![]() |
![]() |
กาบแก้ว![]() |
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
นิราศน้องมองตะวันแล้วขวัญหาย คิดถึงสายสวาทพี่ฤดีหมอง แม่โฉมยงคงร่ำำน้ำตานอง เคราะห์กรรมของสองเราเข้าบีฑา เสียงละหมาดบาดอุราพาวิเวก เหมือนพิเภกพลัดหลงจากวงศา ถูกทศกัณฐ์ถีบส่งจากลงกา เปรียบพี่ยามาอยู่ถึงดูไบ ฟ้ามืดมัวสลัวรางอ้างว้างเหงา สุดซึมเศร้าโศกาพาหวั่นไหว อนิจจาน่าอนาถเหมือนขาดใจ ฟ้ารำไรใกล้ค่ำย่ำสายัณห์ น้ำตาร่วงห่วงน้องอย่าร้องไห้ เก็บหัวใจยามกลับคอยรับขวัญ แม้นอยู่ไกลใจคะนึงถึงทุกวัน เฝ้ามองจันทร์ส่องหล้าคราค่ำคืน เพียงคำมั่นสัญญาแก้วตาพี่ ถึงวันนี้ฤดีช้ำจำใจฝืน วันข้างหน้าฟ้าใสสิ้นไฟฟืน คงหวนยืนฟื้นใหม่อีกไม่นาน เรายังเหลือสมองและสองมือ ไว้ค่อยซื้อค่อยหาปลอบตาหวาน อันสมบัตินอกกายแม้วายปราณ พระนิพพานท่านว่าอย่าหวังเลย ขอแก้วตาอย่ากังวลจนป่วยไข้ โปรดตัดใจจำยอมพร้อมเฉลย เพียงร่วมห้องหอนอนดังก่อนเคย ใครเล่าเอยฤาจะเปรียบเทียบสองเรา คิดถึงนุชสุดสวาทนิราศห่าง แสนหม่นหมางหมองจิตคิดยิ่งเหงา เคยร่วมเตียงเคียงเขนยเคยเหมือนเงา นั่งจับเจ่าเฉาอุราน้ำตาคลอ... ********* ของแถม... สมาธิ คนที่มีจิตใจวุ่นวาย ไม่สงบ มีการงานมาก มีภาระรับผิดชอบมาก นั่นแหละยิ่งจำเป็นที่จะต้องทำสมาธิให้มากๆ และต้องทำให้มากกว่าคนธรรมดา หรือแม้แต่พระสงฆ์เสียด้วยซ้ำไป มิฉะนั้นมันจะเป็นโรคประสาท เสียการงาน เสียอนาคต และอาจเสียคนไปชั่วชีวิต หรืออาจจะต้องถึงกับสิ้นชีวิต โดยที่ยังไม่จำเป็นจะต้องสิ้น อันการที่จะทำให้จิตเกิดสมาธินั้น มีวิธีการมากมายก่ายกอง ตามแต่จริตนิสัยและบารมีของแต่ละคน ขออย่าได้เกิดความฉงนสนเท่ห์ ให้ศรัทธาเสื่อมถอยเลย แบบไหนก็ทำได้ทั้งนั้น ทำแล้วไม่เกิดอันตรายทุกแบบ ต่างกันแต่ว่าแบบไหนมันทำสะดวก ถูกกับจริตของตน ก็จงทำแบบนั้นเถิด รสนิยมของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน และก็ไม่ควรจะว่ากัน คัดจาก... สมาธิ โดยธรรมรักษา http://www.dhammajak.net/samati/samati18/s1805.php อ่านวิธีฝึกสมาธิอื่นๆ http://www.dhammajak.net/samati/samati.php ขอบคุณภาพ ตะวันตกดิน จากเวบ* |
เมื่อวันที่ : 28 ก.พ. 2553, 23.36 น.
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รัก
กลอนบทนี้เขียนด้วยอารมณ์ที่อยากจะเขียน เพราะใจจริงของผู้เขียนแล้ว อยากจะรู้เหลือเกินว่า ลึกๆในหัวใจของมนุษย์ตัวเล็กๆคนหนึ่ง ถึงแม้จะเคยยิ่งใหญ่หรือร่ำรวยมหาศาลสักเพียงใดก็ตาม น่าจะมีความคิดเสี้ยวหนึ่งของอารมณ์ ที่ได้หวนคิดถึงสัจจธรรมแห่งความจริงของธรรมชาติ คืออริยสัจ 4 ที่พระพุทธองค์ท่านได้ทรงเพียรพร่ำชี้แนวทางให้มองเห็นและฉุกคิด เพื่อความสุขของการดำรงชีวิตของครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เรารัก...
ซึ่งสิ่งอันประเสริฐที่เรากำลังเพียรใฝ่หามาตลอดชีวิตนั่นก็คือ..ความรัก..ฤามิใช่?
วันนี้ขอเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนสักครั้งนะครับ..คงไม่ว่ากัน!
อริยสัจ 4
มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4
1. ทุกข์
คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์
2. สมุทัย
คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง
3. นิโรธ
คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน
4. มรรค
คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้