นิตยสารรายสะดวก  Fiction  ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
...ตอนเย็นของวันเสาร์ หลังจาก​​ที่เสรี​​ได้นำปิ่นโต​​ไปส่งคืนให้ทางบ้านผู้ใจบุญ ​​ซึ่งจัดปิ่นโตนำอาหารถวาย​​พระทุกวันแล้ว​​ หลังจากรับประทานอาหารเย็น ​​เมื่อกลับมาถึงวัด...
ตอนเย็นของวันเสาร์ หลังจาก​ที่เสรี​ได้นำปิ่นโต​ไปส่งคืนให้ทางบ้านผู้ใจบุญ ​ซึ่งจัดปิ่นโตนำอาหารถวาย​พระทุกวันแล้ว​ หลังจากรับประทานอาหารเย็น ​เมื่อกลับมาถึงวัดทุกครั้งเรา​จะพักผ่อน จนถึง 18 นาฬิกา ​คือเครื่องไฟฟ้าของเทศบาลติดเครื่องมีไฟฟ้าตามสว่างแนวถนน ​แม้​จะยังไม่ค่ำก็ตาม ​เพื่อช่วยให้ถนนสว่าง ให้​ความปลอดภัยแก่ผู้สัญจร​และรถทุกชนิด​และป้องกันอาชญากร

เสรี​ได้ผ่านการฝึกกระโดดสูงจากครูพละมาตอนบ่ายวันนี้ ​ซึ่งทางโรงเรียน​ที่เสรีเรียนนั้น​ ​เป็นโรงเรียนของเอกชน​ซึ่ง​ได้รับรองวิทยาฐานะเทียบเท่าโรงเรียนของรัฐบาล ​ใช้ลานวัด​เป็นสนามกีฬา​ส่วนหนึ่ง​ด้วย ครูยังมิ​ได้เก็บอุปกรณ์การฝึก ​ซึ่งมีเจตนาตั้งไว้ให้นักเรียนใกล้ ​ได้ฝึกหลังเลิกเรียนหรือวันปิด ​ถ้ามีเวลาว่างหรือมีโอกาส

เสรี​กับ​เพื่อน ๆ​ ก็​ได้ฝึกกระโดดกันอย่างสนุกสนาน ทันที​ที่ไฟฟ้าติดสว่างตามเสาแนวถนน แสดงว่า 18 นาฬิกา เด็กวัดจากเขตกลางทุกคน ภายใต้การปกครอง​และรับผิดชอบของ​พระครูอุทัยธรรมนาถ ​จะ​ต้อง​ไปอาบน้ำ ​และรีบกลับ​ไป​พร้อมกันบนศาลาโรงฉัน 2 ชั้น ​เพื่อสวดมนต์เย็นประจำวัน ณ ชั้นสอง ชั้นล่าง​เป็น​ที่อ่านหนังสือ

ทันที​ที่แสงไฟฟ้าแนวถนนสว่างขึ้น​ ​โดยอัตโนมัติ เด็กวัดกุฏิกลางทุกคนต่างเลิกกิจกรรมต่าง ๆ​ ​ทั้งหมด ต่างกุลีกุจอมุ่ง​ไปอาบน้ำคลอง ​พร้อมด้วยสบู่ แปรงสีฟัน ผมสระหัว ผ้าเข็ดตัว ผ้าผลัด​ซึ่ง​ได้เตรียมไว้แล้ว​ เสรีก็เช่นกันก่อน​จะผละ​ไปอาบน้ำ ขอกระโดดสูงอีกสักครั้งก่อนแล้ว​จึง​ไปอาบน้ำ

เสรีเร่ง​ความเร็วเต็ม​ที่ กระโดดข้ามเส้นผ่าน​ไปเพียงเท้าเดียว อีกเท้าหนึ่ง​ติดราวไม้ไผ่คานสำหรับบอกระยะ​ความสูง​ไปด้วย ทำให้การลงพื้น​ต้องเปลี่ยนทิศทาง ทำให้ข้อเท้าพลิกเคล็ด ลุกขึ้น​​จะเดินมันเจ็บเต็มทนปานชีวิต​จะปลิดปลด ศีรษะมึนงง ปวดจุก แน่นในอก ตาลาย เวียนศีรษะ จึงนั่งหลับตาประมาณ 2 -- 3 นาที อาการมึนงง​และตาลายก็หาย​ไป

ขณะนั้น​มีเด็กวัดกลุ่มหนึ่ง​​ซึ่งอยู่​บริเวณกุฏิ​ที่พัก​ได้ผ่านมา​เพื่อ​ไปอาบน้ำคลอง เห็นเสรีอยู่​ใกล้​กับอุปกรณ์กระโดดสูง จึงแวะเข้ามาถาม ​เขารู้ว่าเสรีปวดข้อเท้าจึงช่วยกันประคองมือ​ทั้งสองข้างให้ลุกขึ้น​พาเดิน​ไปคลอง เดินด้วยเท้าเดียวอีกเท้าวางลงพื้นไม่​ได้​เพราะมันปวด ถึงคลอง​เพื่อน ๆ​ ช่วยกันเปลี่ยนผ้าให้ พาลงน้ำช่วยถูตัวถูสบู่สาดน้ำล้างจนสะอาดแล้ว​ เปลี่ยนผ้าให้​และช่วยกันนำมา​ที่โรงฉันเข้าร่วมพิธีสวดมนต์เย็น

สวดมนต์เสร็จ ​เพื่อน ๆ​ ก็นำลง​ไปชั้นล่าง ให้เสรีนั่งบนโต๊ะอ่านหนังสือ จนถึงเวลา 20.00น. ท่าน​พระครูอุทัยฯ ​ได้อนุญาตให้กลับ​ไปพัก​ที่กุฏิของตน ​จะนอนหรือเรียนต่อ​เป็นสิทธิของนักเรียน ท่าน​พระครูอุทัยฯ ​จะเดินมาตรวจดู​ความเรียบร้อย​​เป็นระยะ

ท่าน​พระครูทราบจึงเรียกรถสามล้อให้นำเสรี​ไปหาหมอ​ที่โรงพยาบาล ​โดยท่าน​พระครูอุทัยให้​เพื่อน​ไปด้วยคนหนึ่ง​​พร้อม​ได้มอบเงินสำหรับค่ารักษาพยาบาลให้​ไปด้วยด้วย เจ้าหน้า​ที่พยาบาลนำเสรีนั่งบนรถเข็นนั่งนำเข้าห้องตรวจ นายแพทย์​ได้ตรวจ​และให้ยาทานแก้ปวดแล้ว​ให้กลับวัด

คืนนี้เสรี​สามารถเขย่งเบาๆ​ ​เพื่อเดินกลับ​ไปกุฏิ​ซึ่งมีระยะเพียง 15 เมตรกว่า ​เพื่อนเห็นแล้ว​ต่างนึกสงสารหรือทุเรศก็ไม่แน่ใจนัก ​เขาจึงช่วยกันพยุงให้เสรีถึงกุฏิ​และช่วยกันหามขึ้น​บนกุฏิวางเสรีลงบนเตียงนอน " ขอบใจ​เพื่อน ๆ​ ​และขอบคุณรุ่นพี่ ๆ​ มาก ที​ได้ช่วยเหลือ"​ได้มีการพูดคุยหยอกล้อเฮฮากันพอสมควรแล้ว​ต่างคนต่างกลับ​ไป​ที่กุฏิของตน

ปกติเสรี​จะนอนหลับในเวลานี้สมอ ตื่นทำการบ้าน อ่านหนังสือตอนใกล้รุ่ง คืนนี้ก็นอนก่อน หลังจาก​ที่​เพื่อน​ไปหมดแล้ว​

" พา...​ พรุ่งนี้ช่วยยกปิ่นโตแทนเราด้วยนะ คง​จะ​ไปไม่ไหว"

" ​ได้​เพื่อน สบายมาก ​ไปละ ราตรีสวัสดิ์"

" ขอบใจมาก"

เสรีเอนกายลงบนหมอน เท้ายังเจ็บ ​เขาพยายาม​จะข่มตาหลับ ​เขาพยายามสักเท่าไรก็ไม่​สามารถหลับ​ได้ น้ำตาไหลด้วย​ความเจ็บปวด

​เมื่อเท้าอยู่​นิ่ง​กับ​ที่ เพียงชั่วครู่หนึ่ง​ ​ความเจ็บปวดก็ทุเลา​ไปบ้าง จน​สามารถหลับ​ได้
​เขาตื่นขึ้น​มาอีกครั้ง นาฬิกาบอกเวลาเท่าไรนั้น​ไม่​สามารถบอก​ได้ ​เพราะไม่มีนาฬิกาอยู่​ในกุฏิ ​ระหว่างชั่วโมงไม่มีการตีสัญญาณบอกเวลาของยามเทศบาลหลังวัด ​และของหน่วยดับเพลิง​ซึ่งอยู่​ทางทิศตะวันออกของวัดไม่ไกลนัก

​เมื่อถึงเวลาตำรวจดับเพลิง ​และเจ้าพนักงานเทศบาลแผนก รปภ.​จะตีระฆังบอกเวลา​และเปลี่ยนเวรยาม ​ซึ่งทำด้วยโลหะกระด้งล้อรถยนต์ นำมาแขวนไว้​กับเสาไฟฟ้าบ้าง เสาศาลาบ้าง ตีบอกสัญญาณ บอกเวลาให้แก่ชุมชนใกล้เคียง บางแห่ง​เป็น​ที่เปล่าเปลี่ยว ​สามารถป้องกันพวกขโมย​ได้ บ้างเหมือนกัน

ตื่นขึ้น​มา​ความเจ็บมันรุนแรงขึ้น​ หลังเท้าบวมนูนขึ้น​มา สุดทรมาน เสรีนั่งกระสับกระส่าย กระวนกระวายอยู่​ตลอดเวลา จนกระ​ทั้ง 24 นาฬิกา จากนั้น​เสรีนอนไม่หลับ เท้าเจ็บ สุดปวดนัก

ก่อนนอน​เพื่อนนำน้ำมาวางไว้ให้หนึ่ง​กาเต็ม เสรีลุกขึ้น​​ไปหยิบน้ำมารินน้ำลงบนหลังเท้า​เพื่อ​จะบรรเทา​ความปวดแทนน้ำแข็ง รดราดน้ำลงหลังเท้า​ไปเรื่อย ๆ​ ปล่อยให้น้ำลง​ไป​ระหว่างไม้ปูพื้น​ซึ่งห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร ด้วยพื้นของกุฏิสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร อาการปวดค่อยทุเลาลง เหลือน้ำไว้นิดหนึ่ง​สำหรับบ้วนปาก เสรีพยายามหลับ นอน​ไปก็นึก​ไป​โดยกำหนด​เอา​ที่เจ็บบอกว่า "ปวดหนอ" ​พร้อมหายใจเข้า​และออก จนกระ​ทั้งหลับ​ไป ประมาณ 20 นาที กำหนดหายใจด้วยคำว่า "ปวดหนอ" ต่อ​ไปอีก สักครู่ใหญ่ ๆ​ ก็หลับอีกเพียงไม่นาน ​เขาทำเช่นนี้เรื่อย

บริเวณตาตุ่มมันปวดบวมขึ้น​ กินยาแก้ปวดระงับไม่อยู่​ กระ​ทั้งเวลาผ่าน​ไปไม่นานนัก ฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก ลมแรง มีพายุฟ้าคะนอง ฟ้าแลบแปลบปลาบ​เป็นเวลานาน ​จะเวลาเท่าไรนั้น​เสรีไม่​สามารถบอก​ได้ ​เพราะไม่​ได้ยินเสียงสัญญาณระฆังใด

อากาศหนาว เท้ายังเจ็บสุดทรมาน​จะนั่ง​ที่เดียวไม่​ได้ ทนปวดไม่ไหวจึง​ต้องเปลี่ยนกริยาบทตลอดเวลา

เวลาอย่างนี้เสรีคิดถึงแม่ อยากให้แม่​ได้มาอยู่​ด้วย แม่​จะ​ได้ช่วยดูแลพัดวีบีบนวดให้หายเจ็บ แม่​จะ​ได้ปลอบใจ เสรี​จะ​ได้กอดแม่ให้อบอุ่น ​แต่อนิจจา ยามเช่นนี้​ต้องห่างไกลแม่

หญิงคนรักก็ไม่มี ​เพราะทางโรงเรียนไม่นิยมหรือส่งเสริมให้นักเรียนรักกันฉันคนรักในวัยเรียน

​ถ้ามีปัญหาเรื่อง​ชู้สาว นักเรียน​จะถูกลงโทษ สำหรับชั้นเรียนผู้หญิง​จะอยู่​​แต่ผู้หญิงห้องหนึ่ง​ ผู้ชายก็ห้องหนึ่ง​ไม่ปะปนกัน ​ถ้าครูจับ​ได้ว่ามีการส่งจดหมายรักกัน​จะถูกตักเตือนหรือลงโทษ

ไม่มีการรับนักเรียน นักศึกษาเข้าประกวดนางงาม นางสาวไทย หรือแสดงภาพยนตร์ ​เป็นต้น

การเรียนในสมัยนั้น​จึงตลอดรอดฝั่งออกทำงานแล้ว​จึง​จะ​แต่งงานกันตามประเพณี รักษาวัฒนธรรมไทยให้ดำรงอยู่​จนถึงลูกหลานในปัจจุบัน

​จะนั่ง​จะนอนท่าใดมันก็ยังเจ็บปวด ฝนก็ตกหนัก พายุก็จัด ฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่​​เป็นระยะ บางครั้งก็ตกใจเสียงของมันสุดตัว​ที่เสียงดังก้องกัมปนาท

เสรีคิดทบทวนต่าง ๆ​ นานา คิดถึง​พระพุทธ​พระธรรม​และ​พระสงฆ์ให้ช่วยดลบันดาลให้หายปวด ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้หายปวด บ่นภาวนาเท่าไรก็ไม่หายปวดคลายเจ็บลง​ไป​ได้ ​ความเจ็บปวดยังเท่าเดิม หรืออาจเพิ่มทวีขึ้น​

ทันใดนั้น​เสรีนึกขึ้น​​ได้ว่า​ได้อ่านหนังสือประวัติท่านขุนพันราชรักษ์ ตลอดจนพิธีการกินเพชรหน้าทั่ง​และวิธีไสยศาสตร์ต่าง ๆ​

นึกถึงวิธีการฝึกสมาธิ ​โดยการนั่งขัดสมาธิ เท้าซ้ายทับเท้าขวา มือซ้ายทับมือขวานั่งตัวตรง สวมผ้าชุดสีขาว สังเกตการณ์เดินลมหายใจของตนเรียกว่า " ปาณานุสติ"

ด้วยการสังเกตลมหายใจเข้า -- ออก ​เมื่อลมผ่านจมูกเข้าก็รู้ว่าลมหายใจเข้าเดินจากปลายจมูกผ่านเข้า​ไปจนถึงกลางท้อง เวลาหายใจออกก็รู้สึก​ได้ว่ามีลมหายใจออกผ่านจมูก

มีการภาวนาคำว่า " พุทธ " ​เมื่อหายใจเข้าจนลึกเต็มท้อง ​คือ เฝ้าสังเกตลมหายใจเดินผ่านจากปลายจมูกจนถึงสะดือ แล้ว​ก็หายใจออก ก็รู้ว่าลมหายใจออกมาจากกลาง​ส่วนลึกของช่องท้องออกมาถึงปลายจมูก " หายใจออกภาวนาคำว่า " โธ " ทำอย่างนี้​ไปเรื่อย ๆ​
หมายถึงการมีสติครอง ​คือรู้ตัวว่าตน​กำลังทำอะไร​อยู่​ทุกกิริยาบท เช่นการเดิน การนั่ง การพูด ฯ การเดินจงกลม ก็ทราบว่า​กำลังยกเท้าใด ว่างเท้าใด มีสติคุ้มครองตลอดเวลา หรือเช่นว่า คน​จะทำดีหรือทำชั่วก็ทราบดีว่าตน​กำลังทำอะไร​ ​เพราะอะไร​ ถูก​ต้องตามทำนองครองธรรมหรือไม่ ถูกกฎหมายหรือไม่

เสรีอยาก​จะทดลองตาม​ที่​ได้อ่านคำอธิบายในหนังสือประวัติท่านขุนพันธ์ราชรักษ์ฯ ​แต่ถามตนเองว่า การฝึกสติอย่างนี้ของ​พระภิกษุเท่านั้น​ เรา​เป็นชาวบ้าน​จะทำ​ได้หรือ ​ถ้าทำไม่ดีก็มีอันตรายด้วย เช่น สามเณรรูปหนึ่ง​ฝึกวิปัสสนากรรมฐาน นั่งอยู่​ใต้ต้นไม้ใกล้ถนน ประมาณ 2 วัน วัน​ที่สาม ขณะ​ที่สามเณรนั้น​นั่งทำวิปัสสนาอยู่​ ก็ลุกขึ้น​รำ​ไปรอบ ๆ​ ต้นไม้ ภายหลังมีคนถามท่าน สามเณรบอกว่ามีผู้หญิงสวยงามดุจนางฟ้า ​แต่งชุดไทย เดินมาชวนพูดคุย​และสุดท้ายชวนรำ สามเณรเห็นดีด้วยก็ลุกขึ้น​รำตาม​ที่ผู้หญิงคนนั้น​รำ ​และเดิน​ไปตามถนนเรื่อย ๆ​ สรุปสุดท้ายสามเณรนั้น​กลาย​เป็นวิกลจริต​ไป ​และหาย​ไปจากตำบลนั้น​

เสรีอยาก​จะนั่งทำสมาธิบ้าง ​แต่ก็ยังกลัว ๆ​ ​จะ​เป็นเหมือนสามเณร คิดลังเลอยู่​ คิด​ไปคิดมา จึงตัดสินใจว่า​ต้องทดลองดู​จะ​เป็นอะไร​ก็​เป็นกัน ผู้แนะนำก็ไม่มี​แต่เราอ่านมาอย่างละเอียดแล้ว​ ​ความเจ็บปวด​ที่ข้อเท้าก็ยังมีอยู่​

เสรีนั่งบนเตียงไม่​ได้วางเท้าซ้ายทับเท้าขวาบนหน้าตัก ​ใช้ห้อยเท้า​ทั้งสองวางบนพื้น ​ซึ่งทำ​ได้ด้วย​ความยากลำบาก พนมมือขึ้น​ อธิษฐานว่า " นิ้วนั้น​เปรียบดอกไม้ธูปเทียน สำรวมแรงกาย​และแรงใจสวดมนต์ระลึกถึงคุณของ​พระพุทธเจ้า ​พระธรรม ​และ​พระสงฆ์ ​พร้อมคำสรรเสริญ ด้วยนะโมสามจบ เสรีลืมอธิษฐานใด ๆ​ นั่งแล้ว​หายใจเข้า​พร้อมสังเกตลมเข้าทางจมูก​พร้อม​กับคำภาวนา "พุทธ" หายใจออกก็สังเกตลมหายใจผ่านช่องจมูกออก​ไป​พร้อมคำภาวนาว่า "โธ"

เท้าก็ยังเจ็บอยู่​ จึงเปลี่ยนคำภาวนาว่า "พุทโธ" ในการสังเกตคำภาวนา จึงเปลี่ยนมา​ใช้คำว่า " ปวดหนอ " " ปวดหนอ" ​ไปเรื่อย ๆ​ ​ทั้งหายใจเข้า​และหายใจออก ​พร้อม​ได้ส่ง​กำลังจิต​ไป​ที่ข้อเท้า ภาวนา​ไปเรื่อย ​จะภาวนานานเท่าไรมิทราบ​ได้ พยายาม​เอาชนะ ​ความเจ็บปวดของตน​ไปเรื่อย ๆ​ รู้สึกคล้าย​กับว่า ตัวเบา คล้าย​จะลอยขึ้น​​ไปในอากาศ
เสรีเห็นแสงอรุโณทัย สีแดงสดใสผสมสีเหลืองปรากฏในทิศเบื้องหน้าบริเวณขอบฟ้า​และท้องฟ้า มีลำแสงกระจายสว่างไสว​ไปกระทบเมฆหมอกแผ่รัศมี​ไปทั่วท้องฟ้าด้านตะวันออก​และส่งกระจายมาถึงบริเวณ​ที่เสรียืนอยู่​ อย่างน่าแปลกใจยิ่ง ในสามัญสำนึกอุทานว่า "รุ่งแล้ว​ " "สว่างแล้ว​"

พอลืมตาขึ้น​เห็นบรรยากาศรอบ ๆ​ ยังมืดอยู่​ ภาระ​ที่​ต้อง​ไปยกปิ่นโตยัง​ต้องปฏิบัติอยู่​ ​โดยมิทราบว่า ท่าน​พระครูอุทัยฯ ท่าน​ได้กำหนดให้เด็กวัดผู้อื่นปฏิบัติงานแทนไว้แล้ว​อย่างเรียบร้อย​ มองรอบ ๆ​ บรรยากาศชวนให้สงสัย จึงลุกจาก​ที่นั่ง​โดยการยกเท้า​ที่เจ็บออก​แต่ก็รู้สึกแปลกใจมาก​ที่ไม่มีอาการเจ็บ ว่างเท้าลงถึงพื้นก็ไม่รู้สึกเจ็บ ลุกขึ้น​ยืนก็ไม่เจ็บ ยกเท้าก็ไม่รู้สึกเจ็บปวด​แต่อย่างใดโยกเท้าก็ไม่ปวด เดินถึงหน้าต่างเปิดหน้าต่างชะโงกออก​ไปดูไม่มีแสงอรุณอย่าง​ที่เห็น เห็น​แต่​ความมืดปกคลุม​ไปทั่ว

เสรีคิดว่าสิ่ง​ที่เห็นนั้น​​เป็นภาพนิมิต​ที่เกิดจากอาการ​ที่จิตสงบ​เป็นสมาธิ เสรีพยายามคิดทบทวนสิ่ง​ที่​ได้อ่านมาแล้ว​แน่ใจว่า​ความเจ็บปวด​ที่​ได้หาย​ไปนั้น​​เพราะอำนาจของพลังจิต​ที่ดลบันดาลให้​เป็น​ไป เสรีจึงเชื่อในพลังอำนาจจิตตั้งแต่นั้น​​เป็นต้นมา ​และเชื่อว่า​พระอรหันต์​ที่สำเร็จธรรมชั้นสูงแล้ว​ย่อมมีอำนาจจิตสูง​และมีอภินิหารต่าง ๆ​ ​ได้ ดัง​ที่ปรากฏในชาดก​และตำนานใน​พระไตรปิฎก

เพียงครู่​ต่อมา​ได้ยินเสียงสัญญาณระฆังจากหน่วยดับเพลิงดังมา 4 ค รั้ง บอกว่า ตี สี่แล้ว​ ขณะเดียวกันสัญญาณระฆังของตำรวจก็ยังมาอีก 4 ครั้ง เช่นกัน มันก็ใกล้สว่างแล้ว​ เสรีลุกขึ้น​ล้างหน้าแปลงฟัน​ที่ก๊อกน้ำหน้ากุฏิ ​เมื่อเก็บอุปกรณ์การทำ​ความสะอาดไว้แล้ว​ก็เดิน​ไปกลางทุ่งนาหลังวัด ​เพื่อชมแสงสว่างของยามรุ่งอรุณพวยพุ่งจากขอบฟ้า ในขณะ​ที่มีเมฆดำบางลอยอยู่​เหนือขอบฟ้าสีครามสวยงาม อันประดับด้วยดาวระยิบระยับ

ไม่นานนักแสงทองส่องอำไพก็เริ่มส่องโผล่ขึ้น​มาจากขอบฟ้าแผ่กระจาย​ไปทั่ว จนกระ​ทั้งดวงตะวันโผล่ขึ้น​มานิด ๆ​ ​ความสวยงามก็เพิ่มทวีคุณ ยาก​จะหาคำบรรยายใด มาเปรียบ​ได้ แสงอรุโณทัยมากระทบพื้นผิวโลกทำให้เห็นกลุ่มหยดน้ำค้างบนยอดหญ้า มีสีสดใส​เป็นประกายกระทบขอบฟ้าสวยงามยิ่ง เสรีมองด้วยปิติ​และปลื้มใจ​แต่ไม่​สามารถบอก​ความหรือบรรยายถึง​ความสุขสดชื่น​และ​ความมีพลัง​ได้ดัง​ที่​ได้เห็นจากนิมิตในขณะนั่งสมาธิ​ได้ ​ซึ่งมี​ความสุข กระชุ่มกระชวย กระปรี้กระเปร่า มี​ความเต็มเปี่ยมใน​ความรู้สึก​ที่ตัวเบาลอยเบาหวิว ​และอิ่ม​ที่ไม่​สามารถ​จะบรรยาย​ความสุขนั้น​​ได้

รุ่งเช้า​​ได้เล่าให้ท่าน​พระครูอุทัยฯ ทราบ ท่านบอกว่า " ​เป็นพลังของการมีสมาธิ ทำให้ปิติอิ่มเอิบ สมาธิมีพลังอำนาจ​และบันดาลให้หายเจ็บปวด​ได้อย่างง่ายดาย " ท่าน​ได้กล่าวต่อ​ไปว่า" ​ถ้าจิตมีพลังอำนาจอันเกิดจาก​ความสงบของจิต ทำให้จิตมีพลัง ​ถ้า​ความถี่ของจิตเท่า​กับ​ความถี่ของวิญญาณใดแล้ว​ ก็​สามารถติดต่อ สัมผัส​กับวิญญาณเหล่านั้น​​ได้ ตามสภาพ​กำลัง​ความถี่ของสมาธิ บางท่าน​สามารถส่งกระแสจิต​ไปสัมผัส​กับสิ่ง​ที่​ต้องการ​และสะท้อนกลับมาให้รับทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ​ ในขณะนั้น​หรือในอนาคต หรือในอดีต​ได้ ​ที่เรียกว่า ตาทิพย์หรือหูทิพย์

​ถ้ามี​ความสงบมากหรือ​ความถี่สูงถึงระดับอรหันต์ หรือญาณต่าง ๆ​ แล้ว​ ย่อม​สามารถแสดงอภินิหารต่าง ๆ​ ​ได้ ​แต่​พระสงฆ์เหล่านั้น​ท่านหมดอาสาวะกิเลศ ไม่​ต้องการลาภ ยศ สรรเสริญ สุขอัน​เป็นธรรมะฝ่ายฆราวาสเหลืออยู่​แล้ว​ ท่านรู้สภาวะธรรมชาติ ของอริยสัจสี่ ​คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ ​และมรรค ย่อมรู้ในไตรลักษณ์ต่าง ๆ​ ​ได้ ดี ​คือ ทุกขัง อนิจจัง ​และอนัตตา

ทุกอย่าง​เป็นวิทยาศาสตร์ ​สามารถปฏิบัติ ทดลอง พิสูจน์​ได้อย่างมีเหตุมีผล จึงทำให้ฝรั่งบางคน​ที่ค้นหา​ความจริงจากหลักศาสนาต่างๆ​ จากศาสนาหนึ่ง​ ​ไปยังอีกศาสนาหนึ่ง​ ไม่​สามารถพบทางแห่งสัจ​จะธรรม​ได้ จึง​ได้เปลี่ยน​และทดลองมาเรื่อย ๆ​ ถึงศาสนาพุทธ ​และ​ได้พบ​ความจริง​ที่​สามารถทดลองตามหลักเกณฑ์วิทยาศาสตร์​ได้ จึงเข้ามาบวชในพุทธศาสนา ​และสละ​แม้​แต่ทรัพย์สมบัติ หน้า​ที่การงานทางโลก มาสู่โลกุตรธรรมอย่างภาคภูมิใจ"

เสรีจึงศึกษาพุทธปฏิบัติตั้งแต่นั้น​มาด้วย​ความเชื่อมั่นใน​ความดี ​ความทุกข์ ​ความ​เป็นอนิจจัง ​และอนัตตา ทำสิ่งใดไว้ย่อม​ได้รับผลสิ่งนั้น​ กฎแห่งกรรม​เป็นอมตะ ชีวิตจึงคู่​กับธรรมะตลอดมา

...​...​...​...​...​.

 

F a c t   C a r d
Article ID A-3670 Article's Rate 0 votes
ชื่อเรื่อง พลังทิพย์
ผู้แต่ง เปิดฟ้า ก้องหล้า
ตีพิมพ์เมื่อ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ตีพิมพ์ในคอลัมน์ เรื่องสั้น
จำนวนผู้เปิดอ่าน ๗๓ ครั้ง
จำนวนความเห็น ๑ ความเห็น
จำนวนดอกไม้รวม
| | | |
เชิญโหวตให้เรตติ้งดอกไม้แก่ข้อเขียนนี้  
R e a d e r ' s   C o m m e n t
ความเห็นที่ ๑ : ศาลานกน้อย [C-19134 ], [000.000.000.000]
เมื่อวันที่ : 27 พ.ค. 2558, 13.16 น.

ผู้อ่าน​ที่รัก,

นิตยสารรายสะดวก​ ​และผู้เขียนยินดีรับฟัง​ความคิดเห็นต่อข้อเขียนชิ้นนี้
เชิญคลิกแสดง​ความเห็น​ได้​โดยอิสระ ขอขอบคุณ​และรู้สึก​เป็นเกียรติอย่างยิ่ง ในการมี​ส่วนร่วมของท่านในครั้งนี้...​

แจ้งลบข้อความ


สั่งให้ระบบส่งเมลแจ้งการเพิ่มเติมความเห็น
 ศาลานกน้อย พร้อมบริการเสมอ และยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกท่าน  ติดต่อเว็บมาสเตอร์ได้ทางคอลัมน์ คุยกับลุงเปี๊ยก หรือทางอีเมลได้ที่ uncle-piak@noknoi.com  พัฒนาระบบ : ธีรพงษ์ สุทธิวราภิรักษ์  โลโกนกน้อย : สุชา สนิทวงศ์  ภาพดอกไม้ในนกแชท : ณัฐพร บุญประภา  ลิขสิทธิ์งานเขียนในนิตยสารรายสะดวก เป็นของผู้เขียนเรื่องนั้น  ข้อความที่โพสบนเว็บไซต์แห่งนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้โพสทั้งสิ้น