![]() |
![]() |
จันทน์กะพ้อ![]() |


ถ้าเอ่ยถึงลูกคุย คนส่วนใหญ่คงไม่รู้จักเพราะไม้ป่าพื้นเมืองทางจันทบุรี
ต้นคุยที่เคยเห็น จะเป็นเถาไม้เลื้อย ใบมันสีเขียวเข้ม
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ต้นคุยจะชอบขึ้นพันต้นไม้อื่นๆ ลูกคุยจำนวนมากจึงมักจะอยู่บนยอดไม้ ทำให้ยากลำบากในการเก็บ ต้องอาศัยคนที่ปีนต้นไม่เก่งๆจึงจะปีนขึ้นไปเก็บมาได้ เถาและก้านมันเหนียวมากจึงต้องใช้มีดตัด และถ้าโชคร้าย มีมดแดงยึดครองเถาคุยต้นนี้ก็เป็นอันอดกิน เพราะคงจะหาคนที่ทนมดแดงกัดได้ยาก (ขนาดช้างยังกลัวมดแดงเลย)
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
เขาว่ากันว่าเถาคุยที่ขึ้นต้นไม้ที่มีรสเปรี้ยวก็จะทำให้ลูกเปรี้ยวมากไปด้วย อย่างเช่น ต้นแต้ว แต่โดยธรรมชาติลูกคุยจะมีรสเปรี้ยวอยู่แล้ว น้อยต้นนักที่จะมีรสหวาน ดังนั้นบางคนเขาจึงเก็บลูกคุยตอนที่ยังห่ามๆอยู่มาดองเกลือ ก็จะมีรสฝาดเค็มเปรี้ยว
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ลูกคุยเป็นผลไม้ป่าที่คนทำสวนทางจันทบุรีส่วนใหญ่จะรู้จัก มีคุณพ่อของเพื่อนคนหนึ่งก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตก็ร้องอยากกินลูกคุย ให้ลูกหลานไปหามาให้กิน พวกเราจึงเอามาล้อกันว่า หากใครยังไม่เคยกินลูกคุยก็ยังตายไม่ได้
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ในสมัยก่อน ลูกคุยหากินกันได้ง่าย มีอยู่ทั่วไปตามป่ายาง (หมายถึงสวนยางพารา สมัยก่อนจะเรียกว่า ป่ายาง เพราะจะมีพันธุ์ไม้ป่าต่างๆเบียดเสียดขึ้นจนเต็มแน่นไปหมด นี่เป็นผลดีที่ทำให้ป่ายางอุดมไปด้วยพืชพันธุ์ไม้ป่านานาชนิด) แต่ปัจจุบันเราจะหาลุกคุยกินก็ค่อนข้างยาก เนื่องจากสูญหายไปมากเพราะการทำป่ายางให้เป็นสวนยางประการหนึ่ง และการที่ป่าถูกทำลายไปเป็นส่วนมากก็เป็นอีกประการหนึ่ง แต่ก็ยังมีคนไปเสาะหาลูกคุยมาขายจนได้ แต่ก็ราคาค่อนข้างแพง ประมาณพวงละ 30 บาท (5-7ผล) ลูกคุยจะมีผลปีละครั้งในช่วงหน้าร้อน ประมาณเดือนเมษายน พฤษภาคม
อันที่จริงลูกคุยก็ไม่ได้อร่อยมากมาย เนื้อน้อยติดเมล็ด มีเมล็ดค่อนข้างมาก และมียางสีขาวที่เปลือก แต่การกินก็เป็นเสมือนหนึ่งการระลึกถึงความหลังในวัยเด็กที่ได้วิ่งเล่นหาผลไม้ป่ากินกันนั่นเอง เด็กรุ่นหลังๆมานี้ก็แทบจะไม่รู้จักลุกคุยกันแล้ว
-----------------------------------
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ชื่อสามัญ- คุย (ใต้), ต้นคุย, เถาคุย, เครือ (ไทย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Willughbeia cochinchinensis Pierre.
วงศ์ : -
ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ที่มีอยู่ 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นพรรณไม้ยืนต้นมีขนาดกลาง ส่วนชนิดที่ 2 นั้นเป็นพรรณไม้เถายืนต้น
ใบ : ใบนั้นจะหนา และเป็นไม้ร่มได้ดีมาก
ดอก : จะออกเป็นช่อเล็ก ๆ สีเหลือง
ผล : จะมีลักษณะกลมโต มีขนาดท่าผลหมากดิบเขื่อง ๆ และมีรสเปรี้ยวจัด เมื่อผลสุกจะเป็นสีเหลือง พรรณไม้นี้มียางมาก
ส่วนที่ใช้ : เถา ใช้เป็นยา
สรรพคุณ : เถา จะมีรสฝาด รักษาอาการมือเท้าอ่อนเพลีย รักษาอาการประดงเข้าข้อ และรักษาลมในข้อในกระดูก
อื่น ๆ : ผลและรากนั้น เป็นสินค้าที่ซื้อขายกันทั่วไป ผลใช้เป็นอาหาร ส่วนรากใช้ย้อมสี ให้เป็นสีแดง
ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มักขึ้นเองตามป่าราบริมทางเดิน บริเวณที่เป็นดินปนทราย จากอำเภอ มะขามจนถึงทุ่งกร่าง และที่ทั่ว ๆ ไปในจังหวัดจันทบุรีมีมาก
พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม
เถาคุย
ภาพถ่าย จากสวนชากชองจันทบุรี
เมื่อวันที่ : 14 ส.ค. 2552, 10.10 น.
สวัสดีครับคุณจันทน์กะพ้อ
เห็นลูกคุย อุ๊ยเสียว ให้เปรี้ยวปาก
ยอมอดอยาก หยุดยั้ง ยังไม่สาย
ได้รู้เคล็ด เด็ดแท้ แฮ่..สบาย
จึงยังตาย ไม่ได้ ไม่ใช่คุย...