![]() |
![]() |
กาบแก้ว![]() |
![]() เคยแนบชิดเคยแลโลมโพยมหน สกุณาถลาร่อนบินเวียนวน ช่างน่ายลยามนภาฟ้าสีคราม ![]() ![]() ![]() คลื่นพลิ้วแพรวยามลมพรูดูวาบหวาม เรือลำน้อยลอยละลิ่วใบพลิ้วงาม ได้ลมยามล่องธาราทะเลทอง ![]() ![]() ![]() โลกดั่งเพียงมีอยู่คู่เราสอง ยามทะเลเห่คลื่นลมสมใจปอง น้ำตานองด้วยคลื่นรักที่ปักทรวง ![]() ![]() สุดช้ำฟกคนอื่นครองของรักหวง คนเก่าไปคนใหม่มาเชิดหน้าควง อารมณ์ลวงเล่ห์มนุษย์สุดจะทน ![]() ![]() เคยหวานชื่นกลับระทมตรมอีกหน สกุณายังคงเฝ้าบินเวียนวน เจ็บกมลคอยโพยมประโลมใจฯ ![]() ![]() *************** หมายเหตุ : ![]() สำหรับนักอ่านชาวศาลานกน้อยทุกท่าน 17 กุมภาพันธ์ 2550.......กาบแก้ว ![]() |
เมื่อวันที่ : 17 ก.พ. 2550, 07.41 น.
ก่อนอื่นต้องขออภัยคุณกาบแก้ว ผู้ประพันธ์กลอนบทนี้ด้วยนะครับที่จำเป็นต้องหยิบกลอนบทนี้ขึ้นมาวิจารณ์ ผลงานชิ้นนี้มีปัญหามากพอสมควร คิดว่าน่าเอามาพูดถึง เพื่อเป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ที่รักการแต่งกลอนจะได้พึงสังวรณ์ในงานเขียนของตน
เท่าที่อ่านดู สะดุดใจตั้งแต่ชื่อกลอน ที่ตั้งไว้ว่า "นกน้อยลอยโพยม"
ผู้เขียนนึกภาพอะไรอยู่ครับ นกตัวเล็กตัวน้อยกำลังบินอยู่บนท้องฟ้าใช่ไหม?
ถ้าใช่ คำว่านกน้อย"ลอย"โพยม จึงไม่สามารถสื่อให้เห็นภาพดังกล่าวได้เลย !
ถ้านกน้อยจะ "ลอย"ได้ ต้องเป็นนกเครื่องร่อน หรือนกกระดาษ เพราะคำว่า "ลอย" คือการเลื่อนไหลไปโดยไร้แรงขับเคลื่อน อย่างเช่น ดาวลอยไปบนท้องฟ้า ลูกโป่งล่องลอยไปอย่างไร้จุดหมาย
เริ่มต้นก็เห็นปัญหาการเลือกคำเสียแล้วครับ น่าเสียดาย
ยามรักกันหวานรื่นชื่นนาสา
สกุณาถลาร่อนว่อนเวหน
เกลื่อนนภาฟ้ากระจ่างช่างน่ายล
นฤมลชวนชี้ชมโพยมงาม
วรรคแรกก็เจออีกแล้วครับ ผู้เขียนเลือกคำผิดที่ผิดเวลาได้เก่งจัง
ยามรักกันหวานรื่นชื่นนาสา
อ่านแล้วงงพอสมควร คำว่า "หวาน" น่าจะสื่อความหมายด้านรส ที่รับรู้ได้ด้วยลิ้นหรือความรู้สึกทางใจ เช่นหวานลิ้น หวานใจ
สิ่งที่น่าเป็นในบทนี้ น่าจะเป็นว่า "ยามรักกันหวานรื่นชื่นดวงจิต" หรืออย่างอื่นที่ให้ภาพไปในทางเดียวกัน
แต่เมื่อเขียนมาว่า ...ชื่นนาสา คือความรักหวานชื่นจมูก หรือชื่นต่อมรับกลิ่น มันก็เลยฟังดูทะแม่งอย่างร้ายแรง ขออภัยที่ต้องใช้คำนี้ครับ แต่เป็นอย่างนั้นจริง ๆ
สกุณาถลาร่อนว่อนเวหน
นั่นไงครับ เห็นไหมครับ สกุณาคือนกจะต้องถลา คือบินด้วยแรงของตน เป็นภาพที่ขัดกับชื่อกลอนที่ว่า นกน้อยลอยโพยม อย่างที่ว่ามาแต่แรกใช่ไหมครับ?
เกลื่อนนภาฟ้ากระจ่างช่างน่ายล
ติดใจอีกแล้วครับ คำว่า "เกลื่อน" พอเอามาใช้กับคำว่านก อันเป็นตัวลครเอกของกลอนบทนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกถึงความ "ดาษดื่น" ทั้งที่ควรจะ "โดดเด่น" จริงไหมครับ ลองกลับไปอ่านดูอีกหลาย ๆ รอบนะครับ
คำว่า "เกลื่อน" อันเป็นคำต้นวรรค สามารถแทนด้วยคำอื่นได้อีกมากมายหลายร้อยคำ โดยไม่เสียอรรถรส เพราะไม่ต้องรับหรือส่งสัมผัสกับคำใดเลย จึงไม่น่ายากที่จะหาคำอื่นมาทดแทนให้ได้ภาพเดียวกัน
อีกคำครับ "กระจ่าง" ในวรรคนี้ เข้าใจว่าต้องการสร้างสัมผัสในกับคำว่า "ช่าง" ที่ตามมา แต่การสร้างสัมผัสแบบนี้ ทำให้ความเสียไปทันที
ลองอ่านท้องสองวรรคไล่มานะครับ
...สกุณาถลาร่อนว่อนเวหน
เกลื่อนนภาฟ้ากระจ่างช่างน่ายล
"แรง"ของความจากวรรคที่พูดถึงสกุณา คือนก ยังไม่"สิ้นความ" หรือสิ้นแรง จึงน่าจะพูดถึงนก ที่เป็นตัวเอกของวรรคนี้ให้ "สิ้นกระแสความ" ก่อน แล้วค่อยมาต่อด้วยเรื่องฟ้ากระจ่าง แต่เมื่อ "ฟ้า" โผล่พรวดขึ้นมาตอนความเดิมยังไม่สิ้น ความใหม่ก็แทรกเข้ามา ก็พลอยทำให้ฟังดูเสียความรู้สึกไปหลายส่วน
นฤมลชวนชี้ชมโพยมงาม
คำว่า "ชม" เป็นสระเสียงสั้น ส่วน "โยม" เป็นเสียงยาว ตามหลักแล้วไม่สามารถจับมาสัมผัสกันได้
แต่ในวรรคนี้พอจะอนุโลมได้บ้าง เพราะเป็นเพียงสัมผัสใน หรือ"สัมผัสประดับ" ไม่ใช่สัมผัสนอก อันเป็น "สัมผัสบังคับ" แต่ขอเตือนนักกลอนหน้าใหม่ว่า การนำสระเสียงสั้น ไปสัมผัสกับสระเสียงยาว เป็นเรื่องไม่ควรทำอย่างยิ่ง ที่เห็นได้บ่อย เช่น สระไอ หรืออัย เอาไปสัมผัสกับสระ อาย ดังตัวอย่าง
รักคือสิ่งสูงค่ามีความหมาย
รักด้วยใจแท้จริงยิ่งสุขสันต์...
เอาเป็นว่าขอท้วงติงเพียงแค่นี้ก่อนนะครับ
อย่าว่าอย่างโน้นอย่างนี้เลย แอบอ่านอยู่แล้วอดไม่ได้จริง ๆ
หวังว่าคงไม่โกรธกัน