดไปถึงคือตีห้า เขาปลุกให้เราตื่นตั้งแต่ตีสี่ครึ่ง แล้วเอาขนมปังก้อน ๆ กับเนย แยม ตับบด ไส้กรอกบดในตลับเล็ก ๆ มาให้ทาน อร่อยใช้ได้ค่ะ พร้อมน้ำส้มคนละกล่อง และชาร้อน ๆ สองแก้ว (เขาจะมาถามตั้งแต่ตอนกลางคืนว่าเราอยากได้ชาหรือกาแฟในตอนเช้า) เนื่องจากยังเช้าอยู่มาก เราจึงทานกันไม่หมด ที่เหลือก็หอบติดตัวไปเผื่อหิวกลางทาง
มีคนลงที่สถานีนี้แค่สองคู่ คือ คู่ของเรากับอีกคู่หนึ่ง ที่เหลือทั้งหมดเขาไปลงกันที่ฮัมบูร์กค่ะ
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
แล้วก็เวลาขับรถออกจากระวางค่ะ
จากฮิลเดสไฮม์ เราขับรถต่อไปอีก ๓๐๐ กิโลเพื่อจะไปเมืองเบอร์ลิน ที่จริงแล้วมีรถไฟจากลอร์รัคตรงไปเบอร์ลินเหมือนกัน แต่ออกแค่อาทิตย์ละสองเที่ยว พวกเราไม่อยากช้าไปอีกวัน ก็เลยตัดสินใจไปทางอ้อม
ไปถึงเบอร์ลินแต่เช้า แปดโมงครึ่ง เพื่อนของพ่อบ้าน ชื่อ คริสตีน เพิ่งตื่นนอน แต่ก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี พ่อบ้านอาสาออกไปซื้อขนมปัง (ฝรั่งมักนิยมทานขนมปังสด ๆ ทุกเช้า จะมีบ้างที่กินขนมปังค้างวันหรือแช่แข็ง) คริสตีนจัดอาหารเช้าให้ทานบนระเบียงดาดฟ้า เห็นวิวสวยงาม แดดแจ่ม ล้อมรอบไปด้วยไม้ดอกไม้ใบ เรานั่งได้ไม่หนาวเกินไป อาหารที่มีให้ทานก็เหลือเฟือ
กินไป คุยไป คริสตีนกับรจนาสนิทกันอย่างรวดเร็ว เพราะความเป็นกันเองของฝ่ายเจ้าบ้าน กว่าพวกเราจะทานอาหารเสร็จก็สิบเอ็ดโมงเช้า ทานไปคุยไป รื้อฟื้นความหลัง คุยเรื่องสุขภาพ ครอบครัว
จากนั้น คริสตีนพาพวกเราไปพักที่สำนักงาน ซึ่งเป็นห้องชุดขนาดใหญ่ เพดานสูง มีห้องทำงานกว้างขวาง ทุกอย่างพร้อมสรรพ และมีห้องพักแขก มีเตียงแบบเป็นโซฟาที่ดึงออกมาเป็นที่นอนได้ ห้องน้ำกว้างขวาง สะอาด ห้องครัวใหญ่โตมีเครื่องใช้ไม้สอยทุกอย่าง เราไปถึงเสาร์อาทิตย์ไม่มีคนมาทำงาน เราก็เลยใช้ห้องพักได้อย่างสบายใจ
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
พวกเราเอาของเข้าห้องแล้ว ก็อาบน้ำอาบท่ากัน รจนาก็แกะกระเป๋าจัดข้าวของตามความจำเป็น ด้วยความเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางในรถไฟ นอนหลับบ้างไม่หลับบ้าง แล้วยังต้องวิ่งรถมาจากฮิลเดสไฮม์อีก พวกเราอาบน้ำแล้วก็เลยถือโอกาสงีบเอาแรงก่อนจะไปบุกเมืองเบอร์ลินต่อ
ตื่นขึ้นมาบ่ายแก่ ๆ ก็ปรึกษากันว่าจะไปไหนก่อนดี สรุปว่า เราไป Château Sans Souci หรือ "คฤหาสน์หรือพระราชวังไกลกังวล" กันดีกว่า เพราะเป็นจุดท่องเที่ยวเอกแห่งหนึ่งของเบอร์ลิน และวันนี้อากาศยังดี ไม่มีฝน
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
กว่าจะยุรยาตรย้ายตัวจากที่พักไปที่รถ แล้วก็หาทางไปคฤหาสน์ไกลกังวลได้ก็สี่โมงกว่าเข้าไปแล้ว คฤหาสน์นี้อยู่นอกตัวเมืองออกไปสัก ๒๐ กิโลค่ะ อยู่ในเมืองเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "พ๊อตสดัมม์" หรือ Potsdamm เป็นย่านที่สวยงาม มีที่จอดรถ (แบบเก็บเงิน) เดินไปนิดเดียวก็ถึงคฤหาสน์แล้ว รจนาก็เรียกไม่ถูกว่าจะเป็นคฤหาสน์หรือราชวัง เพราะในชื่อภาษาฝรั่งเศสนั้น คำว่า "ชาโต้" หมายถึง คฤหาสน์หรือปราสาท แต่ที่จริงแล้วซองส์ซูซี่ถือเป็นพระราชวังค่ะ เพราะเป็นที่ประทับฤดูร้อนของพระมหากษัตริย์
เราไปถึงที่ประตูทางเข้าจึงพบว่า เขาเปิดห้าโมงเย็นค่ะ พวกเราเหลือเวลาแค่สิบนาที ก็เลยตัดสินใจซื้อตั๋วเข้าดูเฉพาะปีกตึกด้านเดียว (สองยูโร) เพราะจะซื้อตั๋วดูทั้งหมดก็คงไม่ทัน เราไปดูตึกด้านสุภาพสตรี หรือ เลดี้ส์วิงส์ กันค่ะ ได้เห็นภาพเขียน ผ้าปักประดับผนังห้อง ตั่งเตียง โต๊ะเก้าอี้ กรอบหน้าต่าง ฝ้าเพดานแบบโบราณวิจิตรบรรจงในแบบของเขา
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
เสร็จแล้วทางเจ้าหน้าที่เขาก็มาไล่เราออกอย่างสุภาพ
ทีแรกพวกเราก็สงสัยว่า ในฤดูร้อนอย่างนี้ทำไมปิดคฤหาสน์เร็วนัก เพราะกว่าจะมืดก็สามทุ่ม แต่พอออกมาแล้วก็พอจะเข้าใจ เพราะคฤหาสน์แห่งนี้ประกอบไปด้วยสวนหย่อม น้ำพุ และบันไดสวนส้มที่กว้างขวาง น่าดูน่าชม นักท่องเที่ยวก็ได้อาศัยอากาศดี ๆ นี้แหละค่ะ เดินเที่ยวกับอย่างสำราญใจ
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
คฤหาสน์ไกลกังวลนี้เป็นพระราชวังฤดูร้อนของพระเจ้าเฟรเดอริคมหาราชแห่งปรัสเซียค่ะ หากจะเปรียบเทียบก็ประมาณว่าเป็นคู่แข่งกับพระราชวังแวร์คซายส์เห็นจะได้ แต่คฤหาสน์ไกลกังวลนี้ขนาดจะเล็กกว่ามาก ผู้ออกแบบคือ Georg Wenzeslaus von Knobelsdorff ตามพระบัญชาของเฟรเดริคมหาราชที่ทรงประสงค์จะมีที่พักผ่อนอันสงบจากงานพิธีในกรุงเบอร์ลิน พระราชวังหลังนี้ใหญ่กว่าวิลล่าขนาดใหญ่สองชั้นไม่มากนัก และมีห้องหลัก ๆ แค่ ๑๐ ห้อง แต่ปลูกสร้างบนเนินที่ทำเป็นเทอร์เรซไล่เลียงลงเนินไปตามลำดับ
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
พระราชวังแห่งนี้ก็ตกทอดผ่านกาลเวลามาตามลำดับ จนหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงกลายเป็นแห่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศเยอรมนีตะวันออก จนเมื่อเยอรมนีสองฝากฝั่งรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว พระราชประสงค์ของเฟรเดริคก็เป็นความจริง เมื่อพระศพของพระองค์ได้ถูกนำมาฝังไว้ ณ พระราชวังอันเป็นที่รักของพระองค์ อยู่เหนือเนินสวนที่พระองค์ทรงสรรค์สร้างขึ้น (มีภาพสถานที่ฝังพระศพให้ดูตอนหลัง ๆ ด้วยค่ะ)
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
กล่าวกันว่าเฟรเดริคมหาราชทรงรักพระราชวังแห่งนี้มาก และมีส่วนในการออกแบบและตกแต่งมิใช่น้อย พระองค์ตรัสเกี่ยวกับพระราชวังนี้ว่า "สถานที่ที่จะตายไปพร้อมกับฉัน"
ในภาพคือจุดที่ฝังพระบรมศพของพระองค์ทำกันอย่างง่าย ๆ มีคนนำดอกไม้มาวาง และมีมันฝรั่งด้วย กล่าวกันว่า พระองค์เป็นผู้นำมันฝรั่งเข้ามาสู่ปรัสเซีย (หรือเยอรมนีในปัจจุบัน) ค่ะ
พระราชวังซองส์ซูซี่ (ไร้กังวลหรือไกลกังวล) นี้ได้กลายเป็นมรดกโลกภายใต้การคุ้มครองขององค์การยูเนสโก้ในปี ค.ศ. ๑๙๙๐ และมีหน่วยงานด้านการดูแลพิพิธภัณฑ์คอยบำรุงรักษา ปัจจุบันนี้มีคนเข้าเยี่ยมชมมากกว่าปีละ ๒ ล้านคนจากทั่วโลก
ระหว่างเดินเที่ยวชมสวนหย่อม พ่อบ้านก็แอบไปได้ยินนักท่องเที่ยวอีกกลุ่มนึงซึ่งมีไก๊ด์มาด้วย เขาอธิบายว่า ราวบันไดของสวนหย่อมที่ทอดลงมาจากพระราชวังสู่ลานน้ำพุนั้น เขาจะสร้างให้ผายออก คือข้างบนแคบกว่าข้างล่าง พอเวลาเรามายืนข้างล่าง แล้วมองขึ้นไปที่พระราชวังนั้น เราจะเห็นเหมือนกันว่า เราบันไดแต่ละระดับนั้นต่อกันไปเส้นเดียว
อืมม์ น่าทึ่งค่ะ ลองดูรูปนะคะ น่าจะพอเดากันได้
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
รจนาประมาณว่า เงินที่ได้จากค่าเข้าชมก็คงได้ใช้ทำนุบำรุงพระราชวังให้อยู่ในสภาพดี ทั้งตัวตึกและสวนหย่อม คงใช้เงินไม่ใช่น้อย ไหนจะเงินที่ได้จากค่าจอดรถอีก ชั่วโมงละ ๒ ยูโร นับว่าไม่น้อยเลย พระราชวังแห่งนี้อยู่ในฝั่งเยอรมนีตะวันออก (ในอดีต) ซึ่งก็หมายความว่า การสะพัดของเงินและเศรษฐกิจย่อมไม่อู้ฟู่เท่ากับฝั่งตะวันตก
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ออกจากพระราชวังซองส์ซูซี่ เราไปทานข้าวเย็นกับคริสตีนและสามีชื่อ อูลริชค์ ที่ร้านอาหารไม่ไกลจากพระราชวัง คริสตีนยืนยันว่า เราควรต้องไปทานที่วิลล่าเคลเลอร์มันน์ (Villa Kellermann) ซึ่งเป็นวิลล่าติดริมน้ำ และในไม่ช้าเขาจะเลิกทำร้านอาหารแล้ว เพราะมีเจ้าของใหม่มาซื้อวิลล่าหลังนี้ไป คริสตีนจึงอยากให้เราไปลองทานอาหารที่นี่ จะได้ชมวิลล่าไปด้วย
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
บรรยากาศริมน้ำหน้าวิลล่าสงบมากค่ะ
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
แล้วก็ตัววิลล่าที่ตอนนี้ยังทำเป็นร้านอาหารอยู่ พวกเรานั่งตรงระเบียงด้านบนก่อนลงบันได ที่ไม่นั่งในสวนเพราะอากาศค่อนข้างเย็น นั่งใกล้ตัวตึกจะอุ่นกว่า ส่วนจะไปนั่งข้างในก็เสียดายวิว เวลากินข้าวเมืองนอกช่วงหน้าร้อน(ไม่มาก)ก็ลำบากอย่างนี้แหละค่ะ ต้องใส่เสื้อผ้าอุ่นหน่อย เตรียมเสื้อคลุมและผ้าพันคอไปด้วย งานนี้รจนาใส่ถุงน่องเตรียมไว้ก่อนเลย สังเกตว่าทุกคนใส่สีโทนดำกันทั้งนั้น
อาหารวันนั้นก็อร่อยใช้ได้ค่ะ เราทานอาหารเรียกน้ำย่อยเป็นพวกซุปกับสลัด ส่วนอาหารจานหลักเป็นเส้นพาสต้า คริสตีนเป็นคนคุยสนุก ร่าเริง มีดีกรีเป็นด้อกเตอร์ และเป็นคนติดดินใช้ได้ อูลริชค์ก็เป็นคนสุภาพ เคยมาเที่ยวเมืองไทยตอนอายุ ๒๐ ปี และไปผจญภัยที่ศรีลังกามาด้วย ก็เลยคุยกันถูกคอ ส่วนคริสตีนยังไม่เคยมาเมืองไทย
(เรื่องอาหารนำไปเล่าไว้ในคอลัมน์ "เปิดครัวรจนา" ค่ะ)
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
คริสตีนเป็นเพื่อนกับพ่อบ้านสมัยเกือบยี่สิบปีก่อน ตอนนั้นคริสตีนไปฝึกงานที่องค์กรที่พ่อบ้านทำงานอยู่ แล้วก็ร่ำเรียนหนังสือจนจบปริญญาเอก ทำงานรับใช้ประเทศเยอรมนีมาจนทุกวันนี้ มีธุรกิจให้คำปรึกษาเป็นของตัวเอง เรียกว่าเป็นหญิงเก่งค่ะ
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ตะวันใกล้จะตกดินที่หน้าวิลล่าเคลเลอร์มันน์ หากมองไปบนผิวน้ำดี ๆ จะเห็นมีแพลอยผ่าน มีคนนั่งกันอยู่สี่ห้าคนสำราญใจค่ะ เขาว่ากันว่า คนเบอร์ลินที่พอมีอันจะกิน มีบ้านริมน้ำ มักจะมีแพชนิดนี้กัน ไว้ลอยออกไปทานอาหารค่ำในวันที่อากาศไม่หนาวจนเกินไปนักค่ะ
ยังไม่จบนะคะ แล้วจะมาพาเที่ยวเบอร์ลินต่อค่ะ
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
แถมภาพถนนในเยอรมนีให้ดูเล่นค่ะ ไปเมืองไหนก็จะได้เห็นถนนแบบนี้เป็นระยะ ๆ รจนาสอบถามพ่อบ้านก็ได้ความว่า เพราะสมัยก่อนยังไม่มียางมะตอยหรือคอนกรีตส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งคือถนนที่ปูด้วยหินนี้จะมีช่องว่างให้หินขยายตัวในหน้าร้อน หรือหดตัวในหน้าหนาวเวลามีหิมะตกกลายเป็นนำแข็งค่ะ ก็เรียกว่า เขาปลูกสร้างตามประโยชน์ใช้สอยแท้เทียว
เมื่อวันที่ : ๐๖ ก.ย. ๒๕๔๙, ๐๕.๓๘ น.
ฮ่าๆๆ รจนาจะเหยียบเยอรมัน ก็ลองทดสอบกับคนใกล้ตัวเลยดูแล้วกันนิ สงกะสัยจะเหยียบไม่ลงนะ
เข้าใจจั่วหัวเรื่องนะเพื่อน อ่านแล้วขำก้ากเลย