นิตยสารรายสะดวก  Memorandum  ๐๗ มีนาคม ๒๕๔๘
เรื่องของคนแก่...ใครไม่แก่บ้างก็ให้รู้ไป
pilgrim
...อีกวันหนึ่ง​​​​ที่แสนดี...​​เยี่ยมบ้านพักคนชรา ​​ที่ Loughborough 3 มีนาคม 2005 วันนี้ ​​ที่ Loughborough ท้องฟ้าแจ่มใส...
อีกวันหนึ่ง​​ที่แสนดี...​เยี่ยมบ้านพักคนชรา ​ที่ Loughborough
3 มีนาคม 2005 วันนี้ ​ที่ Loughborough ท้องฟ้าแจ่มใส ด้วยแสงตะวัน​ที่ส่องเจิดจ้า หลังจาก​ที่หิมะตกมาหลายวัน วันนี้​เป็นวันพิเศษอีกวันหนึ่ง​​ที่ เราเฝ้ารอมานาน ​เพราะ​เป็นวันครบรอบการก่อตั้ง Social Relief Society ของโบสถ์ The Church of Jesus Christ of Latter-Day Saints ​ซึ่ง ​เป็นกลุ่มสตรี​ที่รวมตัวกัน​ระหว่างสมาชิกของโบสถ์​เพื่อศึกษา​พระคัมภีร์​และคำสอนร่วมกัน ​และคอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่สมาชิก ​เขาเลย​จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์​โดยการ​ไปเยี่ยมคนแก่สตรี​ที่บ้านพักคนชรา ​เพื่อน​ที่โบสถ์ขับรถมารับเรา​ที่บ้านตอนสาย จากนั้น​ก็​ไปรวมตัวกัน​ที่โบสถ์ ​เพราะ​ส่วนใหญ่ไม่มี​ใครรู้ทาง​ไป เลย​​ต้อง​ไปตั้งต้นกัน​ที่โบสถ์ก่อน จากนั้น​ก็ขับรถตามกัน​ไป​เป็นหาง

บ้านพักคนชรา​ที่นี่ดีมากๆ​เลย​ ​เป็นแฟลตหลายชั้น สะอาดสะอ้าน ​เมื่อเข้า​ไปภายในมีห้องนั่งเล่น​ที่กว้างขวาง มีโต๊ะเก้าอี้ให้นั่งเล่นเกมส์ อ่านหนังสือ ​และมีโซฟาสำหรับ​ใช้รับแขก ​ส่วนหนึ่ง​จัด​เป็นห้องอาหาร มีโต๊ะอาหารจัดเรียงไว้ประมาณสิบโต๊ะให้นั่งรับประทานอาหารร่วมกันประมาณโต๊ะละสี่คนบ้าง หกคนบ้าง แปดคนบ้าง กลุ่มพวกเราติดต่อเจ้าหน้า​ที่ผู้ดูแลประจำบ้านพัก ​เพื่อยืนยันว่าเรามาแล้ว​ ​และ​พร้อม​จะร่วมกิจกรรม​กับผู้ชราสตรี​ทั้งหลายแล้ว​​แต่ คุณยายเหล่านั้น​ปรารถนา​ที่​จะทำ เช่น ​ถ้า​ใครอยาก​ไปนั่งรถเ​ที่ยว พวกเรา​ที่มีรถก็​จะขับพาท่านเหล่านั้น​​ไป หรือ​ใครอยาก​ไปจ่ายตลาดก็​จะขับรถพา​ไป หรือ​ใครไม่อยาก​ไปไหน สมัครใจอยากนั่งคุยกัน ก็​จะมีกลุ่มหนึ่ง​คอยอยู่​เจ๊าะแจ๊ะ​​กับคุณยายเหล่านั้น​

ผู้ดูแล​ใช้เครื่องอินเตอร์คอมภายใน กดเรียก​ไปตามห้องต่างๆ​​ที่ลงชื่อแสดง​ความจำนงไว้ ว่า​ต้องการ​จะทำอะไร​ ปรากฏว่าการติดต่อ​กับคุณยายตามห้องต่างๆ​สร้าง​ความสนุกสนาน​กับพวกเราพอสมควร ​เพราะบางท่านก็ลืม (​เป็น​ไปตามวัย) ว่าพวกเรา​จะมา ก็เลย​ยังไม่​ได้​แต่งตัว จึงบอกให้พวกเรารอให้ท่าน​แต่งตัวเสร็จก่อน บางท่านก็บอกเลิกเสียเฉยๆ​ ว่าวันนี้ ไม่อยาก​ไปไหน​ทั้งนั้น​ มีคุณยายสองคน​ไปโรงพยาบาล ทำให้ไม่​สามารถมาปรากฏตัวให้เราบำเพ็ญประโยชน์​กับท่าน​ได้ บางท่านก็ลืม ถามแล้ว​ถามอีกว่า​ใคร​จะมา แล้ว​มาทำอะไร​ ​ทั้งๆ​​ที่ท่านลงชื่อไว้แล้ว​ เรื่อง​นี้ เราไม่ว่ากันนะคะ​คุณยายขา ​ใครไม่แก่บ้างก็ให้มันรู้​ไป

ขณะ​กำลังรอ คุณยายคนหนึ่ง​​เป็นสมาชิกอยู่​​ที่โบสถ์ ​ซึ่งมาอยู่​​ที่บ้านพักคนชรา​ที่นี่ด้วย ก็พา​ไปดูห้อง​ที่คุณยายพักอยู่​​กับสามีของคุณยาย ทำให้เรารู้ว่า ​ที่บ้านพักแห่งนี้ นอกจาก​จะอยู่​แบบเดี่ยวๆ​ ​ใครยังมีคู่ ​จะมาอยู่​กันสองคนตายายก็​ได้ ภายในห้องของคุณยาย​เป็นลักษณะแนวกว้าง ผิด​กับแฟลตหรือคอนโดของบ้านเรา ​ที่​เมื่อเปิดประตูเข้า​ไป​จะ​เป็นแนวลึกยาวเข้า​ไป ​แต่ห้องพัก​ที่นี่ ​เมื่อเปิดประตูห้องเข้า​ไป​จะ​เป็นห้องเล็กๆ​ ​ที่​ใช้แขวนเสื้อโค้ต หรือเก็บรองเท้า ห้องนี้​จะ​เป็นเหมือนห้องเล็กๆ​ตรงกลาง จากนั้น​ ​เมื่อเปิดประตูด้านซ้าย​จะ​เป็นห้องนั่งเล่น​กับห้องครัวเล็กๆ​อยู่​ในบริเวณเดียวกัน ภายในห้องนั่งเล่นก็มีเก้าอี้โซฟา​กับทีวี ​ส่วนตรง​ที่จัด​เป็นครัวนั้น​ คุณยายบอกว่า ปกติผู้ดูแล​เขามีอาหารให้สามมื้อ ​แต่​เขาก็จัดตู้เย็น เตาไฟฟ้า ​และไมโครเวฟไว้ให้ เผื่อคุณตา คุณยายท่านไหน​จะอยากทำอะไร​เล็กๆ​น้อยๆ​รับประทานเอง ​เมื่อเปิดประตูด้านขวา​จะ​เป็นห้องนอน ​ส่วนประตูตรงกลาง​เป็นห้องน้ำขนาดกว้างใหญ่ มี​ที่นั่งอาบน้ำใต้ฝักบัวให้ด้วย เหมาะสำหรับผู้ชรา​เพราะยืนนานๆ​ไม่ค่อยไหว ทุกคน​ที่​ไปต่างพูด​เป็นเสียงเดียวกันว่า น่าอยู่​นะ ​เป็น​ที่​ที่ดีมากๆ​เลย​

หลังจากรอกันชั่วครู่หนึ่ง​ คุณยายก็​แต่งตัวทยอยกันลงมา ​ส่วนใหญ่ท่านอยู่​ในวัย 80 ขึ้น​​ไป​ทั้งนั้น​เลย​ นั่งรถเข็นลงลิฟต์มาบ้าง เดินถือไม้เท้ากระย่องกระแย่งมาบ้าง บางท่านก็​ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินแบบมีล้อเลื่อน ​แต่ละท่าน​แต่งตัวกันสวยงาม ผู้นำของเราจึงจัดกลุ่มทำกิจกรรม ​เนื่องจากเรามีรถมา 3 คัน ดังนั้น​ พวกเรา​ส่วนหนึ่ง​จึงติดรถพาคุณยาย​ไปนั่งรถเ​ที่ยวชมวิว ​ส่วนเรา​กับ​เพื่อนอีกสองคนถูกจัดให้นั่งคุย​กับคุณยายสองสามท่าน​ที่ลงมานั่งคุย​ที่ห้องนั่งเล่น คุณยาย​ที่ไม่​ไปนั่งรถเ​ที่ยวตะโกนแซว​เพื่อน​ที่​ไปอย่างน่ารักว่า "Enjoy yourself while you’re still alive." แล้ว​ท่านก็หันมากระซิบกระซาบว่า คุณยายคน​ที่ถูกแซวนั่น อายุตั้ง 95 แล้ว​นะ ​จะ​ไปวันไหนก็ไม่รู้ ​เพราะฉะนั้น​ ก็ให้​เขามี​ความสุข​ที่สุดแล้ว​กัน

ภายในห้องนั่งเล่น ​เป็นห้องกระจกบานใหญ่ ตกแต่งสวยงาม มองออก​ไปภายนอก​เป็นสวนขนาดกว้าง ตอนหน้าร้อน ​ที่อากาศ​กำลังสบายๆ​ คุณตาคุณยาย​สามารถออก​ไปเดินเล่น​ได้ ​แต่ตอนนี้หน้าหนาวเยือก พวกเราจึงสมัครใจนั่งคุยกันข้างในดีกว่า จากนั้น​ เจ้าหน้า​ที่ก็นำชา​กับน้ำหวานมาเลี้ยง เราก็เลย​รับอาสาชงชา​กับรินน้ำหวานแจกทุกคน ​เพราะใน​ที่นั้น​ มีเราเด็ก​ที่สุด แล้ว​เราก็นั่งคุยกัน​ไปเรื่อยๆ​ คุณยายถามว่าเมืองไทย​เป็นยังไง เราเคยเดินทาง​ไปไหนมาบ้าง แล้ว​คุณยายก็เล่าว่า คุณยายก็เดินทางมาเยอะ เคย​ไปอยู่​เยอรมนีมา​กับสามี​ที่​เป็นทหาร ตอนนี้สามีเสีย​ไปแล้ว​ แล้ว​คุณยายก็เล่าว่า​เพราะเหตุใดถึงมาอยู่​​ที่บ้านพักคนชรา คุณยายบอกว่า หลังจากสามีตาย ตอนแรกก็อยู่​​กับครอบครัวของลูกสาวคุณยาย ​แต่​ต่อมา คุณยายป่วยด้วยโรคเกี่ยว​กับกระดูกทำให้เดินไม่ค่อยไหว​และ​ต้องมีคนดูแล คุณยายเลย​ตัดสินใจมาอยู่​นี่ดีกว่า ​เพราะ "I didn’t want to ruin their lives." ​เป็นคำพูด​ที่น่าสะเทือนใจมาก ลองนึกถึง​ความรู้สึกของคน​เป็นแม่​ที่สุขภาพไม่ดี ก็เลย​​ต้องมาอยู่​บ้านพักคนชราอย่างโดดเดี่ยว ​เพราะไม่อยากให้​เป็นภาระของลูก ทำให้ชีวิตของลูกพลอยไม่​เป็นสุข​ไปด้วย สำหรับวัฒนธรรมแบบตัว​ใครตัวมันของฝรั่ง เราไม่รู้ว่า​เขารู้สึกกันอย่างไร ​แต่​กับคนไทยอย่างเรา บอก​ได้คำเดียวว่าซึม​ไปเลย​ คน​เป็นแม่ถึงอย่างไรก็มีใจรักลูกเสมอ ยอมเสียสละ​เพื่อลูก​ได้ทุกอย่าง ​แต่ลูกๆ​ดูเหมือน​จะไม่ค่อยรู้สึกกัน คุณยายก็คงรู้สึกเงียบเหงาอยู่​เหมือนกัน ยิ่ง​เป็นคนแก่ ยิ่ง​ต้องการคนดูแล ​แต่​ความ​ที่อยากให้ลูกมี​ความสุข ท่านก็​ต้องปลีกตัวออกมาอยู่​ตามลำพัง...​มาอยู่​​กับคนแปลกหน้า

พวกเรานั่งคุย​กับคุณยายอย่างเพลิดเพลิน ยิ่งใกล้เ​ที่ยงคุณตาคุณยายก็ยิ่งมาปรากฏตัวกันเยอะแยะ ​เพราะใกล้มื้ออาหารกลางวัน สังเกตดูผู้ชรา​ที่นี่ ​จะมีปัญหาเรื่อง​​ความจำกัน​ทั้งนั้น​ ​คือ หลงๆ​ลืมๆ​กัน​เป็น​ส่วนใหญ่ บางท่านก็หาของ​ทั้งวัน เดี๋ยวนั่นหาย เดี๋ยวนี่หาย คน​เป็นผู้ดูแลคง​ต้องใจเย็น​และใจดีมากๆ​เลย​ ​เพราะคุณตาคุณยายเหล่านี้ ท่านก็​เป็น​ไปตามวัย​คือ งกๆ​เงิ่นๆ​ หลงๆ​ลืมๆ​ บางทีก็พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง​ เช่น บอกให้ทำอะไร​ ก็ไม่ทำเสียอย่างนั้น​แหละ​ แบบไม่มีเหตุผลเสียด้วย ประมาณว่าข้าไม่อยากทำเสียอย่าง อย่ามาบังคับนะ คุณยายคนหนึ่ง​ ชื่อ Betty เห็นคุณยายคนอื่นๆ​หยิบกระเป๋าสตางค์ออกมา ท่านก็เปิดกระเป๋าถือของท่านบ้าง แล้ว​ก็หยิบ​เอาของในกระเป๋าออกมา ปรากฏว่ามีเสื้อยกทรงหนึ่ง​ตัว​กับกระเป๋าสตางค์ ทำ​เอาเรานึกฉงนปนขำว่าคุณยายแก​จะพกเสื้อยกทรงมาทำไม (​แต่ทรงคุณยายก็สวยจริงๆ​ ท่าน​เป็นคนรูปร่างดี สูงเพรียว เรายังนึกแอบชมในใจตอนเห็นท่าน​เป็นครั้งแรก) คุณยายคนอื่นบอกว่า คุณยาย Betty ​ความจำไม่ค่อยดีแล้ว​ หลงๆ​ลืมๆ​แบบนี้​เป็นประจำ ​เพราะอายุตั้ง 88 แล้ว​ ​แต่คุณยาย Betty ก็ทำให้เราประทับใจ ​เพราะท่านมาทรุดกายนั่งข้างเรา ยื่นมือมาจัดผ้าพันคอให้เรา แล้ว​ชมว่าผ้าพันคอลายสก็อตของเราสวย เราเลย​บอกคุณยายว่า เราซื้อมาจากสก็อตแลนด์ตอน​ที่​ไปเ​ที่ยว​ที่นั่น คุณยายก็ยิ้มแบบใจดีแล้ว​พูดทวนช้าๆ​แบบไม่ค่อยรับรู้ว่า "Oh, Scotland!" ​กับอีกตอนหนึ่ง​ ​พอดีเราเพิ่งหายป่วยจากไข้หวัด​แต่ยังมีอาการไออยู่​ พอเราเริ่มไอ คุณยาย Betty ก็มาลูบหลังให้เรา แล้ว​ถามอย่าง​เป็นห่วงว่า เรา​เป็นอะไร​หรือเปล่า ทำ​เอาเราซาบซึ้ง โธ่ ​จะมาดูแลคุณยาย กลับมานั่งไอให้คุณยายดูแล้ว​ เราหนอเรา...​

ใกล้เ​ที่ยง กลุ่ม​ที่​ไปนั่งรถเ​ที่ยวก็กลับมา ​เพราะ​ต้องพาคุณยาย​ทั้งหลายกลับมารับประทานมื้อกลางวัน ​เพื่อนในกลุ่ม​ที่พาคุณยายออก​ไปนั่งรถเข้ามาถามว่า ​เป็นไง คุยกันสนุกไหม เราบอกว่า สนุก คุยกันเพลินดี ​เพื่อนบอกว่า ดีแล้ว​ละ ​เพราะคุณยาย​ทั้งหลาย​ที่นี่ วันๆ​ ก็ไม่ค่อยมี​ใครมาคุยด้วยเท่าไหร่ นอกจากคุยกันเอง ยิ่งออก​ไปข้างนอก ​ถ้าลูกหลานไม่มารับออก​ไป ยิ่งไม่​ได้ออก​ไปไหนใหญ่ วันนี้ จึง​เป็นวัน​ที่คุณยายเหล่านี้มี​ความสุขมาก เราก็เลย​บอก​เพื่อนว่า เราก็มี​ความสุขมากเหมือนกัน​ที่​ได้มาในวันนี้ ​เป็นช่วงเวลา​ที่มีค่าในชีวิตมากเลย​

เราออกมาจากบ้านพักด้วย​ความรู้สึก​ที่อิ่มใจ ​และเต็ม​ไปด้วย​ความรู้สึกหลากหลาย ​ความรู้สึกหนึ่ง​​ที่แวบขึ้น​มา ​คือ อันตัวเรานี้ก็คงแก่ไม่เบา (​เอา​เป็นว่าเริ่มแก่แล้ว​กันนะ) ทำไมถึง​ได้คุยเรื่อง​​ความหลังครั้งเก่าก่อน​กับคุณยาย​ได้อย่างมี​ความสุขก็ไม่รู้ คงจริงกระมัง​ที่​เขาว่า คนแก่มัก​จะชอบคุยเรื่อง​เก่าแก่​ที่ผ่านมาแล้ว​ ​แต่คำถามหนึ่ง​​ที่เราแอบถามตัวเองในใจ ​คือ บ้านพักคนชรานี้ถึงดูจากสภาพแวดล้อม​จะน่าอยู่​ ตกแต่งสวยงาม สะดวก​สบายเพียงใด ​แต่​ถ้าเลือก​ได้ ​จะมีคุณตา คุณยายสักกี่คนหนอ​ที่ใจจริงแล้ว​ อยากมาอยู่​​ที่นี่...​

 

F a c t   C a r d
Article ID A-817 Article's Rate 6 votes
ชื่อเรื่อง เรื่องของคนแก่...ใครไม่แก่บ้างก็ให้รู้ไป
ผู้แต่ง pilgrim
ตีพิมพ์เมื่อ ๐๗ มีนาคม ๒๕๔๘
ตีพิมพ์ในคอลัมน์ ฉันเขียนให้เธออ่าน
จำนวนผู้เปิดอ่าน ๗๓๕ ครั้ง
จำนวนความเห็น ๕ ความเห็น
จำนวนดอกไม้รวม ๒๖
| | | |
เชิญโหวตให้เรตติ้งดอกไม้แก่ข้อเขียนนี้  
R e a d e r ' s   C o m m e n t
ความเห็นที่ ๑ : ศาลานกน้อย [C-3299 ], [000.000.000.000]
เมื่อวันที่ : 07 มี.ค. 2548, 23.06 น.

ผู้อ่าน​ที่รัก,

นิตยสารรายสะดวก​ ​และผู้เขียนยินดีรับฟัง​ความคิดเห็นต่อข้อเขียนชิ้นนี้
เชิญคลิกแสดง​ความเห็น​ได้​โดยอิสระ ขอขอบคุณ​และรู้สึก​เป็นเกียรติอย่างยิ่ง ในการมี​ส่วนร่วมของท่านในครั้งนี้...​

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๒ : ป้าแก่ [C-3301 ], [210.213.38.244]
เมื่อวันที่ : 08 มี.ค. 2548, 11.45 น.


ขอมอบดอกไม้ ​และ ชื่นชม​ที่คุณมีน้ำใจ​ไปเยี่ยมคนชรา ​เป็นเรื่อง​จริงอย่าง​ที่คุณว่าไม่ว่าบ้านพักนั้น​ ​จะสะอาดสะดวก​สบายเพียงใด ​ถ้าเลือก​ได้

คนชราทุกท่านคงอยากอยู่​​กับลูกหลานมากกว่า ประเทศไทยเองตอนนี้ ก็เริ่ม​เป็นครอบครัว​ที่เล็กลง ไม่แน่ว่าอีกหน่อย​เมืองไทยอาจ​ต้องมีบ้านพักแบบนี้เพิ่มขึ้น​

ขออนุญาตบอกสักนิดนะค่ะ​ รบกวนเว้นช่วงของข้อ​ความ แบ่งให้ย่อยลงหน่อย​
​เพราะว่าตัวเองก็แก่แล้ว​ อ่านติดกันมากๆ​ รู้สึกไม่ค่อยไหวเหมือนกัน

ยินดี​ที่​ได้อ่านเรื่อง​ดีๆ​ จากคุณค่ะ​

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๓ : add [C-3307 ], [203.150.105.157]
เมื่อวันที่ : 08 มี.ค. 2548, 21.34 น.

สวัสดีค่ะ​ คุณ pilgrim

​ที่ป้าแก่แนะนำก็คงไม่​ได้หมายถึงการเว้นวรรค​แต่เพียงอย่างเดียวหรอกค่ะ​ ​แต่หมายถึงว่า บางประโยคบางคำอาจมีการเน้น​โดย​ใช้​เป็นตัวหนา หรือ​เมื่อมีการเจรจาโต้ตอบก็ให้ขึ้น​บรรทัดใหม่แล้ว​ใส่เครื่องหมาย "...​" ก็​จะทำให้อ่านง่ายขึ้น​ค่ะ​

ก็หวังว่าคง​จะเขียนต่อๆ​​ไป ​เป็นเรื่อง​​ที่ดี​ที่น่าถ่ายทอดค่ะ​

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๔ : มังกี้ [C-3317 ], [202.57.172.196]
เมื่อวันที่ : 09 มี.ค. 2548, 21.01 น.


คุณ PILGRIM คะ​
นึกถึงพ่อแม่ตัวเอง​ที่เรายังดูแล​เขา​ได้ ​แม้ว่า​จะไม่​ได้อยู่​ด้วยกัน ยังไม่คิด​เอา​เขา​ไปไหน แถมแม่บอกว่า ยังไงแม่ก็ขออยู่​บ้านตัวเอง
เขียนต่อ​ไปนะคะ​ ​จะติดตาม

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๕ : มังกี้ [C-3318 ], [202.57.172.196]
เมื่อวันที่ : 09 มี.ค. 2548, 21.01 น.


คุณ PILGRIM คะ​
นึกถึงพ่อแม่ตัวเอง​ที่เรายังดูแล​เขา​ได้ ​แม้ว่า​จะไม่​ได้อยู่​ด้วยกัน ยังไม่คิด​เอา​เขา​ไปไหน แถมแม่บอกว่า ยังไงแม่ก็ขออยู่​บ้านตัวเอง
เขียนต่อ​ไปนะคะ​ ​จะติดตาม

แจ้งลบข้อความ


สั่งให้ระบบส่งเมลแจ้งการเพิ่มเติมความเห็น
 ศาลานกน้อย พร้อมบริการเสมอ และยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกท่าน  ติดต่อเว็บมาสเตอร์ได้ทางคอลัมน์ คุยกับลุงเปี๊ยก หรือทางอีเมลได้ที่ uncle-piak@noknoi.com  พัฒนาระบบ : ธีรพงษ์ สุทธิวราภิรักษ์  โลโกนกน้อย : สุชา สนิทวงศ์  ภาพดอกไม้ในนกแชท : ณัฐพร บุญประภา  ลิขสิทธิ์งานเขียนในนิตยสารรายสะดวก เป็นของผู้เขียนเรื่องนั้น  ข้อความที่โพสบนเว็บไซต์แห่งนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้โพสทั้งสิ้น