นิตยสารรายสะดวก  Fiction  ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘
พี่ืท่ีแสนดี
เปิดฟ้า ก้องหล้า
...พี่ชาย...​​ของเรา สุธรรม​​เป็นชายหนุ่ม​​ที่มี​​ความขยันหมั่นเพียร มีคุณธรรม ผู้​​ที่​​เป็น​​ที่รักของคนหลายคน ด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี สุภาพ เยือกเย็น...
พี่ชาย...​ของเรา

สุธรรม​เป็นชายหนุ่ม​ที่มี​ความขยันหมั่นเพียร มีคุณธรรม ผู้​ที่​เป็น​ที่รักของคนหลายคน ด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี สุภาพ เยือกเย็น

สุธรรม​เป็นผู้เสียสละอันยิ่งใหญ่อีกผู้หนึ่ง​ ​เขา​ได้​ใช้ชีวิตบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย​ความเต็มใจ ​และมิหวังผลตอบแทน

​เขา​ได้สละตนให้พี่​และน้อง ๆ​ ​โดยการหยุดเรียนในระดับมัธยมศึกษา ​เพื่อทำงานหาเงินส่งเสียให้พี่​และ น้อง ๆ​ ​ได้ศึกษาต่อจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี​และมีงานทำ

​เมื่อพี่​และน้อง ๆ​ จบปริญญาตรี สุธรรมพลอยมี​ความปิติ อิ่มสุขใน​ความ​สามารถของ​เขา ​ทั้งพี่น้องของ​เขา​สามารถเรียนจบ ​และ​ได้รับเกียรติบัตรจาก​พระหัตถ์​พระบาท​สมเด็จ​พระเจ้าอยู่​หัว

สุธรรมภูมิใจในหยาดเหงื่อ​และแรงงานของตน​ที่​สามารถบันดาล​ความฝันให้​เป็นจริงแก่พี่ ​และน้อง ๆ​ ก้าวสู่​ความสำเร็จ​ได้ดังปรารถนา

ทุกครั้ง​ที่พี่​และน้องๆ​ ​ไปรับปริญญาบัตร สุธรรมก็​เป็น​ส่วนหนึ่ง​​ที่​ได้​ไปร่วมแสดง​ความยินดี​และฉลอง​ความสำเร็จกันอย่างครึกครื้นสนุกสนาน ​ระหว่างญาติพี่น้อง​และ​เพื่อน ๆ​ ของ​เขาตลอดครูอาจารย์ผู้มี​ส่วนร่วมใน​ความสำเร็จเหล่านั้น​

เวลา​ที่พี่​และน้อง ๆ​ ​ได้รับการคัดเลือกบรรจุเข้าทำงาน ​ซึ่ง​ต้องผ่านการทดสอบแข่งขัน สอบสัมภาษณ์ ผ่านการคัดเลือกมาตลอด สุธรรมเองก็มี​ส่วนสำคัญในการช่วยเหลือ เลี้ยงฉลอง รับส่ง ​และการขนย้ายสัมภาระ จน​เป็น​ที่สำเร็จเรียบร้อย​ทุกคน

สุธรรมก็เปรียบประดุจพ่อแม่หรือผู้ปกครองของ​เขาคนหนึ่ง​ เช่นเดียว​กับคุณพ่อคุณแม่ตัวจริง ด้วย​ความภาคภูมิใจ ในฐานะ​ที่​เป็นน้องชาย​และพี่ชาย ผู้ประสานให้​ความรัก ​ความเคารพ ​ความนับถือ ​ความสามัคคี ​ความกลมเกลียวในครัวนี้มีอย่างล้นเหลือ

ขณะ​ที่พี่น้อง​ได้เรียนจบ​และ​ได้ทำงาน​เป็นหลักฐานมั่นคงกันทุกคนแล้ว​ สุธรรมยัง​ต้องดำเนินชีวิตเช่นเดียว​กับในอดีต​ที่ผ่านมาอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีวันหยุด​เป็นกิจ​จะลักษณะ เช่น ข้าราชการ​ที่มีการหยุด วันเสาร์ วันอาทิตย์ ​และวันนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ​ อีก เช่น วันปิยมหาราช วันเฉลิม​พระชนมพรรษาฯ ​ทั้งสอง​พระองค์ วันมาฆบูชา วันวิสาขะบูชา ฯลฯ

สุธรรม​ต้อง​ไปปลูกยางพาราในพื้น​ที่ 5 ไร่ ​ซึ่ง อยู่​ใน​ที่ตั้งคนละอำเภอกัน อดีต​เป็น​ที่ดินของคุณแม่ ​ซึ่ง​ได้รับ​เป็นมรดกตกทอดมา ​ที่ดินผืนนี้​เป็น​ที่นามาก่อน ​ซึ่งก่อน ๆ​ นั้น​ ท่าน​ได้มอบให้ญาติของท่านทำนาทุกปี

ปีปลายนี้​ที่ดินแปลงใกล้ ๆ​ ​เขาปลูกยางพารากันเกือบทุกแปลงแล้ว​ ยังมีอยู่​ด้วยกันสามแปลง ​ที่บริเวณใกล้ ๆ​​โดยรอบ ​ที่มีอาณาเขตติดต่อกัน
เจ้าของในพื้น​ที่​เป็นญาติกัน ​ได้ปรึกษาหารือกัน แล้ว​ปรับพื้น​ที่ปลูกยางพารา
​ได้มีการยกร่องปักแนวปลูกยางพาราแบ่ง​เป็นแปลง ​ความห่างจากหัวแปลง ถึงท้ายแปลง ห่างกัน 7 เมตร ​ใช้รถไถนายกร่องให้ดินกลบเข้าหากัน​เป็นร่องยาวจากหัวดิน​ไปท้ายดินตรงปักหลักระยะ 7 เมตร​เป็นแกนกลาง

​เมื่อ​ได้ยกร่องยาวตาม​ความยาวของ​ที่ดินเสร็จแล้ว​ ก็​ใช้เชือกขึงจากหัวร่องถึงท้ายร่องตามแนวหลัก 7 เมตร ตรงกลางร่อง ​และ​ได้วัดจากหลักแรก​ไป 3 เมตร สุธรรม​ได้​ใช้ไม่ไผ่เหลาเล็ก ๆ​ ตลอด ยาว 60 ซ.ม. ตรงแนวเส้นขึงจากหัว​ไปท้ายร่อง ห่างกัน 3 เมตรตลอดทุกช่อง

จึง​ได้สวนยางพารา​ที่มีขนาดแถวปลูก 7 x 3 ​คือแถวยาวตามแนวร่องห่างกัน 7 เมตร ยาง​แต่ละต้นในแถวห่างกัน 3 เมตร

​เมื่อปักแนวต้นยางพาราให้ห่างกันต้นละ 3 เมตรตลอดทุกแถวแล้ว​ สุธรรมก็​ได้ชวน​เพื่อน ๆ​ มาช่วยกันขุดหลุมยางพารา ตรง​ที่ปักไม้ไผ่ไว้​เป็นแถวห่างกัน 3 เมตร หนึ่ง​หลักขุดหนึ่ง​หลุม ให้หลักไม่ไผ่​เป็นจุดศูนย์กลางของหลุม ขุดขนาดหลุมกว้าง 1 ฟุต​ทั้ง 4 ด้าน​และลึก 1 ฟุต
จากนั้น​​ใช้ปุ๋ย​และยาป้องกันแมลงจำพวกปลวกผสมเคล้า​กับดินให้เข้ากัน ประมาณครึ่งหลุม
​เมื่อเตรียมหลุมแล้ว​ สุธรรมก็​ได้นำต้นกล้ายางพารา ​ซึ่ง​ได้ชำไว้แล้ว​ ​เป็นต้นกล้ายางสมบูรณ์ มี​ความสูงประมาณ 3 ชั้น​ที่ต่อยอด หรือ 50 เซนติเมตร​โดยประมาณ
วิธีการปลูก สุธรรม​กับ​เพื่อนนำต้นกล้ายางพารา​ไปวางไว้​ที่ปากหลุมทุกหลุมแล้ว​ ก็เริ่มปลูก​โดยการกรีดถุงยางใส่ดิน​ที่โคนต้นกล้ายางไว้ตอนเริ่มปักชำ แล้ว​ปล้อนถุงออก นำต้นยางพาราวางตรงกลางหลุมแล้ว​เกลี่ยดินปากหลุมลงปิด ให้ดินปิดหลุมเสมอปากหลุม ​และปิดเหนือดิน​ที่โคนต้นกล้า ให้กิ่งตาอยู่​เหนือพื้นดิน ประมาณ 1 -- 3 นิ้ว ตามสภาพลักษณะของตา​ที่งอก

​เมื่อปลูกยางพาราเสร็จแล้ว​ 3 วัน อากาศร้อน​และแดดจ้าตลอดวัน สุธรรมก็​ไปรดน้ำต้นกล้ายาง​ที่ปลูก ​ใช้เวลา 4 ชั่วโมง ด้วยการตักน้ำจากหลุมดิน ​ซึ่งเจ้าของแปลง​ที่ปลูกก่อนแล้ว​ 2 ปี หรือ 3 ปีแล้ว​ ​เขาขุดบ่อดินลึก 2 เมตร กว้าง 3 เมตร ยาว 40 เมตร น้ำลึก 1.5 เมตร

สุธรรมตักน้ำด้วยถังพลาสติกทำจากแคนลอนน้ำมันเครื่องเฉือน​ส่วน​ที่​เป็น​ที่จับถือออก ​ใช้ไม้กลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว ตัดให้ยาวเท่า​กับด้านแคบของกระป๋อง ​ใช้ตะปูตอก​โดยยึดพื้นพลาสติกด้านแคบให้ติด​กับปลายไม้ในบริเวณปากกระป๋อง​ทั้งสองข้าง ให้อยู่​กึ่งกลางของด้านยาว​พอดี
วันแรกรดน้ำกล้ายางพาราเสร็จ สุธรรมนั่งพักผ่อน​ที่ศาลาริมถนน​และนอนหลับ​ไป ตื่นมาสดชื่นกระปรี้กระเปร่าอย่างมี​ความสุข ​และรีบกลับบ้าน ด้วยรถจักรยานยนต์ฮอนด้าดรีม 100

อีกสามวัน​ต่อมา สุธรรม​ไปรดน้ำกล้ายางอีก ​เพราะฝนยังไม่ตก ​ถ้าปล่อยเฉยไว้ ต้นกล้ายางพารา​จะเหี่ยวตาย​เพราะมีน้ำไม่พอ จึง​ต้องเฝ้าระวัง ดูแลอย่างดี เหมือนลูกอ่อนนั้น​แหละ​

วันนี้สุธรรมรู้สึกเพลีย ​เพราะกลางคืน​ไปช่วยงาน​แต่งงานหลานบ้านใกล้กัน นอนน้อย​ไปหน่อย​ ตักน้ำด้วยถังเล็กใส่ถังใหญ่ถังละ 2 ถังเล็ก หิ้วถังใหญ่ครั้งละ 2 ถังด้วยมือสองข้าง​ไปรดต้นกล้ายางถังละต้น จากสว่างจนเกือบ 11 โมง จึงรดน้ำกล้ายางพาราเสร็จ

รดน้ำเสร็จ สุธรรม​จะ​ไปนั่งพัก​ที่ศาลาสาธารณะข้างถนนอีก ​เพื่อ​จะ​ได้หลับสักงีบหนึ่ง​ ​แต่มีชาวบ้าน​และญาติของพ่อ เดินมาเจอกัน 5 คน จึง​ต้องพูดคุยทักทายกัน ต่างถามสารทุกข์สุกดิบ​ซึ่งกัน​และกัน เวลาพอสมควรสุธรรมก็ออกเดินทางต่อ ​ทั้ง​ที่ยังรู้สึกเพลีย ๆ​ มึน อากาศร้อนมาก ​ความหิวมันก็แทรกเข้ามานิด ๆ​ สุธรรมอยาก​จะเข้า​ไปพักงีบ​ที่บ้านของญาติของคุณพ่อ ​แต่​ต้องเจอ​กับญาติ ๆ​ อีกหลายคน นาน ๆ​ จึง​จะพบกัน จึง​ต้องพูดคุยกันบ้าง​เป็นธรรมดา

สุธรรมจึงออกเดินทางกลับบ้าน​โดยจักรยานยนต์คู่ชีพ วิ่ง​ไปประมาณ 20 กิโลเมตร เหลือระยะทางอีก 5 กิโลเมตร​จะถึงบ้านพัก สุธรรมรู้สึกง่วงนอน จึงแก้ง่วงด้วยการขยับขยำมือ​กับแฮนด์รถบ้าง เคี้ยวฟันบ้าง กลั้นลมหายใจบ้าง

จากจุดเริ่มง่วงมาประมาณ 2 กิโลเมตร ​ที่นั้น​มีศาลาพักผู้​โดยสารอยู่​แห่งหนึ่ง​ สุธรรมอยากนอนเต็มที ​แต่คิดว่ามันอยู่​ใกล้​กับเล้าหมู คง​จะมีกลิ่น จึงไม่​ได้จอดนอนพักงีบ

จากจุด​ที่สุธรรมเริ่มง่วงนอน สุธรรมก็เพิ่ม​ความเร็วขับขี่รถจาก 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ​เป็น 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ​และ 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ​ซึ่ง​ที่ผ่านมา​เมื่อง่วงนอน เคย​ได้รับผลดี ​เพราะ​ต้องรับผิดชอบต่อตนเองสูง เสี่ยงต่อชีวิต ประสาทเตรียม​พร้อมทุกอย่าง ไม่ว่า รถ​จะพรวดพราดออกจากซอย สุนัขข้ามถนน เด็กข้ามถนน ฯลฯ

รถวิ่งผ่านมาอีกนิด อยาก​จะหยุดพักบ้านญาติข้างถนน มองแล้ว​ประตูปิด ไม่มีคนอยู่​ ​ถ้า​จะหยุดก็ลำบาก จึงขับขี่รถต่อ​ไปด้วย​ความเร็วปานลูกธนูจากแหล่ง

ขณะ​ที่เจ้าหน้า​ที่ประจำเปล 2 ท่าน ​ได้ยกสุธรรมจากเตียงนอนธรรมดา ​ไปยังเตียงเคลื่อนย้ายคนป่วย สุธรรมมี​ความรู้สึกจำ​ได้​เป็นครั้งแรก เห็นภายในอาคารแล้ว​รู้สึกมึนงง ​เพราะไม่เคยพบเห็นมาก่อน คิดในใจว่าน่า​จะ​เป็นโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จึงถามว่า

" นี่โรงพยาบาล ม.อ. ใช่ใหม" สุธรรมถามด้วย​ความสงสัย

" ไมใช่ ​เป็นโรงพยาบาลในจังหวัดของเรา" พยาบาลตอบ

สุธรรมรู้สึกแปลกใจ​เป็นอย่างยิ่ง มีอาคารใหญ่กว้างขวาง ​ซึ่งสุธรรมไม่เคยเห็นมาก่อนว่า โรงพยาบาลบ้านเราแห่งนี้ มีโรงพยาบาลหลังใหม่

รถคนป่วยเคลื่อนจากห้องป่วยรวม​ไปยังห้องพิเศษ อยู่​หัวท้ายอาคาร ​ซึ่งมีเฉพาะสำหรับสำรองพิเศษอยู่​ห้องหัวห้องท้ายของอาคาร มีเฉพาะสำรองแก่นายแพทย์ พยาบาล​ที่ป่วยกะทันหัน สุธรรมทราบจากคำบอกเล่าว่า "​เพื่อนของน้องสาวผู้​เป็นพยาบาลบอกนายแพทย์ว่าสุธรรม​เป็นพี่ชาย จึง​ได้รับการจัดสรรพิเศษให้ ​โดย​เพื่อนของน้องสาว​เป็นผู้รับผิดชอบ

​เมื่อเจ้าหน้า​ที่ประจำเปล​ได้ถ่ายคนป่วยลงบนเตียงแล้ว​ พยาบาลก็จัดการดูแล​ความเรียบร้อย​ของอุปกรณ์​ที่ช่วยการรักษาในระดับอนุบาล เช่น น้ำเกลือ เลือด สำรวจดูสาย เข็มเจาะ ปลาตเตอรปิดแผลหรือสายต่าง ๆ​ ​เป็น​ที่เรียบร้อย​แล้ว​ ก็เฝ้าคอยระวังอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ด้วย​ความสนใจ​และ​เอาใจใส่ มิ​ได้ละทิ้ง น้องยังนิยมศรัทธา​เขาอยู่​ทุกท่าน ​ที่มีเมตตากรุณา​ได้ให้การเอื้อเฟื้อดูแลให้​เป็นอย่างดี ​และ​กำลังขอบคุณ​เขาอยู่​ในใจตลอดมา"
​เมื่อวายคนแล้ว​สุธรรมก็ถามน้องสาว ว่า

"ทำไมพี่มาอยู่​​ที่นี้ ​และมา​ได้อย่างไร"

" พี่ล้มรถจักรยานยนต์นอนสลบ​ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง​ ห่างจากบ้านเราประมาณ 3 กิโลเมตร ชาวบ้านเห็นเหตุการณ์​ได้ออกมาช่วยเหลือ ในกลุ่มของผู้หวังดีให้การช่วยเหลือนั้น​มีน้อง..เชย ​ได้ถอยรถออกจากบ้าน ​เพื่อนำพี่ส่งโรงพยาบาล​ที่ใกล้​ที่สุดในทันที"

"ก่อน​ที่​เขา​จะนำพี่ขึ้น​รถกะบะตอนหลัง ​เขา​ได้ช่วยกันสำรวจแขน ขา ​และ​ส่วนอื่น ๆ​ ว่ามี​ความเสียหายเพียงใด ​แต่ชีพจรยังเต้นอยู่​ ​และ​เขาช่วยกันปั้มหัวใจ จนมีเสียงคราง ท้อง​และอกเริ่มกระ​เพื่อม เลือดยังไหลอยู่​ บริเวณศีรษะ ใบหน้า มือ เท้า มีแผลเลือดไหลอยู่​ ​เขาตกลงใจยกพี่ขึ้น​รถกะบะ​ที่ติดเครื่องรออยู่​ใกล้ ๆ​ รถ​จะ​ต้องรีบนำพี่ส่งโรงพยาบาลทันที ​แต่หลายคน​ที่นั้น​ยังไม่​พร้อม​ที่​จะเดินทาง​ไปด้วย"

"ขณะนั้น​มีหญิงสาววัยรุ่นคนหนึ่ง​สวมหมวกไหมพรมปิดหน้า เธออยู่​ในชุดกรีดยาง เสื้อผ้าดำมอมแมมด้วยขี้ยางติดเกรอะ เพิ่ง​จะมาถึง เธอ​ได้ขึ้น​​ไปบนรถกะบะ เธอถอดหมวกไหมพรมออก ทุกคนก็รู้จักเธอ
"ฉัน​ไปเอง ไม่​ต้องห่วง"

เธอเดินทางยังไม่ถึงบ้าน ยังไม่อาบน้ำ ไม่​ได้ทานอาหาร ไม่​ได้เปลี่ยนเสื้อผ้า ​แต่เธอมีนิสัยใจบุญใจดีชอบช่วยเหลือผู้ป่วยอาหารสาหัสเช่นนี้ หลายครั้งมาแล้ว​ ทุกคนทราบดี

"ชาวบ้านช่วยกันปิดท้ายรถกะบะ เธอนั่งลงใกล้ศีรษะของพี่ แล้ว​เธอช้อนศีรษะของพี่ขึ้น​จากพื้นพอประมาณ เธอก็สอดขาของเธอเข้า​ไปใต้ศีรษะของพี่ให้พี่หนุนแทนหมอน น่าอิจฉาจัง พี่เรา รถติดเครื่องอยู่​แล้ว​ ก็ทะยานออกจาก​ที่​ไปปานลูกธนูออกจากแหล่ง ตามจังหวะจากเกียต่ำ​ไปเกียสูง จนรถหาย​ไปจากสายของชาวบ้าน ​เพราะถนนมี​ส่วนโค้งอยู่​ไม่ไกลนักด้วย"
"เธอมี​ความกังวล​และห่วงใยพี่มาก ๆ​ ก่อน​จะถึงทางแยกขึ้น​ถนนสายเอกก่อน​จะมุ่งตรง​ไปยังในเมือง เธอเรียกชื่อพี่ ช้ำแล้ว​ ซ้ำอีก ​เมื่อเธอ​ได้ยินเสียงครางออกมา ​และขานรับ เธอดีใจมาก"

"เธอเรียกชื่อพี่​และถามอาการ​ไปตลอดทาง มีเสียงตอบคำถามสนอง​ความรู้สึกทุกคำถาม จนถึงโรงพยาบาล เจ้าหน้า​ที่ตลอดจนพยาบาล​และแพทย์​ได้ช่วยเหลืออย่างเต็ม​ที่ น้องซาบซึ้งในน้ำใจของ​เขา น้องมี​ความอบอุ่น​และขอบคุณคณะพยาบาล​และแพทย์เหล่านั้น​ มนุษย์ธรรมเจริญงอกงาม เกินกว่าคำเล่าลือจริง ๆ​"

"ตลอดเวลา​ที่ผ่านมาแพทย์ พยาบาล ตลอดถึงญาติพี่น้อง ถามสิ่งใดพี่ พี่ตอบ​ได้ตลอด เหมือนคนปกติทั่ว​ไป ทุกคนคิดว่าพี่ฟื้นแล้ว​ มี​ความรู้สึกถูก​ต้องดีทุกประการ"

" ไม่ พี่มารู้สึกตัว​เมื่อเจ้าหน้า​ที่เปลยกเปลี่ยนตัวพี่จากเตียงเคลื่อน​ไปห้องพิเศษ ตอนบ่ายห้าโมงเย็น พี่แปลกใจมาก จึง​ได้ถามว่า ​ที่ไหน ​ที่ มอ. หรือไม่ ​เพราะ​เป็นสถาน​ที่ใหม่ อาคารใหม่ ก่อนนี้พี่จำไม่​ได้จริง ไม่รู้อะไร​เลย​ พี่สุดงง"

" แพทย์ผ่าตัดให้ยาสลบบ้างไหมน้อง"

"ใช่คะ​ ตอนทำแผล​ที่หน้า"

"อาจ​เป็น​ส่วนก็​ได้ ​ที่พี่ไม่รู้เรื่อง​อะไร​เลย​"

"​แต่พี่มีอาการอย่างนี้มา ตั้งแต่อยู่​​ระหว่างทาง​ที่มีการขนย้ายมาโรงพยาบาลแล้ว​"

" ไม่ทราบ พี่ไม่รู้อะไร​เลย​ มันเกิดอะไร​ขึ้น​ แล้ว​เธอคนนั้น​อยู่​ไหนละ"

"​เมื่อแพทย์​และพยาบาล​ได้ทำการปฐมพยาบาล ทำแผล เอกซเรย์ ​และอะไร​อีกตาม​ความจำ​เป็นจนเรียบร้อย​แล้ว​ เธอก็กลับบ้าน​ไปเปลี่ยนเสื้อผ้า ชุดกรีดยางของเธอ​ที่เลอะเทอะ ติดกรังด้วยยาง สีดำมอมแมม มีเลือดของพี่ติดกางเกง​และเสื้อของเธอ เธอช่วยเหลือด้วย​ความเต็มใจ ไม่เคอะเขิน ช่างน่ารักเหลือเกินนะพี่นะ"

"ขอบใจเธอมาก น้องช่วยบอกเธอด้วย"

"พรุ่งนี้ เธอบอกว่า​จะมาเยี่ยมอีก"

ขณะนี้เวลา 18 นาฬิกากว่าแล้ว​

"พี่หนุนตักเธอจนถึงโรงพยาบาลหรือ"
"ใช่คะ​"
วันรุ่งขึ้น​ เธอมาเยี่ยมสุธรรม ​พร้อมของฝาก เธอเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ​ให้สุธรรมฟังอย่างสนุกสนาน​และ​เป็นกันเอง เหมือน​กับสนิมสนมกันมานานแสนนาน

เธอ​เอาใจใส่ดูแลสุธรรมเหมือนญาติใกล้ชิด จนกลาย​เป็นญาติสนิท​และใกล้ชิดจริง ๆ​

หนึ่ง​ปี​ต่อมา วันดี เดือนเก้า

วันนี้กระบวนขันหมากของสุธรรม​ไปถึงบ้านของเธอ เธอดีใจมาก มีการต้อนรับอย่างดี ​ทั้งขอหมั้น​และ​แต่งในวันเดียวกัน จบม้วนเดียว เสร็จพิธี ต่างไชโยโห่ร้อง กันอย่างสนุกสนาน​ทั้งฝ่ายเจ้าบ่าว​และฝ่ายเจ้าสาว

น้อง ๆ​ ของสุธรรมต่างแสดง​ความยินดี ​และร่วมกันลงขันสร้างเรือนหอให้พี่ชาย ​และพี่สะใภ้ สร้างบ้านเสร็จเรียบร้อย​ต่างฉลองกันอย่างสนุกสนาน ​พร้อมมอบรถกะบะสี่ประตู ​และเงินจำนวนหนึ่ง​ให้พี่ชาย​และพี่สะใภ้​พร้อมอวยพรให้อยู่​ครองเรือนกันตราบนิรันดร

 

F a c t   C a r d
Article ID A-3736 Article's Rate 2 votes
ชื่อเรื่อง พี่ืท่ีแสนดี
ผู้แต่ง เปิดฟ้า ก้องหล้า
ตีพิมพ์เมื่อ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘
ตีพิมพ์ในคอลัมน์ เรื่องสั้น
จำนวนผู้เปิดอ่าน ๙๗ ครั้ง
จำนวนความเห็น ๓ ความเห็น
จำนวนดอกไม้รวม ๑๐
| | | |
เชิญโหวตให้เรตติ้งดอกไม้แก่ข้อเขียนนี้  
R e a d e r ' s   C o m m e n t
ความเห็นที่ ๑ : ศาลานกน้อย [C-19217 ], [000.000.000.000]
เมื่อวันที่ : 23 มิ.ย. 2558, 16.05 น.

ผู้อ่าน​ที่รัก,

นิตยสารรายสะดวก​ ​และผู้เขียนยินดีรับฟัง​ความคิดเห็นต่อข้อเขียนชิ้นนี้
เชิญคลิกแสดง​ความเห็น​ได้​โดยอิสระ ขอขอบคุณ​และรู้สึก​เป็นเกียรติอย่างยิ่ง ในการมี​ส่วนร่วมของท่านในครั้งนี้...​

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๒ : Rotjana Geneva [C-19229 ], [2.162.203.62]
เมื่อวันที่ : 03 ก.ค. 2558, 19.58 น.

น่ารักมากค่ะ​

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๓ : เปิดฟ้า ก้องหล้า [C-19290 ], [171.7.246.67]
เมื่อวันที่ : 01 ต.ค. 2558, 18.09 น.

ขอบคุณ คุณรจนา เจนิวา ท่ีกรุณา​ได้แวะเเข้ามาอ่าน ขออวยพรให้ท่านประสบ​แต่​ความสุข​ความเจริญตลอด​ไป ​และ​เป็นผู้นำแนวหน้าในการเขียนวรรณกรรมของพวกเราตลอด​ไปตราบนานแสนนาน

แจ้งลบข้อความ


สั่งให้ระบบส่งเมลแจ้งการเพิ่มเติมความเห็น
 ศาลานกน้อย พร้อมบริการเสมอ และยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกท่าน  ติดต่อเว็บมาสเตอร์ได้ทางคอลัมน์ คุยกับลุงเปี๊ยก หรือทางอีเมลได้ที่ uncle-piak@noknoi.com  พัฒนาระบบ : ธีรพงษ์ สุทธิวราภิรักษ์  โลโกนกน้อย : สุชา สนิทวงศ์  ภาพดอกไม้ในนกแชท : ณัฐพร บุญประภา  ลิขสิทธิ์งานเขียนในนิตยสารรายสะดวก เป็นของผู้เขียนเรื่องนั้น  ข้อความที่โพสบนเว็บไซต์แห่งนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้โพสทั้งสิ้น