นิตยสารรายสะดวก  Regular Articles  ๐๘ เมษายน ๒๕๔๗
แดดร่มลมตก ชมนกชมไม้ ตอน ตำนานวันสงกรานต์
จันทน์กะพ้อ
... ใกล้​​จะถึงวันสงกรานต์ 13 เมษายนแล้ว​​ จึง​​เอานิทานวันสงกรานต์มาฝาก . เรื่อง​​กำเนิดวันสงกรานต์...
ใกล้​จะถึงวันสงกรานต์ 13 เมษายนแล้ว​ จึง​เอานิทานวันสงกรานต์มาฝาก .

เรื่อง​กำเนิดวันสงกรานต์ มีเรื่อง​เล่าสืบ ๆ​ กันมา ดังข้อ​ความจารึกวัดเชตุพน ฯ ​ได้กล่าวไว้ประดับ​ความรู้ของสาธุชน​ทั้งหลายดังต่อ​ไปนี้

...​.​เมื่อต้นภัทรกัลป์ มีเศรษฐีคนหนึ่ง​ มั่งมีทรัพย์มาก ​แต่ไม่มีบุตร บ้านอยู่​ใกล้นักเลงสุรา
นักเลงสุรานั้น​มีบุตร ๒ คน ผิวเนื้อดุจทอง วันหนึ่ง​นักเลงสุราเข้า​ไปในบ้านของเศรษฐี แล้ว​ด่าเศรษฐีด้วยถ้อยคำหยาบคายต่าง ๆ​ เศรษฐี​ได้ฟังจึงถามว่า
"พวกเจ้ามาพูดหยาบคายดูหมิ่นเราผู้​เป็นเศรษฐี​เพราะเหตุใด?"
พวกนักเลงสุราจึงตอบว่า
"ท่านมีสมบัติมากมาย​​แต่หามีบุตรไม่ ​เมื่อท่านตาย​ไปสมบัติก็​จะอันตรธาน​ไปหมด หาประโยชน์อันใดมิ​ได้ ​เพราะขาดทายาทผู้ปกครอง ข้าพเจ้ามีบุตรถึง ๒ คน ​และรูปร่างงดงามเสียด้วย ข้าพเจ้าจึงดีกว่าท่าน"

เศรษฐีครั้น​ได้ฟังก็เห็นจริงด้วย จึงมี​ความละอายต่อนักเลงสุรายิ่งนัก จึงนึก​ใคร่อยาก​ได้บุตรบ้าง จึงทำการบวงสรวง​พระอาทิตย์​และ​พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐาน​เพื่อขอให้มีบุตรอยู่​ถึง ๓ ปี ก็มิ​ได้มีบุตรสมดังปรารถนา

​เมื่อขอบุตรจาก​พระอาทิตย์​และ​พระจันทรืมิ​ได้ดังปรารถนาแล้ว​อยู่​มาวันหนึ่ง​ถึงฤดูคิมหันต์จิตรมาส ​(เดือน ๕)​ โลกสมมุติว่า​เป็นวันมหาสงกรานต์ ​คือ ​พระอาทิตย์ยกจากราศีมีนประเวสสู่ราศีเมษ คน​ทั้งหลายพากันเล่นนักขัตฤกษ์​เป็นการรื่นเริงขึ้น​ปีใหม่ทั่วชมพูทวีป ขณะนั้น​เศรษฐีจึงพาข้าทาสบริวาร​ไปยังต้นไทรริมฝั่งแม่น้ำอัน​เป็น​ที่อยู่​แห่งปักษีชาติ​ทั้งหลาย ​เอาข้าวสารซาวน้ำ ๗ ครั้ง แล้ว​หุงบูชารุกข​พระไทร​พร้อมด้วยสูปพยัญชนะอันประณีต ​และประโคมด้วยดุริยางค์ดนตรีต่าง ๆ​ ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตรจากรุกข​พระไทร รุกข​พระไทรมี​ความกรุณา เหาะ​ไปขอบุตร​กับ​พระอินทร์ให้​กับเศรษฐี

​พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลเทวบุตร ลง​ไปปฏิสนธิในครรภ์ บิดามารดาขนานนามว่า ธรรมบาลกุมาร แล้ว​จึงปลูกปราสาทขึ้น​ ให้กุมารอยู่​ใต้ต้นไทรริมสระฝั่งแม่น้ำนั้น​

ครั้นกุมารเจริญขึ้น​ก็รู้ภาษานกแล้ว​เรียนจบไตรเพท​เมื่ออายุ​ได้ ๘ ขวบ ​และ​ได้​เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่าง ๆ​ แก่มนุษย์ชาวชมพูทวีป​ทั้งปวง​ซึ่งขณะนั้น​โลก​ทั้งหลายนับถือท้าวมหาพรหม ​และกบิลพรหมองค์หนึ่ง​​ได้แสดงมงคลการแก่มนุษย์​ทั้งปวง

​เมื่อกบิลพรหมแจ้งเหตุ​ที่ธรรมกุมาร​เป็นผู้มีชื่อเสียง ​เป็น​ที่นับถือของมนุษย์ชาวโลก​ทั้งหลายจึงลงมาถามปัญหาแก่ธรรมกุมาร ๓ ข้อ ​ความว่า

๑) เวลาเช้า​ สิริ​คือราศีอยู่​​ที่ไหน
๒) เวลาเ​ที่ยง สิริ​คือราศีอยู่​​ที่ไหน
๓) เวลาเย็น สิริราศีอยู่​​ที่ไหน

​และสัญญาว่า ​ถ้าท่านแก้ปัญหา ๓ ข้อนี้​ได้เรา​จะตัดศีรษะเราบูชาท่าน ​ถ้าท่านแก้ไม่​ได้เรา​จะตัดศีรษะของท่านเสีย ธรรมกุมารรับสัญญา ​แต่ผลัดแก้ปัญหา​ไป ๗ วัน กบิลพรหมก็กลับ​ไปยังพรหมโลก

ฝ่ายธรรมบาลกุมารพิจารณาปัญหานั้น​ล่วง​ไป​ได้ ๖ วันแล้ว​ยังไม่เห็นอุบาย​ที่​จะตอบปัญหา​ได้ จึงคิดว่าพรุ่งนี้แล้ว​สิหนอ เรา​จะ​ต้องตายด้วยอาญาของท้าวกบิลพรหม เราหา​ต้องการไม่ จำ​จะหนี​ไปซุกซ่อนตนเสียดีกว่า คิดแล้ว​ลงจากปราสาทเ​ที่ยว​ไปนอน​ที่ต้นตาล ๒ ต้น ​ซึ่งมีนกอินทรี ๒ ตนผัวเมียทำรังอยู่​บนต้นตาลนั้น​

ขณะ​ที่ธรรมบาลกุมารนอนอยู่​ใต้ต้นตาลนั้น​ ​ได้ยินเสียงนางนกอินทรีถามผัวว่า
"พรุ่งนี้เรา​จะ​ไปหาอาหาร​ที่ไหน?"
นกอินทรีผู้ผัวตอบว่า
"พรุ่งนี้ครบ ๗ วัน​ที่ท้าวกบิลพรหม ถามปัญหาแก่ธรรมบาลกุมาร ​แต่ธรรมบาลกุมารแก้ไม่​ได้ ท้าวกบิลพรหม​จะตัดศีรษะเสียตามสัญญา เรา​ทั้ง ๒ ​จะ​ได้กินเนื้อมนุษย์​คือ ธรรมบาลกุมาร​เป็นอาหาร"
นางนกอินทรีจึงถามว่า
"ท่านรู้ปัญหาหรือ ?" ผู้ผัวตอบว่ารู้แล้ว​ก็เล่าให้นางนกอินทรีฟังตั้งแต่ต้นจนปลายว่า

๑) เวลาเช้า​ราศีอยู่​​ที่ หน้า คน​ทั้งหลายจึง​เอาน้ำล้างหน้า
๒) เวลาเ​ที่ยงราศีอยู่​​ที่ อก คน​ทั้งหลายจึง​เอาน้ำ​และแป้งกระแ​จะจันทร์ลูบไล้​ที่อก
๓) เวลาเย็นราศีอยู่​​ที่ เท้า คน​ทั้งหลายจึง​เอาน้ำล้างเท้า

ธรรมบาลกุมารนอนอยู่​ใต้ต้นไม้​ได้ยินการสนทนาของ​ทั้งสองก็จำ​ได้ จึงมี​ความโสมนัสปีติยินดี​เป็นอันมาก แล้ว​จึงกลับมาสู่ปราสาทของตน

ครั้นถึงวาระ​เป็นคำรบ ๗ ตามสัญญา ท้าวกบิลพรหมก็ลงมาถามปัญหา​ทั้ง ๓ข้อตาม​ที่นัดหมายกันไว้ ธรรมบาลกุมารก็วิสัชนาแก้ปัญหา​ทั้ง ๓ ข้อตาม​ที่​ได้ฟังมาจากนกอินทรีนั้น​ ท้าวกบิลพรหมยอมรับว่าถูก​ต้อง​และยอมแพ้แก่ธรรมบาลกุมาร ​และจำ​ต้องตัดศีรษะของตนบูชาตาม​ที่สัญญาไว้ ​แต่ก่อน​ที่​จะตัดศีรษะ ​ได้ตัดเรียกธิดา​ทั้ง ๗ อัน​เป็นบาท​บริจาริกาของ​พระอินทร์ ​คือ

๑. วันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อนางทุงษะ ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค (ปัทมราช พลอยสีแดงทับทิม)ภักษาหารผลมะเดื่อ อาวุธขวาจักร ซ้ายสังข์ พาหนะครุฑ

๒. วันจันทร์ นางสงกรานต์ชื่อนางโคราคะ​ ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารน้ำมัน อาวุธขวา​พระขรรค์ ซ้ายไม้เท้า พาหนะเสือ

๓. วันอังคาร นางสงกรานต์ชื่อนางรากษส ทัดดอกบัว เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต อาวุธขวาตรีศูล ซ้ายธนู พาหนะสุกร

๔. วันพุธ นางสงกรานต์ชื่อ นางมณฑา ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย อาวุธขวาเข็ม ซ้ายไม้เท้า พาหนะลา

๕. วันพฤหัสบดี นางสงกรานต์ชื่อนางกิริณี ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา อาวุธขวาขอ ซ้ายปืน พาหนะช้าง

๖. วันศุกร์ นางสงกรานต์ชื่อ นางกิมิทา ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ อาวุธขวา​พระขรรค์ ซ้ายพิณ พาหนะกระบือ

๗.วันเสาร์ นางสงกรานต์ชื่อ นางมโหธร ทัดดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธขวาจักร ซ้ายตรีศูล พาหนะนกยูง

อันโลกสมมุติว่า​เป็นองค์มหาสงกรานต์ ​กับ​ทั้งเทพบรรษัทมา​พร้อมกัน แล้ว​จึงบอกเรื่อง​ราวให้ทราบ​และตรัสว่า​พระเศียรของเรานี้ ​ถ้าตั้งไว้บนแผ่นดินก็​จะเกิดไฟไหม้​ไปทั่วโลกธาตุ ​ถ้า​จะโยนขึ้น​​ไปบนอากาศฝนก็​จะแล้ง เจ้า​ทั้ง ๗ จง​เอาพานมารองรับเศียรของบิดาไว้เถิด ครั้นแล้ว​ท้าวกบิลพรหมก็ตัด​พระเศียรแค่​พระศอส่งให้นางทุงษะเทวีธิดาองค์ใหญ่ในขณะนั้น​ โลกธาตุก็เกิดโกลาหลอลเวงยิ่งนัก

​เมื่อนางทุงษะมหาสงกรานต์​เอาพานรองรับ​พระเศียรของท้าวกบิลพรหมแล้ว​ก็ให้เทพบรรษัทแห่ประทักษิณ เวียนรอบ​เขา​พระสุเมรุราช ๖๐ นาทีแล้ว​จึงเชิญเข้าประดิษฐานไว้ในมณฑป ณ ถ้ำคันธธุลี ​เขาไกรลาศ กระทำบูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่างๆ​ ​พระวิษณุกรรมเทพบุตรก็เนรมิตโลงแก้ว อันแล้ว​​ไปด้วยแก้ว ๗ ประการ ชื่อภัควดีให้เทพธิดา​และนางฟ้าแล้ว​ เทพยดา​ทั้งหลายก็นำมา​ซึ่งเถาฉมุนาตลงล้างน้ำ ในสระอโนดาต ๗ ครั้ง แล้ว​แจกกันสังเวยทั่วทุกๆ​ ​พระองค์

ครั้น​ได้วาระกำหนดครบ ๓๖๕ วัน โลกสมมุติว่าปีหนึ่ง​​เป็นวันสงกรานต์นางเทพธิดา​ทั้ง ๗ ก็ทรงเทพพาหนะต่างๆ​ ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาเชิญ​พระเศียรกบิลพรหมออกแห่​พร้อมด้วยเทพบรรษัทแสนโกฏิ ประทักษิณเวียนรอบ​เขา​พระสุเมรุราชบรรษัท ทุกๆ​ ปีแล้ว​กลับ​ไปยังเทวโลก...​

สงกรานต์ปีนี้ วัน​ที่ ๑๓ เมษายน พ..ศ. ๒๕๔๗ ตรง​กับวันอังคาร นางสงกรานต์ปีนี้จึงชื่อ นางรากษสเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต ​พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูรย์ ​พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จนั่งบนหลังวราหะ(หมู) ตาม​ความเชื่อของตำนาน​จะทำนายว่าไม่ค่อยดี​เพราะมีโลหิต​เป็นอาหาร อาจเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุร้าย

http://www.nfe.go.th/92/view/vi13.html
http://www.geocities.com/Tokyo/Garden/8135/songkran004.html

 

F a c t   C a r d
Article ID A-397 Article's Rate 15 votes
ชื่อเรื่อง แดดร่มลมตก ชมนกชมไม้ ตอน ตำนานวันสงกรานต์
ผู้แต่ง จันทน์กะพ้อ
ตีพิมพ์เมื่อ ๐๘ เมษายน ๒๕๔๗
ตีพิมพ์ในคอลัมน์ แดดร่มลมตก ชมนกชมไม้
จำนวนผู้เปิดอ่าน ๑๒๘๓ ครั้ง
จำนวนความเห็น ๕ ความเห็น
จำนวนดอกไม้รวม ๕๕
| | | |
เชิญโหวตให้เรตติ้งดอกไม้แก่ข้อเขียนนี้  
R e a d e r ' s   C o m m e n t
ความเห็นที่ ๑ : ศาลานกน้อย [C-1170 ], [000.000.000.000]
เมื่อวันที่ : 08 เม.ย. 2547, 23.01 น.

ผู้อ่าน​ที่รัก,

นิตยสารรายสะดวก​ ​และผู้เขียนยินดีรับฟัง​ความคิดเห็นต่อข้อเขียนชิ้นนี้
เชิญคลิกแสดง​ความเห็น​ได้​โดยอิสระ ขอขอบคุณ​และรู้สึก​เป็นเกียรติอย่างยิ่ง ในการมี​ส่วนร่วมของท่านในครั้งนี้...​

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๒ : กางเขนดง [C-1182 ], [161.200.255.162]
เมื่อวันที่ : 13 เม.ย. 2547, 11.15 น.

นางมโหธร ทัดดอกสามหาว นี่ดอกอะไร​คะ​ ดอกผักสามหาว (ผักบุ้ง) หรือเปล่านะ

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๓ : จันทน์กระพ้อ [C-1183 ], [169.210.18.39]
เมื่อวันที่ : 15 เม.ย. 2547, 22.14 น.

ดอกสามหาว ​คือ ดอกผักตบค่ะ​

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๔ : ด.ญ พินันยา มารศรี [C-15039 ], [118.174.3.35]
เมื่อวันที่ : 07 พ.ย. 2551, 22.05 น.

จากพฤติกรรมของ "ธรรมบาล"บองจริยาวัตรของคนในวรรณะพราหมณ์มา 2 ข้อ​ได้ไหมค่ะ​

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๕ : ด.ญ พินันยา มารศรี [C-15040 ], [118.174.3.35]
เมื่อวันที่ : 07 พ.ย. 2551, 22.12 น.

เรื่อง​ท้าวมหาสงกรานต์ ​เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติของเรื่อง​ใด
ช่วยตอบด้วยนะค่ะ​ พรุ่งนี้​จะเข้ามา​เอาคำตอบนะค่ะ​ ...​

แจ้งลบข้อความ


สั่งให้ระบบส่งเมลแจ้งการเพิ่มเติมความเห็น
 ศาลานกน้อย พร้อมบริการเสมอ และยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกท่าน  ติดต่อเว็บมาสเตอร์ได้ทางคอลัมน์ คุยกับลุงเปี๊ยก หรือทางอีเมลได้ที่ uncle-piak@noknoi.com  พัฒนาระบบ : ธีรพงษ์ สุทธิวราภิรักษ์  โลโกนกน้อย : สุชา สนิทวงศ์  ภาพดอกไม้ในนกแชท : ณัฐพร บุญประภา  ลิขสิทธิ์งานเขียนในนิตยสารรายสะดวก เป็นของผู้เขียนเรื่องนั้น  ข้อความที่โพสบนเว็บไซต์แห่งนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้โพสทั้งสิ้น