นิตยสารรายสะดวก  Regular Articles  ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๘
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
พญาไฟ
...หลวงปู่สิม พุทธาจาโร...​​ ...​​ธรรมโอวาท จาก ​​พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์ ​​และ ธรรมลิขิต...
​ที่มา: เมล์ฟอร์เวิร์ด

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

ธรรมโอวาท จาก ​พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์ ​และ ธรรมลิขิต

1. คำว่า จิต ​ได้แก่ ดวงจิต ดวงใจผู้รู้อยู่​ ผู้เห็นอยู่​ ผู้​ได้ยิน​ได้ฟังอยู่​ เราฟังเสียง ​ได้ยินเสียง ​ใคร​เป็นผู้รู้อยู่​ในตัวในใจ นั่นแหละ​มันอยู่​ตรงนี้ ให้รวมให้สงบเข้ามาอยู่​ตรงนี้ ตรงจิตใจผู้รู้อยู่​

2. ตาเห็นรูป ก็จิตดวงนี้​เป็นผู้เห็น ดีใจก็จิตดวงนี้หลง​ไป เสียใจก็จิตดวงนี้หลง​ไป เสียงผ่านเข้ามาทางโสต ทางหูก็จิตดวงเก่านี่แหละ​ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็จิตดวงนี้​เป็นผู้หลง ​เมื่อจิตใจดวงนี้​เป็นผู้หลงผู้เมาไม่เข้าเรื่อง​ เราก็มาแก้ไขภาวนาทำใจให้สงบ ไม่ให้หันเห​ไป​กับอารมณ์ใดๆ​ เห็นสิ่งต่างๆ​ ​ที่เกิดดับอยู่​ในตัว ในใจ ในสัตว์ ในบุคคลนี้ว่า มีเกิดขึ้น​ ตั้งอยู่​ชั่วระยะหนึ่ง​ แล้ว​ก็แตกดับ​ไป​เป็นธรรมดาอย่างนี้

3. ​การปฏิบัติบูชา ภาวนานี้ ​เป็น​การปฏิบัติภายใน ​เป็นการเจริญภายใน พุทโธภายใน ให้ใจอยู่​ภายใน ไม่ให้จิตใจ​ไปอยู่​ภายนอก



4. การภาวนา ไม่ใช่​เป็นของหนัก เหมือนแบกไม้หามเสา ​เป็นของเบา​ที่สุด นึกภาวนาบทใดข้อใด ก็ให้เข้าถึงจิตถึงใจ จนจิตใจผ่องใสสะอาดตั้งมั่นเ​ที่ยงตรงคง​ที่อยู่​ ภายในจิตใจของตน ใจก็สบาย นั่งก็สบาย นอนก็สบาย ยืน​ไปมา​ที่ไหนก็สบาย​ทั้งนั้น​ ในตัวคนเรานี้ ​เมื่อจิตใจสบาย กายก็พลอยสบาย​ไปด้วย อะไร​ๆ​ ทุกอย่างมันก็สบาย​ไป มันแล้ว​​แต่จิตใจ

5.ทำอย่างไรใจ​จะสงบระงับ มีอุบายอะไร​ ก็อุบายไม่ขึ้เกียจไงละ ให้มี​ความเพียร ​จะสู้​กับกิเลสราคะ​ โทสะ โมหะ ในใจ​ได้ ​ไปสู้​ที่ไหน ก็สู้ด้วย​ความเพียร สู้ด้วย​ความตั้งใจมั่น เราตั้งใจลง​ไปแล้ว​ให้มันมั่นคง อย่า​ไปถอย

6. เพียรพยายามฝึกตนเองอยู่​เสมอ บนแผ่นดินนี้ผู้มี​ความเพียร ผู้ไม่ท้อแท้อ่อนแอในดวงใจ ไม่ว่า​จะทำอะไร​ ย่อมสำเร็จ​ได้ ดูตัวอย่าง​พระพุทธเจ้า ​เมื่อเห็นแล้ว​เรา​ต้องตั้ง​ความเพียรลง​ไป ภาวนาลง​ไป ​เมื่อมันยังไม่ตาย​จะ​ไปถอย​ความเพียรก่อนไม่​ได้



7. สู้ด้วยการละทิ้ง อย่า​ไปยึด​เอาถือ​เอา ​เขาว่าให้เรา ​เขาดูถูกเรา เสียงไม่ดีเข้าหูก็เพียรละออก​ไปให้มันหมดสิ้น มนุษย์มีปาก ห้ามมันไม่ให้พูดไม่​ได้ มนุษย์มีตา ห้ามไม่ให้มันดูไม่​ได้ มัน​เป็นเรื่อง​ของโลก ท่านจึงตรัสว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจมัน​เป็น​ความร้อน ​ความร้อน ​คือกิเลส กิเลสเหมือน​กับไฟ ไฟมัน​เป็นของร้อน

8. เรา​ได้คลานภาวนาจนเข่าแตกเลือดออกมีไหม ไม่มี มี​แต่นอนห่มผ้าให้มัน ตลอดคืน มัน​จะ​ได้สำเร็จมรรคผลอะไร​ ก็​ได้​แต่กรรมฐานขี้ไก่ กรรมฐานขี้หมู ไม่ลุกขึ้น​ภาวนาเหมือน​พระ​แต่ก่อน ​พระ​แต่ก่อนท่านเดินไม่​ได้ท่านก็คลาน​เอา

9. พุทโธในใจ หลงใหลทำไม ไม่​ต้องหลง ไม่​ต้องลืม นั่งก็พุทโธในใจ นอนก็พุทโธในใจ ยืนก็พุทโธในใจ เดิน​ไปไหนมาไหน ก็พุทโธในใจ กิเลสโลเลละให้หมด โลเลทางตา โลเลทางหู โลเลทางจมูก ทางกลิ่น โลเลในอาหารการกิน เลิกละให้หมด



10. ไม่​ต้อง​ไปรอท่าว่า ​เมื่อถึงวันตายข้าพเจ้า​จะภาวนาพุทโธ​เอาให้​ได้ อย่างนี้ไม่​ได้ เรา​ต้องทำไว้ก่อน เตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อน ตั้งแต่บัดนี้ เดี๋ยวนี้เวลานี้​เป็นต้น​ไป

11. ​ความตายนี้ไม่มี​ใครหลบหลีก​ได้ ท่านให้นึกให้น้อมให้​ได้ว่า ทุกลมหายใจเข้า​ไปก็เตือนใจของตนให้นึกว่า นี่​ถ้าลมหายใจนี้เข้า​ไปแล้ว​ออกมาไม่​ได้ เกิดติดขัดคนเราก็ตาย​ได้ ​แม้ลมหายใจออก​ไปแล้ว​ เกิดอะไร​ขัดขึ้น​มาสูดลมหายใจเข้า มาไม่​ได้คนเราก็ตาย​ได้

12. เราทุกคนดวงใจ​ที่มีชีวิตอยู่​ ณ ภายในนี้ ก็อย่าพากันนิ่งนอนใจ อยู่​​ที่ไหน กาย​กับใจอยู่​​ที่ไหน ก็​ที่นั่นแหละ​​เป็น​ที่ปฏิบัติบูชาภาวนา อยู่​บ้านก็ภาวนา​ได้ อยู่​ วัดก็ภาวนา​ได้ บวชไม่บวชก็ภาวนา​ได้​ทั้งนั้น​



13. ตั้งจิตดวงนี้ให้เต็ม ในขั้นสมถกรรมฐาน ​พร้อม​กับวิปัสสนา กรรมฐาน ให้แจ่มแจ้งในดวงใจทุกคนเท่านั้น​ ก็พอ ​เพราะว่า​เมื่อเราเกิดมาทุกคน ก็ไม่​ได้มีอะไร​ติดมา ครั้ง​เมื่อเราทุกคนตาย​ไปแล้ว​​แม้สตางค์แดงเดียวก็​เอา​ไปไม่​ได้ ด้วยเหตุนี้ จงพากันนั่งสมาธิภาวนาให้เต็ม​ที่จนกิเลสโลภะอันมันนอน​เนื่องอยู่​ใน จิตนี้ให้หมดเสียวันนี้ๆ​ ​ถ้ากิเลส​ความโลภนี้ยังไม่หมดจากจิต ก็ยังไม่หยุดยั้งภาวนาจน วันตายโน้น

14. การภาวนาละกิเลสให้หมด​ไปจริงๆ​ นั้น​ ​ต้องปฏิบัติดังนี้ ​เมื่อกำหนดรูปร่างกายของเรา บริกรรมกำหนดลมหายใจจนจิตตั้งมั่นดีแล้ว​ ​ต้องกำหนดรูปร่างของเราเอง นับตั้งแต่ ผม ขน เล็บ ​ไปตลอดหมดในร่างกายนี้ ให้เห็นตาม​ความ​เป็นจริง ​ที่มันตั้งอยู่​​และมันเสื่อม​ไป ด้วย​ความเจ็บไข้​ได้ป่วยมีทวาร​ทั้ง 9 ​เป็นสถาน​ที่ไหลออกไหลเข้า​ซึ่งของไม่งาม

15. อัน​ความตายนั้น​ จงระลึกดูให้รู้แจ้งด้วยสติปัญญาของตนเอง ยกจิตใจตั้งให้มั่นอย่า​ได้หวั่นไหว เจ็บ​จะเจ็บ​ไปถึงไหนก็แค่ตาย อยู่​ดีสบาย อยู่​​ไปถึงไหนก็แค่ตาย แก่ชราแล้ว​ไม่ตายไม่​ได้ ​เมื่อมาถึงบุคคลผู้ใด​จะให้ผู้อื่นช่วยไม่​ได้ ​ต้องภาวนาให้พ้นจาก​ความตาย ​ความตายนั้น​มีทางพ้น​ไป​ได้ อยู่​​ที่การละกิเลส ล้างกิเลสในใจให้หมดสิ้น



16. วันคืนเดือนปี หมด​ไป สิ้น​ไป ​แต่อย่าเข้าใจว่าวันคืนนั้น​หมด​ไป วันคืนไม่หมด ชีวิตของ​แต่ละบุคคลหมด​ไปสิ้น​ไป มันหมด​ไปทุก ลมหายใจเข้าออก

ฉะนั้น​ ภาวนาดูว่า วันคืนล่วง​ไป เราทำอะไร​อยู่​ ทำบุญหรือทำบาป เราละกิเลส​ได้หรือยัง เราภาวนาใจสงบหรือยัง

17. ทุกข์อยู่​​ที่ไหน ทุกข์อยู่​​ที่ใจยึดมั่นถือมั่น ยึดมั่นถือมั่นในชาติตระกูล ในตัว ในตน ในสัตว์ในบุคคล ​ความยึดอันนี้แหละ​​ที่ยึด ไม่ให้มีทุกข์ให้มี​ความสุข มัน​เป็น​ไปไม่​ได้ เหมือน​กับว่าเรา​จะไม่ให้แก่ ก็แก่เรื่อย​ไป ​ต้องรู้ว่าแก่​เพราะอะไร​ ก็​เพราะว่าจิตมายึดถือ ​เมื่อจิตมายึดมาถือ จิตจึงมาเกาะอยู่​ มาเกิด มาแก่ชรา เจ็บไข้​ได้พยาธิ ผล​ที่สุดก็ถึง​ซึ่ง​ความตาย

18. บทภาวนาบทใดก็ดี​ทั้งนั้น​ ​ถ้าภาวนา​ได้ทุกลมหายใจ ก็​เป็นอุบายธรรมอันดี​ทั้งนั้น​ ​ความตั้งมั่นในสมาธิภาวนาของจิตใจคนเรานั้น​ ย่อมมีเวลาเจริญขึ้น​ มีเสื่อมลง​เป็นธรรมดา ​ถ้าเรามารู้เท่าทันว่า การรวมจิตใจเข้า​เป็นดวงหนึ่ง​ดวงเดียว ​เป็น​ความสงบสุขเยือกเย็น อย่างแท้จริง ก็ให้ทุกคนตั้งใจปฏิบัติบูชาภาวนา อย่า​ได้มี​ความท้อถอย ​เมื่อใจไม่ท้อถอยแล้ว​ก็ไม่มีอะไร​​ที่​จะมาทำให้เราท้อแท้อ่อนแอ​ได้ ​เพราะคนเรามีใจ​เป็นใหญ่​เป็นประธาน สำเร็จ​ได้ด้วยใจ​ทั้งสิ้น



19. ​ความเ​ที่ยงแท้แน่นอนในโลกนี้ ​จะ​เอา​ที่ไหนไม่มี ผู้ปฏิบัติจงรู้เท่าทัน รู้เท่านั้น​แล้ว​ก็ปล่อยว่าง อย่าเข้า​ไปยึด​ไปถือ อย่า​ไปยึดว่าตัวกูของกู ตัวข้าของข้า ตัวเราของเรา เรา​เป็นนั้น​​เป็นนี้ ตัวเราของเราไม่มี มี​แต่ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม มี​แต่หลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ​ทั้งโลก

20. ให้ทานข้าวของ วัตถุภายนอกก็​เป็นบุญ ​แต่ยังไม่ลึกซึ้ง ให้ทำบุญภายในใจ ให้​เป็นบุญอยู่​เสมอ ภาวนาพุทโธ นึกน้อม​เอาคุณ​พระรัตนตรัย​เป็น​ที่พึ่งอยู่​ภายใน นี่แหละ​ บุญภายใน

21. อวิชชา แปลว่าไม่รู้ ไม่รู้ต้น ไม่รู้ปลาย ไม่รู้อยู่​ จิตจึง​ได้วนเวียน หลงไหล เข้าใจผิดว่า โลกนี้ยังมี​ความสุขซ่อนอยู่​ ​ความจริงแล้ว​ในมนุษย์โลกก็ดี เทวโลกก็ตาม พรหมโลกก็ช่าง ล้วนแล้ว​​แต่ตกอยุ่ในกองทุกข์ กองภัย ​ต้องมีภัย อันตรายรอบด้าน



22. ชีวิตของคนเราไม่นาน ชีวิตนี้มีน้อย​ที่สุด เวลาเรายังไม่ตาย ก็​ได้ข่าวคน นั้น​ว่าตาย ​ที่​เขา​เอา​ไปฝังทิ้ง หรือ​เอา​ไปเผาไฟ ​เพื่อไม่ให้กลิ่นมันเหม็นจมูก​เขาต่างหาก เรา​ต้องพิจารณา ​ต้องทำด้วย​กำลังศรัทธาของเรา ทำไม​พระพุทธเจ้า ​พระอริยเจ้า​ทั้ง หลาย ท่านจึงเกิดอสุภกรรมฐานเห็นแจ้งในจิตในใจ​ได้ เห็นคนก็เห็นก้อนอสุภกรรมฐาน เห็นคนก็เห็น​ความตายของคนนั้น​

23. สงบ​แต่ปาก ใจไม่สงบ ก็ไม่​ได้ ​ต้องให้ใจสงบ ใจสงบ ก็​คือว่า ​เมื่อฟุ้งซ่านรั่วไหล​ไป​ที่อื่นก็ให้คอยระวัง นึกน้อมสอนใจของตัวเองด้วยว่า ​ความเกิด​เป็นทุกข์ เกิดมาแล้ว​​เป็นทุกข์อย่างนี้แหละ​ ​จะ​ไป​เอาสุข​ที่ไหนในโลก ​ที่ไหน มันก็ทุกข์เท่าๆ​ กัน ​เอาสิ่งเหล่านี้มาเตือนใจตนเอง

24. เวลา​ความตายมาถึงเข้า กาย​กับจิต​จะอยู่​ด้วยกันไม่​ได้ เรียกว่าแยกกัน​ไป จิตทำบาปไว้ก็​ไปสู่บาป จิตทำบุญไว้ก็​ไปสู่บุญ จิตละกิเลสราคะ​ โทสะ โมหะ ​ได้ก็​ไปสู่นิพพาน จิตละไม่​ได้ก็มาเวียนตายเวียนเกิด วุ่นวายอยู่​อย่างนี้ ​พระพุทธเจ้ามา ตรัสรู้ในโลก มนุษย์​ทั้งหลายก็ยังไม่หมด​ไปจากโลก ยิ่งในปัจจุบันนี้ ยิ่งมากกว่าในสมัย ก่อน มันเกิดมาจากไหน ก็เกิดมาจากจิต​ที่เต็ม​ไปด้วย อวิชชา-​ความไม่รู้ ตัณหา-​ความดิ้นรน ไม่สงบตั้งมั่น ก็สร้างตัวขึ้น​มาใน​แต่ละบุคคล แล้ว​ก็มาทุกข์มาเดือดร้อน วุ่นวายอยู่​ในวัฏสงสารอย่างนี้แหละ​



25. ให้ละกิเลสออกจากจิตให้หมดทุกคน กิเลสนี้แหละ​ทำให้คนเราเดือดร้อนวุ่นวายอยู่​ไม่สิ้นสุด กิเลสนั้น​​เมื่อย่นย่อเข้ามาก็​คือ ​ความโกรธ ​ความโลภ ​ความหลง 3 อย่างเท่านี้ ทำไมจึงเกิดมาสร้างกิเลสให้มากขึ้น​​ไปทุกภพทุกชาติ ทำไมหนอ ใจคนเราจึงไม่ยอมละ การละก็ไม่หมดสักที ในชาติเดียวนี้ตั้งใจละ ​ทั้ง​พระเณร​และญาติโยม​ทั้งหลาย ​ความโกรธ​เมื่อเกิดขึ้น​อย่าโกรธ​ไปตาม ​ถ้าไม่โกรธ​ไปตาม มัน​จะตายเชียวหรือ ทำไมจึงไม่ระลึกอยู่​เสมอว่า คนเรา​จะละ​ความโกรธให้หมดสิ้น​ไป ในเวลาเดี๋ยวนี้ อย่าให้มีการท้อถอยในการสร้าง​ความดี มีการรักษาศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ​พร้อม​ทั้งการเจริญสมาธิภาวนา ฆ่ากิเลสตัณหาให้หมด​ไป ใจจึง​จะเย็น​เป็นสุขทุกคน

26. ภาวนาให้​ได้ทุกลมหายใจเข้าออก ​เมื่อมีปัญหาอะไร​เกิดขึ้น​ จิตของผู้ภาวนาก็สูง คำว่าสูง ก็เหมือน​กับเรือ​ที่ลอยลำอยู่​ในแม่น้ำ ลำคลองหรือ​ที่มหาสมุทรสาคร ก็​คือ จิตมันอยู่​เหนือน้ำ

27. จิตอยู่​เหนืออารมณ์ เหมือนเรืออยู่​เหนือแม่น้ำ มันก็ไม่ทุกข์ไม่ร้อน จึงจำ​ต้องฝึกอบรมตัวเองให้มี​ความอดทน



28. เวลา​ความสุขมาถึงเข้า เรา​จะ​ไป​เอา​ความสุขใน​ความสรรเสริญเยินยอ มั่งมีศรีสุขอย่างเดียว ​แต่เราหารู้ไม่ว่า "​ความสุขมี​ที่ไหน ​ความทุกข์ก็มี​ที่นั่น"

29. มรณกรรมฐานนี้​เป็นยอดกรรมฐาน คนเรา​เมื่ออาศัย​ความประมาท มัวเมาไม่​ได้มองเห็นภัยอันตราย​จะมาถึงตน คิด​เอาเอง หมาย​เอาเอง ว่าเราคงไม่​เป็นไรง่ายๆ​ เราสบายดีอยู่​ เรายังเด็กยังหนุ่มอยู่​ ​ความตายคงไม่กล้ำกราย​ได้ง่ายๆ​ อันนี้​เป็น​ความประมาท มัวเมา...​

30. ​ถ้ามองเห็น​ความตายทุกลมหายใจเข้าออก สบาย​ไปเลย​ กูก็​จะตาย สูก็​จะตาย ​จะมากังวลวุ่นวายกันทำไม่...​




ปัจฉิมบท

หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโรเกิดมา​เพื่อทำ​ที่สุดแห่งทุกข์ให้​กับตนเอง ​และ​ใช้ชีวิต​ที่เหลือในการเกื้อกูลมหาชนอย่างแท้จริง หลวงปู่พร่ำสอนเสมอๆ​ มิให้ ตั้งตนในทาง​ที่ประมาท ​ทั้ง​ความประมาทในชีวิต ​ความประมาทในวัย ​และ​ความ ประมาทใน​ความตาย

หลวงปู่เน้นย้ำให้เห็น​ความสำคัญของ​การปฏิบัติภาวนาว่า ​เป็นหนทางอัน สูงสุด​ที่​จะทำให้คนพ้นทุกข์ ดังคำสอนตอนหนึ่ง​ว่า

"ทาง​พระสอนให้ละชั่วทำ​ความดี ​แต่ก็ไม่ให้ติดอยู่​ใน​ความดี ให้บำเพ็ญจิตให้ยิ่งขึ้น​จนถึงไม่ติดดีติดชั่วจึง​จะพ้นจากโลกนี้​ไป​ได้ ​เพราะ​แม้คุณ​ความดี​จะส่งผลให้​เป็นสุข​ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ​เป็นเทพ อินทร์ พรหม ก็ตาม ​แต่​เมื่อ​กำลังของกุศลกรรม​ความดีนั้น​ๆ​ หมดลง ก็ย่อม​ต้อง กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก ทาง​พระจึงมุ่งสอนให้มุ่งภาวนา ทำจิตให้รวม ระวังตั้งมั่น ทำจิตให้มีปัญญารู้​ความ​เป็นจริงด้วยตนเอง จนถอดถอนอุปทาน​ความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ​ ออกเสียจึง​จะ​เป็น​ไป​เพื่อ​ความสิ้นภพสิ้นชาติ หมดทุกข์หมดยาก​โดยแท้จริง"

หลวงปู่​ได้ทำหน้า​ที่ครูอาจารย์ไว้​โดยสมบูรณ์ยิ่งแล้ว​ ​ทั้งด้านเทศนาธรรม ​และด้วยการประพฤติปฏิบัติ​เป็นแบบอย่าง​ที่ดีงาม หลวงปู่​เป็นผู้มีใจหนักแน่นมั่นคงไม่ หวั่นไหวในโลกธรรม​ทั้งหลาย ​ซึ่งพวกเราจักยึดถือปฏิบัติตาม​ได้​โดยสนิทใจ หลวงปู่จาก​ไปอย่างผู้​ที่​พร้อมรับต่อ​ความตายทุกขณะ สมดัง​ที่หลวงปู่ ​ได้พร่ำสอนผู้อื่นเสมอ

 

F a c t   C a r d
Article ID A-841 Article's Rate 5 votes
ชื่อเรื่อง หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
ผู้แต่ง พญาไฟ
ตีพิมพ์เมื่อ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๘
ตีพิมพ์ในคอลัมน์ ประกายธรรมนำทาง
จำนวนผู้เปิดอ่าน ๘๓๒ ครั้ง
จำนวนความเห็น ๓ ความเห็น
จำนวนดอกไม้รวม ๒๓
| | | |
เชิญโหวตให้เรตติ้งดอกไม้แก่ข้อเขียนนี้  
R e a d e r ' s   C o m m e n t
ความเห็นที่ ๑ : ศาลานกน้อย [C-3422 ], [000.000.000.000]
เมื่อวันที่ : 21 มี.ค. 2548, 14.17 น.

ผู้อ่าน​ที่รัก,

นิตยสารรายสะดวก​ ​และผู้เขียนยินดีรับฟัง​ความคิดเห็นต่อข้อเขียนชิ้นนี้
เชิญคลิกแสดง​ความเห็น​ได้​โดยอิสระ ขอขอบคุณ​และรู้สึก​เป็นเกียรติอย่างยิ่ง ในการมี​ส่วนร่วมของท่านในครั้งนี้...​

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๒ : ป้าแก่ [C-3423 ], [61.90.48.183]
เมื่อวันที่ : 21 มี.ค. 2548, 15.41 น.


ขอบคุณสำหรับข้อคิดดีๆ​ ​ที่นำมาฝากค่ะ​ อ่านแล้ว​จิตใจ​จะ​ได้สงบลง
เห็นแสงสว่าง

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๓ : พอล อาร์ชี่ [C-3440 ], [61.90.107.14]
เมื่อวันที่ : 22 มี.ค. 2548, 10.55 น.

ตามป้าแก่มาฟังเทศ..แฮ่ๆ​..ธรรมะซินะของคุณพญาไทยแล้ว​ ก็คงสงบลงอย่างป้าแก่บอกแหละ​ครับ​

ช่วงนี้ผมยิ่งร้อนๆ​อยู่​​เพราะหุ้นเดี๋ยวแดงเดี๋ยวเขียว...​อ่านเรื่อง​นี้แล้ว​กลาย​เป็นสีขาวเลย​ครับ​...​​จะพยายามปลงให้​ได้ครับ​

แจ้งลบข้อความ


สั่งให้ระบบส่งเมลแจ้งการเพิ่มเติมความเห็น
 ศาลานกน้อย พร้อมบริการเสมอ และยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกท่าน  ติดต่อเว็บมาสเตอร์ได้ทางคอลัมน์ คุยกับลุงเปี๊ยก หรือทางอีเมลได้ที่ uncle-piak@noknoi.com  พัฒนาระบบ : ธีรพงษ์ สุทธิวราภิรักษ์  โลโกนกน้อย : สุชา สนิทวงศ์  ภาพดอกไม้ในนกแชท : ณัฐพร บุญประภา  ลิขสิทธิ์งานเขียนในนิตยสารรายสะดวก เป็นของผู้เขียนเรื่องนั้น  ข้อความที่โพสบนเว็บไซต์แห่งนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้โพสทั้งสิ้น