![]() |
![]() |
หนุ่มร้อยปี![]() |
...
ชีวิตต้องสู้ (๑)
ชีวิตเป็นสิ่งที่บอบบางแต่เต็มไปด้วยปัญหา ผู้ที่บอกว่าตัวเองไม่มีปัญหาก็ด้วยความไ...












ชีวิตเป็นสิ่งที่บอบบางแต่เต็มไปด้วยปัญหา ผู้ที่บอกว่าตัวเองไม่มีปัญหาก็ด้วยความไม่รู้ หรือแกล้งทำเป็นไม่รู้ ปัญหาเป็นความทุกข์ และความทุกข์ก็คือปัญหา แต่ตัวปัญหาก็เป็นประโยชน์เพราะทำให้เกิดความสำเร็จ ปัญหาจึงคู่กับความสำเร็จเหมือนความรู้ต้องคู่ชีวิต ชีวิตที่ขาดความรู้จึงต้องโศกเศร้าในทุกสถานที่ นี่เป็นสัจจะอย่างยิ่ง

ความรู้เป็นฐานรองรับชีวิตที่มีคุณภาพ การศึกษาเรียนรู้ศิลปะวิทยา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และธรรมชาติ โดยเฉพาะจิตใจและร่างกายเพื่อต่อสู้กับชีวิต


ปัญหาของสังคมมนุษย์ทุกวันนี้อยู่ตรงที่เราถูกชักจูงให้เชื่อว่า ความสุขของเราอยู่ที่การตบแต่งสิ่งภายนอกให้สวยงาม เราเน้นหนักกันตรงนี้ จึงทำให้เราละเลยที่จะปรับปรุงชีวิตด้านในของเราว่า ส่วนไหนควรระงับยับยั้ง และส่วนไหนต้องส่งเสริม
การไม่ใส่ใจในชีวิตด้านใน เราจึงห่างกันออกไปทุกที คิดเพ่งโทษกัน แย่งชิงในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ เช่น ความมั่งคั่ง ยศศักดิ์ อำนาจ และเมื่อได้สิ่งเหล่านี้มาแล้วก็ใช้ไม่เป็น กลับเอามาทำร้ายตนเองและผู้อื่นด้วยความไม่รู้ความจริง แต่ถ้าเราศึกษาให้เข้าใจและเรียนรู้ชีวิตในส่วนลึกๆนี้ได้แล้ว เราย่อมเข้าใกล้กันได้ จูงมือกันไปด้วยความมีอิสระ ที่มีความเป็นมนุษย์เหมือนกันและแบ่งความสุขให้แก่กันได้
คนเราไม่ว่าจะทำงานหนักสักเพียงใด หรือมีปัญหามากสักเท่าใด จึงไม่ต่างกัน แต่ความแตกต่างอยู่ตรงที่ความมีอิสระและความคิดที่สร้างสรรค์ เพราะทั้งสองอย่างนี้ย่อมทำให้ชีวิตมีความหวัง และความสำคัญของชีวิตก็ไม่ได้อยู่ที่อายุยืนยาวออกไป แต่หัวใจของชีวิตอยู่ตรงที่ว่าเราจะทำอย่างไร ให้ชีวิตยืนยาวออกไปนั้นมีคุณค่าต่างหาก
เวลาว่างกับการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เราจะต้องทำอย่างไร จึงจะไม่ให้เกิดความสับสนคับแค้นและสิ้นหวัง มาทำร้ายใจของเราเองและคนอื่นด้วย
กล่าวโดยสรุปก็คือ สร้างความคิดที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเมตตากรุณา และแบ่งปันความสุขให้แก่กันเท่าที่จะให้ได้ แต่ในขณะที่ยังไม่มีความสามารถจะช่วยเหลือผู้อื่นได้ ก็จงอย่าทำร้ายเขา และระหว่างนั้นต้องขวนขวายเจริญปัญญา ให้ความเมตตากรุณาเกิดขึ้นในใจด้วยการสร้างศรัทธา เพื่อระงับยับยั้งความละโมบก้าวร้าวที่คิดจะทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น และเสริมสร้างจิตใจด้านดีงามให้สมบูรณ์มั่นคงขึ้น ปรับและเปลี่ยนความคิดที่เคยคิดแต่ในเรื่องราวที่ไม่ดี ไม่มีสาระ ปองร้ายเพ่งโทษผู้อื่นอยู่เสมอให้น้อยลง และคิดว่าควรจะทำอย่างไรให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นให้มากที่สุด

โปรดติดตามอ่านตอนที่ ๒

ถ่ายทอดจากหนังสือ ๓วัย โดย ศ.นพ.เชวง เดชะไกศยะ

เมื่อวันที่ : 02 ส.ค. 2549, 15.18 น.
ผู้อ่านที่รัก,
นิตยสารรายสะดวก และผู้เขียนยินดีรับฟังความคิดเห็นต่อข้อเขียนชิ้นนี้
เชิญคลิกแสดงความเห็นได้โดยอิสระ ขอขอบคุณและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ในการมีส่วนร่วมของท่านในครั้งนี้...