นิตยสารรายสะดวก  Fiction  ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
สวรรค์...ไม่เป็นใจ
เปิดฟ้า ก้องหล้า
...หน้าถ้ำมาลัย ของเย็นวันหนึ่ง​​หลังจาก​​ที่นักเรียนขี่รถจักรยาน​​เป็นแถวผ่าน​​ไปแล้ว​​ วันนั้น​​​​เป็นวันสอบวัดผลปลายปีวันสุดท้าย...
หน้าถ้ำมาลัย ของเย็นวันหนึ่ง​หลังจาก​ที่นักเรียนขี่รถจักรยาน​เป็นแถวผ่าน​ไปแล้ว​ วันนั้น​​เป็นวันสอบวัดผลปลายปีวันสุดท้าย เปรม​กับสาวหนึ่ง​​ซึ่งเรียนอยู่​ชั้นเดียวกัน เธอชื่ออาภรณ์ ​แต่คนละห้องเรียน​ได้นัดกัน​ไปเ​ที่ยวถ้ำมาลัย ​เขา​ได้เดินออกจากถ้ำ​เป็นคู่หลังสุดในกลุ่ม​ที่มาด้วยกัน ​เมื่อออกมาสู่ทุ่งนา เธอข้ามสะพาน​ไป​ที่รถจักรยานของเธอ​ที่จอดไว้ใต้ต้นไม้ เธอจึง​ได้ขี่จักรยานข้ามสะพานตามหลัง​เพื่อน ๆ​ ​ไป ​ส่วนเปรมเดินตามหลังออกมาตามลำพัง ​เพราะเปรมไม่มีรถจักรยาน อาภรณ์ขี่จักรยานผ่านคันนา​ไปตามแนวทางสำหรับคนเดิน​ไปชมถ้ำมาลัย ​ซึ่ง​เป็นถ้ำพบใหม่ปีกว่า ภายในมีทัศนียภาพ​ที่สวยงามมาก ​ความลึก ​ความซับซ้อนของถ้ำ ​และหินย้อย​ที่สวยงาม บาดตาตรึงใจ เธอข้ามทางรถไฟ​โดยมิ​ได้เหลียวดูหลัง

​แต่ละกะบิ้งนา ดินเริ่มแตกระแหง​เพราะอากาศร้อน ในภาคใต้ของประเทศไทยในเดือนมีนาคมนี้ ชาวนา​กำลังเกี่ยวข้าว มัน​เป็นฤดูร้อน ประชาชน​ส่วนมากมีอาชีพทำนาปลูกข้าว ประชาชนยังนิยมปลูกข้าวมากกว่าพันธ์ไม้ชนิดอื่น ๆ​ ​เพราะ​ถ้ามีข้าวอยู่​บนบ้านแล้ว​ ย่อมไม่ขาดแคลนถึงอดอยากปากแห้ง ข้าว​เป็นอาหารหลักของคนในชนบท ในปักษ์ใต้

บางกะบิ้งมีการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว​ ​เมื่อเปรมเดินผ่านมาถึง กะบิ้ง​ที่เก็บเกี่ยวแล้ว​ ทันใดนั้น​เปรมก็เหลือบมองเห็นหญิงสาวคนหนึ่ง​ ในชุดนักเรียนนั่งอยู่​ในในป่าซังข้าวใกล้คันนาประมาณ 3 วา เปรมสันนิษฐานว่าเก็บเกี่ยวเสร็จมาแล้ว​ประมาณ 1 -- 2 วัน ยังหอมซังข้าว ป่าซังล้มไม่หมด ​เพราะผู้เก็บเกี่ยวไม่​สามารถเหยียบซัง​ได้หมด บางครั้งก็เก็บในลักษณะยืนต้นอยู่​ ​คือไม่​ได้ข่มให้ซังล้มแล้ว​เก็บเกี่ยวข้าว การข่มข้าวนั้น​​ใช้ไม้ไผ่ ยาวประมาณ 3 -- 5 วา นำ​ไปเทียบทับ​กับต้นข้าวระยะประมาณ กลางต้นแล้ว​​ใช้แรงคนดันให้ต้นข้าวล้มลง​ไปประมาณ 45 องศา มิให้ล้มราบติดดิน ล้มให้รวงข้าวห้อยไม่ถึงดิน ​ซึ่ง​สามารถ​ใช้มือ​ที่ถือแกะเก็บเกี่ยวข้าวจับคอรวงข้าว​และตัดเก็บ​ได้ ​ถ้าคอรวงข้าวอยู่​ในระดับเดียวกันหลายรวงก็​สามารถรวบ​และตัดเก็บ​ได้ในครั้งเดียว ทำให้การเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น​

เปรมถอยหลังมา​ที่ตรง​กับหญิงสาวนั่งอยู่​ ​ถ้าไม่สังเกตก็ไม่เห็น ​เพราะต้นซังข้าวบังอยู่​ ก็จำ​ได้ว่า​เป็น​ใคร จึงเรียกชื่อเธอ
"ธิดาครับ​"
"...​...​...​...​.."
ไม่มีเสียงขานตอบ​แต่เห็นเธอนั่งก้มหน้าเช็ดน้ำตาอยู่​ เปรมจึงแวะลง​ไปหาเธอ ขอร้องให้เธอยืนเธอก็ไม่ยืน เธอ​ได้​แต่ร้องอย่างเดียว เปรมจึงนั่งลง เธออยู่​ในการอาการร้องไห้ตาแดงแฉะ เธอสะอึกสะอื้น น้ำตาหยดไหลปิ้มว่าปาน​จะขาดใจ

"ธิดา เธอทำอะไร​อยู่​"

"ธิดาทำไมมาอยู่​​ที่นี้คนเดียว"

"ธิดา ​ใครทำให้เธอร้องไห้ ​และเธอร้องไห้ทำไม" เปรมป้อนคำถามจนธิดาเกือบ​จะรับฟังไม่ทัน ธิดายังก้มหน้าร้องไห้สะอึกสะอื้น ​และเปรม​ได้ยินเสียงของเธอดังขึ้น​กว่าเดิม
เปรมนั่งยอง ๆ​ อยู่​ก็ขยับเข้าใกล้เธอ ​พร้อม​เอามือ​ไปจับมือขวาของเธอ

"​ใครทำอะไร​เธอหรือธิดา" เปรมถามอีก

"ออก​ไป ออก​ไป คนใจดำ คนโหดร้าย อย่าจับมือฉันนะ" ​พร้อม ๆ​ กันเธอก็สะบัดมือหลุดจากการจับของเปรม ​โดยมิ​ได้มองหน้าเปรม

" ธิดา โกรธพี่ทำไม โกรธพี่เรื่อง​อะไร​"

"คนใจร้าย อย่าพูดมาก ​ไปให้พ้นหน้า" ธิดาไล่

"พี่ใจร้ายอย่างไรหรือเธอ" เปรมซักด้วย​ความสงสัย

"คนตระบัตรสัตย์ คบไม่​ได้" ธิดาเน้นถึง​ความชั่วร้ายของเปรม

"แล้ว​ทำไม​ต้องมานั่งร้องไห้อยู่​ตรงนี้ด้วยละ"

"ก็คุณ​ไปชอบผู้หญิงอื่นนี่ คุณไม่รักฉัน เหมือน​ที่คุณเขียนบอกวันก่อนนั้น​ ทุก ๆ​ วัน คุณหยอกล้อ ​เอาอก ​เอาใจฉันสารพัด ทำไมจึงทำ​กับฉันอย่างนี้" ธิดาตัดพ้อเชิงตำหนิ

"ก็พี่ไม่ใช่แฟนน้องนี้"

"ทำไมน้องพูดอย่างนี้"

"​เพื่อน ๆ​ ​เขาพูดกัน ​เขาบอกกันว่าธิดา​เป็นแฟน​กับมาตรโน้น"

"ไม่จริง ​ที่ฉัน​ต้องพูดคุยอยู่​​กับ​เขา​เพราะ​เขา​เป็น​เพื่อนของคุณ"

"​ถ้าอย่างนั้น​ พี่ผิดเอง พี่เข้าใจผิดแล้ว​​จะทำอย่างไรดี พี่​ต้องขอโทษด้วย"

เปรมพยายามดึงมือของธิดาให้ยืนขึ้น​ ​แต่ธิดาเธอไม่ยืน เปรมจึง​ใช้มือข้างซ้ายโอบไหลของธิดาแล้ว​​ใช้มือขวาจับแขนขวาของธิดาพยายามดึงให้เธอยืนขึ้น​

"ปล่อยฉันนะ" ธิดาถอย​พร้อมสะบัดร่างอย่างแรง ​และพยายามดึงร่างให้หลุดออกจากการจับเกาะของเปรมในทันที ​เมื่อถอยออกมา ห่างจากเปรมแล้ว​ ธิดาก็นั่งลง​พร้อมซับน้ำตา เช่นเดิม ธิดานึกย้อน​ไปในอดีตขณะ​กำลังเดินอยู่​ในห้องเรียน

ธิดา​เป็นสาวสวยโปร่งบาง ผมลอยคอ​เป็นลอน ดวงตากลมโต ใบหน้ารูปไข่ แก้ม​เป็นพวง รูปทรงสม​ส่วน ​แต่​จะน้อย​ไปหน่อย​ เธอ​เป็นนักเรียนมาจากต่างจังหวัด ​ได้มาเช่าบ้านพักอยู่​​กับ​เพื่อนหญิงอีก 3 คน


วันแรก​ที่เปิดเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปี​ที่ สี่ ​เป็นโรงเรียนเอกชน​ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากจน​ได้รับรองวิทยาฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล วันนั้น​ขณะ​ที่เปรม​กำลังหยอกล้ออยู่​​กับ​เพื่อน ๆ​ ​ซึ่งเรียนผ่านระดับมัธยมศึกษามาด้วยกัน เปรมลื่นล้มถลา​ไปชนทับร่างของธิดา ๆ​ ล้ม​ไปติดหน้าต่าง เปรมนั้น​อยู่​ในอ้อมกอดของธิดา​โดยมิ​ได้ตั้งใจ

เปรมลุกจากตักธิดา​ได้​เพราะ​เพื่อน ๆ​ ช่วยกันดึงเปรมออก​ไป แล้ว​ปล่อยให้เปรมถลา​ไปเกือบชนฝาห้อง ​แต่เปรม​ใช้มือยันไว้​ได้ ทำให้ไหล่​และส้นมือข้างขวาปวดเล็กน้อย
เปรมตั้งหลัก​ได้หมุนตัวกลับ​พร้อมเตะ​เพื่อนอย่างแรง ​แต่​เพื่อน ๆ​ ​ได้ถอยหลบฉากออก​ไปทำให้เปรมหมุนติ้ว​ไปตามแรงเหวี่ยงเท้าของตนเอง ร่างของเปรมกระทบ​กับขอบหน้าต่างอย่างแรง ดังสนั่นหวั่นไหว เปรมหน้าแดงด้วยอาการจุกเจ็บอย่างแรงจนปากเบี้ยว คิ้วขมวดเข้าหากัน ​พร้อม​กับนั่งลง ​ใช้มือจับชายโครงแสดงอาการปวดดิ้นอยู่​ครู่หนึ่ง​

หลังจากนั้น​เปรมสงบเสงี่ยม​ที่สุดด้วย​ความรู้สึกอับอาย​เพื่อน ๆ​ น้อง ๆ​ ​ที่สุด ​เพราะตนทำให้ผู้อื่น​ได้รับ​ความเดือดร้อนเสียใจ ​และตนเองก็เสียใจด้วย ​ได้รับ​ความเดือดร้อนด้วยเช่นกัน

​เพื่อ​เป็นการขออภัยต่อ​ความผิดพลาด เปรมก็พยายามบริการช่วยเหลือธิดา​กับพวกให้​ได้รับ​ความสะดวก​สบายทุกอย่าง เท่า​ที่เปรม​จะทำ​ได้

"เอ้ย เปรม ออก​ไป รับ​ใช้มันทำไม หรือแอบรักมันอยู่​" ​เพื่อนบางคนเย้า

"เปล่าหรอกนะ ​เพราะทำให้เธอ​ต้องเสียใจ อับอาย เจ็บปวด เราจึง​ต้องกระทำ​เป็นการขออภัย​และให้เธอยกโทษให้"

มาตรอีกคนหนึ่ง​​ซึ่ง​เป็น​เพื่อนของเปรม ก็​ได้พยายามช่วยเหลือ​และบริการให้ธิดาเสมอ เช่น การวาดรูปให้ ระบายสีให้ ช่วยยกสิ่งของให้ด้วย​ความเต็มใจ

หลังจากนั้น​ทุกกคนต่างก็​เป็นมิตร​กับธิดา​และ​เพื่อน ๆ​ ต่างพูดจากหยอกล้อกันอย่างสนุกนาน​และสนิทสนมอย่าง​เป็นกันเอง

ใน​ความใกล้ชิดของมาตร เปรม ธิดา ​และ​เพื่อน ๆ​ ในชั้นเรียนเดียวกันก็สนิทสนมกลมเกลียวกันอย่างพี่น้องกัน เว้น​แต่มาตรคนเดียวเท่านั้น​ ​ที่ทุกคนสังเกต​และคิดว่า มาตรชอบพอรัก​ใคร่​กับธิดา ​แต่มาตรชอบพอ​กับ​เพื่อนของธิดาอีกคนหนึ่ง​ ​ซึ่งอยู่​​เป็นภาคภูมิสวยสง่า อาภรณ์ละเมียดละมัย ใจเย็น ฉลาด คมคายทุกคำพูด จึง​เป็น​ที่เกรงขามของ​เพื่อนทุกคน

หลังจากรับประทานอาหารกลางวันเสร็จแล้ว​ บางคนก็​ไปนั่งคุยกันใต้ต้นไม้ บางกลุ่ม​ไปอ่านหนังสือหนังสือในห้องสมุด บางกลุ่ม​ไปตีปิงปองในบริเวณวัด ​ซึ่งทางโรงเรียนตั้งโต๊ะไว้บริการหลังเลิกเรียนในศาลาของวัด​เป็นประจำ

หลายคนกลับขึ้น​มาบนห้อง​เพื่อทำการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส เปรมเองก็มีงานค้างของอาจารย์สังคมศึกษา ​เมื่อทำงานเสร็จก็หันหลัง​ไปคุย​กับธิดา​และ​เพื่อน ๆ​ ​ซึ่งทำงานเสร็จแล้ว​

พูด​ไปพูดมา ก็พูดถึงวิชาภาษาไทย ​ซึ่งอาจารย์​ได้นำตัวอย่างการเขียนกลอนของท่านเอง มาอ่าน ​พร้อมอธิบายวิธีเขียน จำนวนคำ จำนวนวรรค ชื่อวรรค วิธีการสัมผัสของคำคล้องจอง​ทั้งสัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัส​ระหว่างบท ​และการเขียนชิงสัมผัส
"คำสัมผัส​คืออะไร​ ทำไม​ต้องมีคำสัมผัสด้วย"

"คำสัมผัส ​คือคำ​ที่เชื่อมคำให้คล้องจองกัน ด้วยเสียง​ที่คล้าย ๆ​ กัน เช่น บ้าน หวาน กาล ยาน พราน ขวาน ห่าน มาร ท่าน เช่น หมู่บ้าน พรานป่า หาขวาน"
"มันเชื่อมกันอย่างไรคะ​"

"​ถ้าคำแยกกันอยู่​ เราไม่​สามารถจำ​ได้ มันสะเปะสะปะ ​ถ้าเราหาคำมาให้คล้องจองกัน ดุจห่วงเหล็ก ​ที่วางอยู่​​เป็นอิสระ ​ถ้าเราหยิบห่วงใดห่วงหนึ่ง​มันก็ติดขึ้น​มาอันเดียว ​แต่​ถ้าเรา​เอาคล้องให้วงกลมมันติดกัน ​ถ้ายกอันใดอันหนึ่ง​ มันก็​จะติดขึ้น​มา​ทั้งหมด มิใช่หรือ"

"​ถ้าเราทำให้คล้องจองกันด้วยเสียง สระ หรือเสียงพยัญชนะ หรือเสียงตัวสะกด ​จะทำให้คำนั้น​ สัมพันธ์กัน หรือสัมผัสกัน จำ​ได้ง่าย น่าอ่าน ฟังแล้ว​สนุก เช่น หมู่บ้าน พรานป่า หาขวาน รานกิ่ง หิ่งห้อย ลอยล่อง มองเห็น เย็นตา ฟ้าใส ใจสุข ทุกครั้ง นั่งมอง สองคน ฯ พวกเราเห็นไหมว่า คำคล้องจองนี้ทำให้สนุก จำ​ได้ง่าย น่าอ่าน ฯ"

"จ้า เข้าใจแล้ว​ แก้วตาพี่ ​ที่เก่งเรียน เพียรขยัน หมั่นศึกษา หา​ความรู้ ครูชื่นชม สมดังเพียร อ่านเขียนคล่อง ​ต้องยกยอ พอชื่นใจ"

"พอแล้ว​ธิดา ไม่​ต้องมากอย่างนี้หรอก"

"ชิงสัมผัส​เป็นอย่างไร" ​เพื่อนของธิดาถาม

ทุกคนต่างก็ตอบคำถามตาม​ที่ตนเข้าใจ แล้ว​ 3 คน เว้น​แต่ เปรมยังไม่​ได้ตอบ
"ชิงสัมผัส ​คือ คำ​ที่มีเสียงอักษร เสียงสระ เสียงเดียว​กับคำสัมผัสในตำแหน่ง​ที่แบบฉันทลักษณ์กำหนดให้สัมผัส ​ถ้ามีคำ​ที่เสียงเดียว​กับคำ​ที่ส่งสัมผัส ก่อน​จะถึงตำแหน่ง​ที่ฉันทลักษณ์กำหนด ถือว่า​เป็นการชิงสัมผัสเสียก่อน ไม่นิยม​ใช้ในการเขียนคำประพันธ์

"มันชิงอย่างไร ช่วยอธิบายให้ฟังหน่อย​" ​เพื่อนของธิดาอีกคนถาม "ชิงสัมผัส หมายถึง คำสัมผัส​ที่​ไปสัมผัสก่อนถึงตำแหน่ง​ที่ฉันทลักษณ์กำหนดตำแหน่งให้สัมผัส​ได้ เช่น คำสัมผัส​ที่​ไปสัมผัสของคำท้ายคำวรรค​ที่ 3 ​(วรรค รอง) ​ซึ่งส่งมาจากคำสุดท้ายของวรรค​ที่ 2 (วรรค รับ) ​ไปสัมผัส​กับคำสุดท้ายของวรรค​ที่ 3 ​แต่มีคำเสียงสัมผัสเสียงเดียวกัน​ไปปรากฏอยู่​หน้าตำแหน่ง​ที่​เขากำหนดให้สัมผัส คำนั้น​เรียกว่า การชิงสัมผัส ในวงการนักเขียนไม่นิยมสัมผัสแบบนี้ จึงถือว่า​เป็นคำชิงสัมผัส ​คือมีคำสัมผัสซับซ้อนขึ้น​มาก่อนถึงตำแหน่งของมัน เช่น

เธองามเด่น เพ็ญจันทร์ บุหลันล่อง ...​วรรค สดับ

เจ้าเนื้อทอง นางสวรรค์ ชั้นดึงสี ...​วรรค รับ

เธอโสภี เกินหญิง มิ่งนารี ...​วรรค รอง

เจ้าคนดี เด่นสว่าง กลางใจชน" ...​..วรรค ส่ง

ในสี่วรรคนี้ วรรค​ที่หนึ่ง​ ​กับวรรค​ที่ 2 มีสัมผันนอก ​คือคำ ล่อง ​กับ ทอง

​ส่วนวรรค​ที่ สอง วรรค​ที่ สาม ​และวรรค​ที่ สี่ มีสัมผัสนอกชุด​ที่สอง ​คือ สี รี ​และ ดี ​ซึ่ง​เป็นตามปกติทั่ว​ไป ​แต่ ในวรรค​ที่ สาม มีคำว่า "โสภี" อยู่​​ส่วนหน้า ​ซึ่ง "...​ภี" นี้ มาสัมผัสก่อน​จะถึงคำว่า "รี" ​คือ คำ "..ภี" มาแย่ง หรือ ชิงสัมผัสเสียก่อน ตัดหน้า คำว่า "รี" จึงเรียกว่า "..ภี" ​เป็นคำแย่งสัมผัสหรือชิงสัมผัส ​ซึ่งในการประพันธ์นั้น​ไม่นิยมคำสัมผัสประเภทนี้

คำว่า โสภี ..ภี ​คือ คำ​ที่เรียกว่า ชิงผัมผัส คำชิงสัมผัสมี​ได้พอ ๆ​ กันเกือบทุกวรรค"
"หมาย​ความว่าอะไร​"

"ตามธรรมดา คำ สี ​ต้องสัมผัส​กับ คำนารี ​และ คำว่าดี ​แต่พอคำสี ​จะมาถึง คำนารี มีคำโสภีมารออยู่​ก่อนแล้ว​ สี จึง​ต้องสัมผัสหรือคล้องจอง​กับคำ โสภีก่อน ​โดยมิ​ได้มีกำหนดไว้ในหลักเกณฑ์การสัมผัส จึงเรียก คำ โสภี นี้ว่า ชิงสัมผัส ​คือแย่งของผู้อื่น ​คือคำนารี"

" บทประพันธ์บทหนึ่ง​มีกี่วรรค ​แต่ละวรรคมีชื่ออย่างไรบ้าง​"

"บทประพันธ์บทหนึ่ง​มี 4 วรรค ​แต่ละวรรคมีจำนวนคำ ตามชนิดของบทประพันธ์ เช่น กลอนสุภาพ มี 7 - 8 - 9 คำ มีวรรคแรก ชื่อ วรรค สดับ วรรค​ที่สองชื่อ วรรครับ​ วรรค​ที่สามชื่อ วรรครอง วรรค​ที่สี่ชื่อ วรรคส่ง" ธิดาตอบ

"ขอดูตัวอย่างหน่อย​"

ชี

"เดิน​เป็นแถว ขาวโพลน โล้นทุกผู้"

"​ส่วนนี้ วรรคแรก เรียกว่า วรรค สดับ นะครับ​" ธิดาบอก

"แสวงรู้ ​พระธรรม กรรมฐาน"

"​ที่กล่าวมานี้​เป็นวรรค​ที่ 2 เรียกว่า วรรค รับ"ธิดากล่าว

"บวช​เป็นหมู่ สร้างใจ ใฝ่นิพพาน"

"​ส่วนนี้ ​เป็นวรรค​ที่ 3 เรียกว่า วรรค รอง"ธิดาอธิบาย

"​ทั้งชาวบ้าน ราชการ ละงานมา"

"​ส่วนสุดท้าย วรรค​ที่ 4 เรียกว่า วรรค ส่ง"ธิดาบอก


"รวม​ทั้งสี่วรรค​เป็นหนึ่ง​บทดังนี้"

"เดิน​เป็นแถว ขาวโพลน โล้นทุกผู้"

"แสวงรู้ ​พระธรรม กรรมฐาน"

"บวช​เป็นหมู่ สร้างใจ ใฝ่นิพพาน"

"​ทั้งชาวบ้าน ราชการ ละงานมา"

คำ​ที่ขีดเส้นใต้ ​คือคำสัมผัสตามตำแหน่งของแบบแผนการสัมผัสของกลอนสุภาพ

"สำหรับกาพย์ยานี 11 ​จะมีสี่วรรคในหนึ่ง​บท วรรค​ที่ 1 ​และวรรค​ที่ 3 ​ซึ่งอยู่​ข้างหน้า มีจำนวนวรรคละ 5 คำ ​ส่วนวรรค​ที่ 2 ​และวรรค ​ที่ 4 ​ซึ่งอยู่​หลัง มีจำนวนวรรคละ 6 คำ มีการสัมผัสก็คล้าย ๆ​ กัน"

กาพย์ยานี ก็กำหนดคำไว้ ​แต่ละวรรคไม่เท่ากัน เช่น วรรคหน้ามี 5 คำ ​และวรรคหลังมี 6 คำเสมอเหมือนกัน ดังบทประพันธ์​ที่ว่า

"ห้าคำ​เป็นวรรคแรก วรรคสองแจกให้หกคำ
วรรคสามห้าประจำ วรรคสี่นำ หกคำ​ไป
สรุปวรรคอยู่​หน้า มีอัตรา ห้าคำไว้
วรรคหลังหกคำไซร้ ยานีไทยเช่นนี้เอง"

เขียนง่ายใน​แต่ละบทของกาพย์ยานี​เป็นอย่างนี้
วรรค​ที่ 1 มีคำ 5 คำ
วรรค ​ที่ 2 มีคำ 6 คำ
วรรค ​ที่ 3 มีคำ 5 คำ
วรรค ที 4 มีตำ 6 คำ

"ถูก​ต้อง ธิดาจำ​ได้ดีมาก" มาตรตอบ​พร้อมให้​กำลังใจ

"คำสัมผัสมีกี่ชนิด" ธิดาถาม

"3 ชนิด"

"2 ชนิด"

"ถูก​ทั้งสองคน ​คือ คำสัมผัสจริงมี 2 ประเภท ​คือ สัมผัสอักษร​และสัมผัสสระ ​ส่วนสามชนิดนั้น​ ​เป็นการสัมผัสในการเขียนบทประพันธ์จริง มี 3 ชนิด ​เนื่องจากการกำหนด​เอาตำแหน่ง​ที่มีการสัมผัส เช่น 1. สัมผัสใน 2. สัมผัสนอก ​และ 3. สัมผัส​ระหว่างบท" เปรมอธิบาย

" ตำแหน่งสัมผัสของมันอยู่​ตรงไหนบ้างคะ​"ธิดาถามอย่างรีบเร่งด้วย​ความสนใจ​และสงสัย

"สัมผัสใน ​เป็นการสัมผัสภายในวรรค​แต่ละวรรค ปกติบทประพันธ์ 1 บท มี 4 วรรค ดัง​ได้ตอบมาแล้ว​ในตอนต้น ​แต่ละวรรคมีจำนวนคำไม่เท่ากันตามประเภทของคำประพันธ์


"​ถ้า​เป็นกลอนสุภาพมีคำจำนวน 8 คำ ​จะสัมผัสอย่างไร"

"ปกติกลอนสุภาพ​ถ้า​ใช้วรรค 8 คำ​จะแบ่งวรรคภายใน ในการอ่าน​เป็นจังหวะลีลา​ที่สวยงาม ​คือ สามคำ สองคำ ​และ สามคำ รวม​เป็น แปดคำ เช่น
" ร้อยหมื่นแสน เสกสรร ปั้นด้วยรัก " เปรมหยุดถอนใจแล้ว​ยิ้มนิด ๆ​ " คำ​ที่สาม สัมผัส​กับคำ​ที่ สี่ ​และคำ​ที่ห้า สัมผัส​กับคำ​ที่ หก ​คือ คำสัมผัสแรก แสน ​และ เสก ​ส่วนคำ สรร สัมผัส​กับ ปั้น สังเกตคำ​ที่มีอักษรหนานะครับ​"

กรุณาสังเกตคำสัมผัสจากบทประพันธ์ต่อ​ไปนี้

"ร้อยหมื่นแสน เสกสรร ปั้นด้วยรัก"
"โลกประจักษ์ ในสังคม สมใจฝัน"
"ยังสอดส่อง ทุกก้าว คราวจากกัน"
"สมใจมั่น ฝันของครู คู่โลกา"

"ยังยึดมั่น แบบอย่าง ทางชีวิต"
"ครูลิขิต ศิษย์ก้าว พราวเวหา"
"ศิษย์สมหวัง เคารพ นพบูชา"
"ซับน้ำตา ​พระคุณครู กู่ก้องใจ"

สัมผัสนอก​คือ คำสัมผัส​ระหว่างวรรค​ทั้งสี่วรรค ภายในหนึ่ง​บท ​คือวรรค​ที่ หนึ่ง​ หรือวรรคสดับ หรือ บางคนเรียกวรรคสลับ คำสุดท้ายของวรรคนี้​ไปสัมผัสคำ​ที่ 3 หรือคำ​ที่ 5 ของวรรค​ที่ 2 หรือเรียกว่า วรรครับ​ คำสุดท้ายของวรรค​ที่สอง (วรรครับ​)​ไปสัมผัส​กับคำสุดท้ายของวรรค​ที่ 3 (วรรครอง) ​และคำสุดท้ายของวรรครอง​ไปสัมผัส​กับคำ​ที่ 3 หรือคำ​ที่ 5 ของวรรคสุดท้ายในบท ​คือวรรคส่ง"

"มีตัวอย่างให้ดูไหม​เพื่อน"

"มีจ้า นำมาจากหนังสือ ​พระอภัยมณี​เป็นประดิษฐกรรมอักษรศิลป์ของสุนทรภู่ ครูกวีผู้ยิ่ง เรื่อง​​พระอภัยมณีนี้​เป็นวรรณกรรมระดับโลก ​โดยมียูเนสโก ให้การรับรอง ดังนี้

แล้ว​สอนว่า อย่าไว้ ใจมนุษย์

- วรรค​ที่ 1 ววรค เรียกว่า วรรค "สดับ"

อันแสนสุด ลึกล้ำ เหลือกำหนด

- วรรค​ที่ 2 เรียกว่า วรรค "รับ"
-
ถึงเถาวัลย์ พันเกี่ยว ​ที่เลี้ยวลด

- วรรค​ที่ 3 เรียกว่า วรรค "รอง"

ก็ไม่คด เหมือนหนึ่ง​ใน น้ำใจคน


- วรรค​ที่ 4 เรียกว่า วรรค "ส่ง"

"รวม​ทั้งสี่วรรค​เป็นหนึ่ง​บทดังนี้"

แล้ว​สอนว่า อย่าไว้ ใจมนุษย์

อันแสนสุด ลึกล้ำ เหลือกำหนด

ถึงเถาวัลย์ พันเกี่ยว ​ที่เลี้ยวลด

ก็ไม่คด เหมือนหนึ่ง​ใน น้ำใจคน

คำสัมผัสนอกจากบทประพันธ์ตัวอย่าง ของสุนทรภู่ เรื่อง​​พระอภัยมณี มีสัมผัสนอก 2 กลุ่ม

กลุ่ม​ที่ 1 คำ มนุษย์ ​กับ คำ สุด

กลุ่ม​ที่ 2 คำ หนด ​กับ ลด ​และ คด

"พวกเราถามคำสัมผัสนอก สัมผัสในกันแล้ว​ คำสัมผัสอักษร คำสัมผัสสระ​ซึ่ง​เป็น​ส่วนสำคัญนั้น​เข้าใจ​ที่ท่านอาจารย์อธิบายดีแล้ว​ใช่ไหม"

"ยังค่ะ​ ช่วยบอกหน่อย​พวกเรา​จะ​ได้ทบทวน​และเข้าใจ​ได้ดียิ่งขึ้น​"

"มันข้ามขั้นตอน ​ที่จริง เราควรทราบ​และรู้จัก​กับคำสัมผัสประเภทนี้ก่อน​ที่​จะรู้จักสัมผัสนอก สัมผัสใน ไม่​เป็นไรพวกเราคง​จะเข้าใจ​ได้ ไม่สับสนนะ"

"รับรองจ้า ไม่สับสน"

"สัมผัสอักษร หมายถึงคำ​ที่มีอักษรเสียงเดียวกัน สระเดียวกัน​จะต่างสระก็​ได้ ตัวสะกดเหมือนกันหรือต่างกันก็​ได้ ยกตัวอย่างคำ​ที่เราคุ้นเคยกันอยู่​ เช่น"

" โรงเรียนราษฎร์ เราร้าย รกรุงรัง" มาตร

"เด็กดำเดิน ดั้นด้น ดลเดียวดาย"

"เด็กคนนั้น​ เด็กดี เด็ก​ที่รัก"

"แล้ว​คำสัมผัสสระมันต่างกันคำสัมผัสอักษรอย่างไร" มาตรถาม


"คำสัมผัสอักษรนั้น​​ใช้อักษรล้วน สำหรับคำสัมผัสสระ​ใช้เสียงสระ​เป็นแก่นในการจับคู่สัมผัส หรือคำ​ที่มีตัวสะกดเสียงเดียวกัน สระเดียวกัน พยัญชนะต้นต่างกัน เสียงคำสัมผัสสระดังนี้"

"​ได้พบน้อง มองเห็น เช่นนางฟ้า"

" ผิวผ่องพรรณ โสภา นางฟ้าสวย"



คำน้อง สัมผัส​กับคำ มอง ​และ

คำ ...​ภา สัมผัส​กับคำ ฟ้า ​เป็นคำสัมผัสสระ

" หรือ คำ รุ่งเรือง เขียนต่อสัมผัสด้วย กลางเมือง ครบเครื่อง แค้นเ​คือง ต่อ​เนื่อง สิ้นเปลือง สีเหลือง "

คำสัมผัสสระอีกแบบหนึ่ง​

" ปลา หา หลา หยา หวา ข้า ช้า ฯลฯ"

"คำสัมผัสสระอีกประเภทหนึ่ง​ มีตัวสะกด เช่น

"จิต คิด สิทธิ์ วิทย์ นิตย์ มิตร ผิด ปลิด ฯลฯ"

"อยากเห็นตัวอย่าง​ที่​เป็นบทประพันธ์สำเร็จรูปแล้ว​"

"​ได้ จ้า ดั่งตัวอย่างต่อ​ไปนี้

"ย่างแผ่วเบา ดุจสำลี ​ที่ตก พื้น" มาตรกล่าวขึ้น​มาลอย ๆ​

"ยาม​ที่ ยืน น่าขาม งามดุจเสือ" ธิดาก็กล่าวเสริมทันที

"รวดเร็วปาน งูฉก นรกเจือ" เปรมร่วมสนุกด้วย

"ตะครุบเหยื่อ ดุจฟ้า ผ่าลงดิน" มาตรปิดท้าย

มาตร วรรคสดับ สัมผัสในมี ลี ​กับ ​ที่...​

ธิดา วรรครับ​ สัมผัสในมี ขาม ​กับ งาม

เปรม วรรครอง สัมผัสในมี ฉก ​กับ นรก

มาตร วรรคส่ง สัมผัสใน มี ฟ้า ​กับ ผ่า

สัมผัสนอก มี 2 กลุ่ม ๆ​อะไร​บ้าง

เปรม กลุ่ม​ที่ 1 พื้น ​กับ ยืน

ธิดา กลุ่ม​ที่ 2 เสือ , เจือ ​และ เหยื่อ

"นอกจากมีสัมผัสกลุ่มใหญ่ ​คือ สัมผัสอักษร ​และสัมผัสสระแล้ว​ มีสัมผัสย่อย ในการเขียน ​คือ สัมผัสใน สัมผัสนอก ยังมีสัมผัสอะไร​อีกไหม"

"ยังมีสัมผัสอีกชนิดหนึ่ง​ ​เป็นการสัมผัสเชื่อม​ระหว่างบทแรก ​กับบทต่อ ๆ​ ​ไป จนจบเรื่อง​ เหมือน​กับสายระโยงการเชื่อมเรื่อพ่วงลาก​เป็นแถว ให้บทประพันธ์ หนึ่ง​บท ​สามารถเชื่อม​กับอีกบทหนึ่ง​ ​และบทอื่น ๆ​ ต่อ​ไปอีก เทียบ​กับเรือหนึ่ง​ลำ ​ใช้เชือกผูก​กับเรืออีกลำหนึ่ง​​และลำต่อ​ไป เช่น เรือพ่วง คำเชื่อม​ระหว่างบท เปรียบเหมือนเชือก​ที่ผูกลากเรือ​เป็นแถวนั้น​แหละ​"

"สัมผัส​ระหว่างบท ​คือเชื่อมคำสุดท้ายของบท​ที่หนึ่ง​ ​กับคำสุดท้ายของวรรค​ที่สอง ในบทถัด​ไป ตัวอย่างจาก "ของสองฝั่ง" ของ "นายผี" หรือ อัศนี พลจันทร์

ตลิ่งของสอง สองข้าง ทางน้ำของ

​แม้ยืนมอง ดูยัง คอตั้งบ่า

​เขาหาบน้ำ ตามขั้น บันไดมา

​แต่ตืนท่า ลื่นลู่ ดังถูเตียน

เหงื่อ​ที่กาย ไหลโลม ลงโซมร่าง

​แต่ละย่าง ตีนยัน สั่นถึงเศียร

อัน​ความทุกข์ มากมาย​ หลายเล่มเกวียน

ก็วนเวียน อยุ่​กับของ สองฝั่ง

คำสัมผัส​ระหว่างบท​ที่ 1 ​กับบท​ที่ 2

ธิดา "เตียน"

มาตร "เศียร"

"คำเหล่านั้น​มี​ที่มาอย่างไร"

คำว่า "เตียน" ​เป็นคำสุดท้ายของวรรค​ที่ 4 ในบท​ที่ 1

"เศียร" ​เป็นคำสุดท้ายของวรรค​ที่ 2 ในบท​ที่ 2

"เรา​จะเขียนกลอนสุภาพให้ไพเราะน่าฟัง น่าอ่านเขียน​ได้อย่างไร"

เรา​สามารถเขียนให้คำมี​ความหมายทำให้เห็นภาพชัดเจน ​และน้ำหนักคำถูก​ต้องตามตำแหน่งของเสียง​ที่กำหนดให้ ดังนี้

1. คำสุดท้ายของวรรคสดับ (วรรค​ที่ 1) ​เป็นเสียงวรรณยุกต์ เอก โท ตรี จัตวา ยกเว้นเสียงสามัญ
2. คำสุดท้ายของวรรครับ​ (วรรค​ที่ 2) ​เป็นเสียงจัตวา หรือ เอก โท ​ได้ ยกเว้นเสียงสามัญ

3. คำสุดท้ายของวรรครอง (วรรค​ที่ 3) ​เป็นเสียงสามัญ ไม่นิยมเสียงจัตวา ​และวรรณยุกต์อื่น

4. คำสุดท้ายของวรรคส่ง (วรรค​ที่ 4) ​เป็นเสียงสามัญ ไม่นิยมจัตวา ​และเสียงวรรณยุกต์อื่น

"แล้ว​เสียงจัตวา นอกจากคำ ป๋า จ๋า ฯ จำนำมาจากไหนอีก มีบ้างไหม"
"มี"

1. คำ​ที่​เป็นพยัญชนะอักษรสูงผสม​กับสระ ไม่มีวรรณยุกต์ ​จะมีตัวสะกดหรือไม่ก็​ได้ เช่น หา ฝา ผา สาว ขาว สม สวย เขียว ขวด สาม เสริม สด แสน โฉบ โหด หาย หาบ หอย หอม เหิม หงส์ หอก ฯลฯ

2. คำ​ที่​เป็นเสียง ห นำ ​และ เช่น เหมือน หมาย หนู หนอน แหนม หลอน หลอด หวาน หยาม หย่อม ไหม ไหน ไหล หวาย หลาย เหลือ หลวง ฯลฯ

3. คำ อักษรนำ เช่น แสวง สนาม ขนุน สมุน ถนอม สวาย สลาย สยบ ขยาด สมุด แถลง แขยง ฯลฯ

"มีตัวอย่างให้ดูบ้างไหม"

"มีครับ​ ตัวอย่างจากเรื่อง​ ครูขา ของเฉลิม ชูสง จากลำนำเพลงรัตติกาล ​และ ณ แห่งนี้​ที่พักใจ​ใครคนหนึ่ง​ มีตัวอย่างดังนี้ "

คุณครูขา ปวดท้อง หนูร้องไห้ - เสียง เอก โท ตรี
จัตวา ยกเว้น เสียง
สามัญ
หนูไม่​ได้ ทานปลา ​ทั้งอาหาร - เสียงจัตวา ไม่นิยม
เสียงอื่น
แม่กรีดยาง ก่อนรุ่ง มุ่งมีทาน - เสียงสามัญ ยกเว้น
เสียงจัตวา​และเสียงอื่น
หมดข้าวสาร แม่หมาย กรีดขายยาง - เสียงสามัญ ยกเว้น
เสียงจัตวา ​และเสียงอื่น

"เออ ทำให้ตาสว่างขึ้น​เยอะ ​ถ้าวิชาอื่น ๆ​ เรา​ได้มีเวลานั่งพูดคุยกันอย่างนี้ คง​จะทำให้พวกเราแตกฉาน​และเข้าใจเนื้อหาวิชา ​และปัญหาต่าง ๆ​ ​ได้ดีขึ้น​ ผลการเรียนก็​จะดีขึ้น​"
​ถ้าเราทบทวนคำ​ที่อาจารย์สอนภาษาไทยอธิบายก่อนพัก​ได้แล้ว​ ยังมีเวลาเหลืออยู่​บ้าง เรามาลองเขียนกันดีกว่า เขียนเสร็จแล้ว​​จะ​ได้นำของ​แต่ละคนมาอ่าน​ได้ฟังกันประดับ​ความรู้ ​และเสริม​ความเข้าใจในการเขียนบทประพันธ์ ถึงชั่วโมงเรียนภาษาไทยเรา​จะ​ได้เสนออาจารย์ผู้สอนด้วย"

"ตกลง ลงมือเขียน​ได้เลย​"

เวลาผ่าน​ไปพอสมควร นักเรียนทุกคนต่างเขียนผลงานของตนจนเสร็จ ธิดา​เป็นผู้ตัดสินใจว่าของผู้ใดดีมากหรือมาก​ที่สุด ​พร้อม​กับสมาชิกคนอื่น ๆ​ ​จะ​ได้ช่วยกันวิจารณ์ สนับสนุนด้วย

อ่านคน​ที่ 1 - 4 ธิดา​และคณะมี​ความเห็นตรงกันว่าพอ​ใช้ พอถึงใบของเปรมธิดาขออ่านเอง ธิดาเริ่มอ่านดังนี้


"​ใครคนหนึ่ง​ ตรึงอยู่​ใน หทัยฉัน

​ใครคนนั้น​ เด่นดี ไม่มีสอง

​ใครคนหนึ่ง​ คนนั้น​ ​ที่ฉันปอง

​ใคร​คือ​เขา ​ที่เรียกร้อง อยากครองใจ"

อ่านจบ​เพื่อน ๆ​ ในห้องเรียน​และพวกเราร่วม​กับปรบมือดังสนั่นหวั่นไหว ทำให้​เพื่อน ๆ​ กล่าว​พร้อม ๆ​ กัน​โดยมิ​ได้นัดหมายกันมาก่อนว่า "ยอดเยี่ยม" ​และ "ขอเยนให้คนอ่านด้วยคำว่า ดี​ที่สุด ดี​ที่สุด"​โดย​พร้อม ๆ​ กันทุกคน​และดังด้วย

"ออด ๆ​ ๆ​ ๆ​ !"

เสียงออดสัญญาณเตือนเข้าแถวดังขึ้น​ นักเรียนทุกคนกระวีกระวาดเก็บดับหนังสือบนโต๊ะ​และขยะต่าง ๆ​ ให้เข้า​ที่เข้าทาง ทุกคนมุ่ง​ไปยังสถาน​ที่รับผิดชอบในการรักษาบริเวณทำ​ความสะอาด ทำเรียบร้อย​แล้ว​ ล้างมือ ล้างหน้า เช็ดหน้า หวีผม แล้ว​ทยอยกัน​ไปเข้าแถวหน้าชั้นเรียนของตน ​โดยมีอาจารย์ประจำชั้น คอยดูแลให้คำปรึกษา ​และเตรียม​พร้อม​ที่​จะเรียนวิชา ในชั่วโมงต่อ​ไป

ธิดา​และเปรมต่างช่วยเหลือเอื้ออาทรต่อกัน ​ทั้งสองมิเคยมองสายตาประสานกันเลย​ ​ความจริงใจ ​และ​ความผูกพันสร้างรอยประทับใจลงใจของ​ทั้งสองอย่างหนักแน่น ด้วย​ความสุภาพ อ่อนโยนของเปรม บางครั้งทำอะไร​ผิดพลาด​ไป ธิดาก็อภัยให้เสมอ

บริเวณถ้ำมาลัยใกล้​จะค่ำ อาภรณ์ ขี่จักรยานจากใต้ต้นไม้ ใกล้สะพานฝั่งตรงข้ามจนลับโค้งข้ามทางรถไฟ​ไปนานแล้ว​

"กลับบ้านเถอะนะธิดา อย่ามานั่งอยู่​นี้เลย​ ​ที่นี้มันเปลี่ยว​และจวน​จะค่ำแล้ว​อันตราย กลับ​ไปบ้านกันเถอะ"เปรมออก​ความเห็น​พร้อมยื่นมือขวา​ไปจับมือของธิดา
"อย่านะ เธอคนใจร้าย คนหลายใจ"

"ธิดาเธอเข้าใจอะไร​ผิด​ไปแล้ว​ ฉัน​จะพูดให้ฟัง"เปรมพยายามแก้ตัว​และจับแขนสองข้างด้านหน้า หันหน้าเข้าหากัน ธิดาจึงผลักเปรมอย่างแรง เปรมล้มลงหัว​ไปกระแทกคันนา แง่หินบาด​เป็นแผลข้างกกหูเลือดไหล ​แต่ธิดามิ​ได้สนใจ

ธิดาเจ็บปวดนัก เจ็บปวดกว่าเปรมหลายเท่านัก ​เมื่อวันลอยกระทง​ที่ผ่านมา เปรม​ได้รู้จัก​กับนักเรียนต่างห้อง คณะอักษรศาสตร์ด้วยกัน เธอ​เป็นผู้หญิง​ที่สวยงาม หน้าตาดี ตระกูลผู้ดี ทำให้เปรมห่างเหินจากธิดา ​และติดพัน​กับเธอผู้นั้น​ จนวันนี้​ได้นัดกันมาเ​ที่ยว​ที่ถ้ำมาลัยนี้ ​ซึ่ง​เป็นวันสอบสุดท้ายของปลายภาคปีการศึกษานี้

ขณะนั้น​​เพื่อนของธิดากลุ่มหนึ่ง​​ได้สังเกตเหตุการณ์อยู่​ห่าง ไม่ต่ำกว่า 10 คน ​ทั้งผู้หญิง​และผู้ชาย เปรม​เป็นคน​ที่ไม่มีคารมในการพูด เปรมพูดตรง ซื่อ ​ซึ่งยากแก่การแก้ปัญหา ธิดาจึงลุกขึ้น​ยืน​และเดิน​ไปตามคันนา​เพื่อ​ไปให้พ้น​และ​ต้องการให้เปรมติดตาม​ไปคืนดี เธอวิ่งจากคันนาผ่านสะพานไม้ บาง ๆ​ จำนวน 2 แผ่น​ที่ทอดข้ามสะพานมีราวไม้ไผ่ ​ไป​ได้อย่างปลอดภัย ​เมื่อธิดาวิ่งผ่านสะพาน​ไปเปรมก็วิ่งตาม​ไปห่าง ๆ​ ด้วยแรงกระแทกจากน้ำหนักตัวของเปรม​ที่วิ่งทำให้แผ่นสะพานหักหล่นลงในคลอง เปรมจับราวสำหรับจับเดินข้ามสะพาน​ได้ ​แต่ราวต้านน้ำหนักของเปรมไม่ไหว หักอีก เปรมก็ร่วงลงในน้ำ "ตูม" น้ำกระเด็นกระจายสี่สิบห้าองศา​เป็นวงกว้าง ถึงสองฝั่งคลอง ​เมื่อเสียงเงียบสงบลง

​เพื่อน ๆ​ ของธิดา​ซึ่งซ่อนอยู่​ก็ออกมาจาก​ที่ซ่อน วิ่งกรูกันมา​ที่สะพาน ปรากฏว่าทุกคนเห็นเลือดแดงฉานกระจายออกจนเต็มคลอง เห็นร่างของเปรมกระตุกเล็กน้อย​และสงบนิ่งใน​ที่สุด มีไม้กลมแหลมอันหนึ่ง​โผล่ขึ้น​มาเหนือน้ำจากร่างของเปรม

ขณะนั้น​มีตำรวจสองคน​กำลังเดินทางมาสังเกตการณ์ ​เพื่อทำหน้า​ที่พิทักษ์รักษา​ความปลอดภัยให้​กับประชาชนทั่ว​ไป ​กับ​เพื่อนบ้านอีก 2 คน ณ ถ้ำมาลัยแห่งนี้ ก็​ได้เห็นเหตุการณ์​โดยตลอด​และ​ได้วอฯให้ทางเจ้าหน้า​ที่​ไปพิสูจน์พลิกศพ ​และถามปากคำตามธรรมเนียม ​ซึ่ง​เป็นอุบัติเหตุมิใช่​เป็นการฆาตกรรม​แต่ประการใด ธิดาร้องไห้แทบ​จะ​เป็นสายเลือด

 

F a c t   C a r d
Article ID A-3672 Article's Rate 0 votes
ชื่อเรื่อง สวรรค์...ไม่เป็นใจ
ผู้แต่ง เปิดฟ้า ก้องหล้า
ตีพิมพ์เมื่อ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ตีพิมพ์ในคอลัมน์ เรื่องสั้น
จำนวนผู้เปิดอ่าน ๗๖ ครั้ง
จำนวนความเห็น ๑ ความเห็น
จำนวนดอกไม้รวม
| | | |
เชิญโหวตให้เรตติ้งดอกไม้แก่ข้อเขียนนี้  
R e a d e r ' s   C o m m e n t
ความเห็นที่ ๑ : ศาลานกน้อย [C-19136 ], [000.000.000.000]
เมื่อวันที่ : 28 พ.ค. 2558, 10.56 น.

ผู้อ่าน​ที่รัก,

นิตยสารรายสะดวก​ ​และผู้เขียนยินดีรับฟัง​ความคิดเห็นต่อข้อเขียนชิ้นนี้
เชิญคลิกแสดง​ความเห็น​ได้​โดยอิสระ ขอขอบคุณ​และรู้สึก​เป็นเกียรติอย่างยิ่ง ในการมี​ส่วนร่วมของท่านในครั้งนี้...​

แจ้งลบข้อความ


สั่งให้ระบบส่งเมลแจ้งการเพิ่มเติมความเห็น
 ศาลานกน้อย พร้อมบริการเสมอ และยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกท่าน  ติดต่อเว็บมาสเตอร์ได้ทางคอลัมน์ คุยกับลุงเปี๊ยก หรือทางอีเมลได้ที่ uncle-piak@noknoi.com  พัฒนาระบบ : ธีรพงษ์ สุทธิวราภิรักษ์  โลโกนกน้อย : สุชา สนิทวงศ์  ภาพดอกไม้ในนกแชท : ณัฐพร บุญประภา  ลิขสิทธิ์งานเขียนในนิตยสารรายสะดวก เป็นของผู้เขียนเรื่องนั้น  ข้อความที่โพสบนเว็บไซต์แห่งนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้โพสทั้งสิ้น