![]() |
![]() |
เรียวจันทร์![]() |
...
The Pianist และ Concerto of Life
เป็นภาพยนตร์ตะวันตกและตะวันออก ที่เสนอเรื่องราวชีวิตของนักเปียโนเหมือนกัน คนหนึ่งเ...




The Pianist ใช้เพลงของโชแปงเป็น theme หลักของเรื่อง ส่วน Concerto of Life ใช้เพลง รัชมานินอฟ Piano Concerto No.2 เป็น theme หลักของเรื่อง
The Pianist
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
เป็นหนังเกี่ยวกับชีวิตจริงของนักเปียโนชาวยิวคนหนึ่ง ชื่อ Wladislaw Szpilman ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศโปแลนด์ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเยอรมันบุกโปแลนด์และจัดการแยกและกวาดล้างชนชาวยิวทั้งหมด เขาต้องพลัดพรากจากครอบครัวและได้รับความช่วยเหลือจากนักดนตรีหญิง (เล่น เชลโล่) ที่ชื่อ Halina ชาวโปแลนด์คนหนึ่ง
เขาต้องหนีจากนาซีแบบหัวซุกหัวซุน มีฉากความโหดร้ายของเยอรมันเข้ามาเป็นระยะๆ แต่ในตอนท้าย เรื่องก็คลี่คลายไป เมื่อ นายทหารเยอรมัน Captain Wilm Hosenfeld ได้ยินเสียงกระป๋องตกในตึกร้าง เขาจึงมาค้นเจอ Szpilman แต่เขาไม่ได้โหดแบบทหารเยอรมันทั่วไป เขากลับถามว่า พระเอกทำงานอะไร พระเอกตอบว่า เป็นนักเปียโน นายทหารเยอรมันผู้มีดนตรีในหัวใจจึงขอให้พระเอกเล่นเปียโนให้ฟัง เมื่อได้ฟังการบรรเลงเปียโนที่ไพเราะ นายทหารเยอรมันก็ไว้ชีวิตเขา
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ในช่วงสงครามใกล้สิ้นสุด รัสเซียเริ่มบุกเข้ามาในโปแลนด์และเยอรมันก็ยอมแพ้ ก่อนที่เยอรมันจะพ่ายแพ้ นายทหารเยอรมันยังเอาอาหารมาให้ แล้วยังทิ้งเสื้อโค้ตไว้ให้เพราะเห็นว่าอากาศหนาว พระเอกของเราก็ใส่เสื้อโค้ตนายทหารเยอรมันในวันที่รัสเซียเข้าเมืองวอร์ซอพอดี จึงทำให้พระเอกแทบจะถูกยิงตายเพราะเสื้อโค้ตตัวนี้
ในที่สุดพระเอกก็กลับไปได้มีชีวิตปกติ ได้เล่นเปียโนเหมือนเดิม ส่วนนายทหารเยอรมันเสียชีวิตในคุกรัสเซียเมื่ออายุ 57 ปี ส่วน Szpilman เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อ ปี ค.ศ.2000 นี่เอง รวมอายุ 88 ปี
หนังเรื่องนี้ คนสร้างคือ Roman Polanski หนังปี 2002 ได้รับรางวัลออสการ์ คือรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม และ เอเดรี้ยน โบรดี้ ได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมไปครอง นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม โดยผู้เขียนบท คือ โรนัลด์ ฮาร์วูด
นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลจากเมืองคานส์ คือ
The Award for Best Actress ,
The Award for Best Actor,
The Award for Best Director ,
The Award for Best Screenplay
ดารานำแสดงได้แก่
Jessica Kate MEYER Halina
Adrien BRODY Wladislaw Szpilman
Thomas KRETSCHMANN Captain Wilm Hosenfeld
WRITING (ADAPTED SCREENPLAY)
Screenplay by Ronald Harwood
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
(Adrien BRODY และ Roman Polanski)
อ่านประวัติและฟังเพลง Chopin ที่นี่
โชแปง
Concerto of Life
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
หลังจากผ่านช่วงชีวิตอันเลวร้ายของการปฏิวัติวัฒนธรรมไปแล้ว เขาก็ต้องเผชิญปัญหาชีวิตรัก ปัญหาสุขภาพ เขายอมอุทิศตนเป็นครูสอนเปียโนธรรมดาคนหนึ่ง เฝ้าพากเพียร ทุ่มเทสอนลูกศิษย์ จนในที่สุดลูกศิษย์คนสุดท้ายของเขาก็ได้เข้าประกวดการแข่งขัน เปียโน คอนแชร์โต้ (เล่นเพลง Concerto No.2 ของ Rachmaninoff) จนได้รับรางวัล และลูกศิษย์ก็เอาเงินรางวัลที่ได้นี้มาเพื่อจะช่วยรักษาโรคให้แก่ครูเปียโนของเขา
ฉากสุดท้ายเป็นฉากในโรงพยาบาล ในขณะที่พระเอกผู้เป็นครูสอนเปียโนกำลังจะสิ้นลมหายใจ เพื่อนของเขาได้เอาวิทยุมาเปิดการถ่ายทอดสดการแข่งขันเปียโน คอนแชร์โต้ซึ่งลูกศิษย์ของเขากำลังบรรเลงอยู่ ถึงแม้หมอจะบอกว่า เขาจะไม่ได้ยินเพราะเขาสิ้นลมหายใจไปแล้ว แต่เพื่อนของเขาไม่ยอม
"เขาจะต้องได้ยิน ต้องให้เขาฟังจนจบ" แล้วเพื่อนคนนั้นก็เปิดวิทยุให้เขาฟังต่อไปจนกระทั่งเสียงบรรเลงเปียโนจบลง พร้อมกับเสียงปรบมืออันกึกก้องยาวนาน
ช่อดอกไม้ เสียงปรบมือ และเกียรติยศที่เขาไม่ต้องการอีกต่อไป แม้เขาจะสิ้นลมหายใจไปแล้ว แต่สิ่งที่เขาได้พร่ำสอนลูกศิ์ษย์ของเขาทุกคน คือ
"จงทำในสิ่งที่ตนเองรัก และรักในสิ่งที่ตัวเองทำ" นี่คือหลักประจำใจของเขา
Concerto Of Life เป็นหนังที่ดูแล้วประทับใจมาก แม้จะไม่มีฉากที่ยิ่งใหญ่ อลังการแบบ The Pianist แต่ก็เป็นชีวิตจริงๆที่ทุกข์ยากลำบากของนักเปียโนคนหนึ่ง ที่ต้องผ่านช่วงชีวิตอันยากลำบากยาวนาน จนแทบจะไม่มีความหวังใดๆในชีวิต นอกจากการทุ่มเทให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่ลูกศิษย์ ลูกศิษย์ผู้ตั้งใจจะเป็นหนึ่งให้ได้ ก็เพื่อครูของเขาเช่นกัน
หนังเรื่องนี้ ใช้เพลง Piano Concerto no.2 ของ Rachmaninoff เป็นเพลงหลัก
ถ้าอยากจะดูหนังเรื่องนี้ ชื่อไทย คือ ฝ่าดงรักแดงเดือด ครอบครัวตัวโน้ต และหัวใจรักเสียงดนตรี มีหลายชื่อค่ะ
Director: Xia Gang
Producer: Lu Yao
Principal Cast: Wang Luoyong,YanXiaoin, Da Shishang
Festivals (Prizes):
New Delhi 00, Ft. Lauderdale 02
World Premiere/Country/Distributor/Censors/FirstWkend/Screens:
2000 Festival
โดยสรุปแล้ว ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องมีข้อเด่นที่แตกต่างกัน ถ้าพูดถึงเรื่องเทคนิคอันยอดเยี่ยมและฉากที่ยิ่งใหญ่ ดังเช่น ฉากซากผุพังของสงครามแล้ว The Pianistทำได้ยอดเยี่ยม แต่หากจะพูดถึงอารมณ์ความลึกซึ้งของตัวละครแล้ว Concerto of Life ย่อมเหนือกว่า แม้ว่าจะเป็นหนังเล็กๆ แต่ก็บีบคั้นอารมณ์ ทำให้กลั้นน้ำตาไว้ไม่ได้
เมื่อวันที่ : 27 พ.ย. 2546, 14.02 น.
คุณเรียวจันทร์พูดถึงหนังที่เกี่ยวกับนักเปียโนสองเรื่องนี้ ทำให้ผมนึกถึงหนังดีอีกเรื่องหนึ่ง คือ The Legend of 1900 ถ้าไม่เอามาเขียนต่อท้ายซะตรงนี้ ก็ดูเหมือนจะไม่มีตรงไหนเหมาะกว่าอีกแล้ว
The Legend of 1900 สร้างจากหนังสือของ อแลซซานโดร บาริกโก นักเขียนที่ลุงเปี๊ยกชื่นชอบมาก (จำได้ไหมครับ เคยพูดถึงเรื่อง "ไหม" ที่แต่งโดยคนเดียวกันนี้) เป็นการแต่งหนังสือโดยเล่าผ่านตัวละครตัวเดียว ที่บังเอิญได้พบและรู้จักกับพระเอกของเรื่อง
เขาเป็นเด็กกำพร้า เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1900 ตลอดชีวิตเขาไม่เคยเหยียบแผ่นดินเลย เพราะเขาเกิดและเติบโตในเรือเดินสมุทร คนงานผิวดำคนหนึ่งพบเขาร้องอุ๊แว๊ๆ จึงเอามาเลี้ยง และเติบโตในห้องพักคนงานในเรือและตั้งชื่อเขาว่า 1900
1900 เติบโตขึ้นและวิ่งเล่นอยู่ในเรือ เขาสนใจแกรนด์เปียโนที่อยู่ในห้องจัดเลี้ยงของเรือ และหาโอกาสไปกดคีย์เล่นเมื่อมีโอกาส ด้วยพรสวรรค์ เขาเรียนรู้และเล่นเปียโนด้วยตัวเอง จนมีความสามารถเลื่องลือ เขาแต่งเพลงเป็นดนตรีชนิดที่เกิดขึ้นโดยไม่มีอิทธิพลเพลงจากภายนอกครอบงำเลย
เมื่อมีชื่อเสียงเลื่องลือ ก็มีข้อเสนอมากมายให้สร้างแผ่นเสียง และให้เข้าเมืองเพื่อแสดงดนตรีในที่ต่างๆ เขาก้าวลงบนสะพานเรือ เกือบถึงแผ่นดินก็เปลี่ยนใจ ไม่ยอมลงจากเรือ ด้วยเหตุผลที่ผู้คนไม่เข้าใจ
เขาใช้ชีิวต อย่างมีความสุขบนเรือต่อไป จนกระทั่งเรือลำนั้นปลดระวาง และถูกขายไปเพื่อตัดเป็นเศษเหล็ก เขาปฏิเสธที่จะขึ้นจากเรือ และยอมตายไปกับซากเรือนั้น ด้วยเหตุผลทำนองว่า โลกของเขาอยู่บนเรือลำนี้ ข้างบนนั้นไม่ได้มีอะไรที่ดีกว่าสิ่งที่เขาคุ้นเคยมาตลอดชีวิตในเรือลำนี้
อแลซซานโดร บาริกโก พยายามสื่ออะไรบางอย่างให้คนอ่านหนังสือเขาได้ฉุกคิด เสียดายว่าไม่มีใครแปลหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาไทย(หรือว่ามีแต่ผมไม่รู้) เลยไม่ได้อ่านเพื่อรับอรรถรสโดยตรงจากเขา
หนังเรื่องนี้ผมบังเอิญได้ดูทาง UBC เมื่อปีที่แล้ว(2545)ครับ เป็นไปได้ว่าอาจจะมีการนำกลับมาฉายซ้ำอีก ถ้ามาฉายซ้ำขอแนะนำให้ดูครับ หนังดีๆเช่นนี้