นิตยสารรายสะดวก  Articles  ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙
พี่น้องคารามาซอฟ
เรียวจันทร์
... ขอไชโยให้​​กับตัวเอง​​ที่​​ได้พยายามอ่าน หนังสือวรรณกรรมหนาเกือบ 900 หน้า พี่น้องคารามาซอฟ จนจบภายใน 1 อาทิตย์ ทุกวันพยายามแบกหนังสือเล่มหนานี้​​ไป...
ขอไชโยให้​กับตัวเอง​ที่​ได้พยายามอ่าน หนังสือวรรณกรรมหนา 900 หน้า พี่น้องคารามาซอฟ จนจบภายใน 1 อาทิตย์ ทุกวันพยายามแบกหนังสือเล่มหนานี้​ไปไหน​ไปด้วย พอว่างก็​จะ​เอาขึ้น​มาอ่าน

ผู้ประพันธ์หนังสือเล่มนี้​คือ ดอสโตเยฟสกี้



ดอสโตเยฟสกี้ ​(Fyodor Dostoyevsky) มีชีวิตอยู่​ในช่วงปี ค.ศ.1821-1881 ​เขาเกิดมาในตระกูลชนชั้นกลาง​ที่ไม่ร่ำรวยนัก มีพ่อ​ซึ่ง​เป็นศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลอนาถาแห่งหนึ่ง​ มีพี่น้อง​ทั้งหมด 7 คน ​เขา​เป็นลูกชายคน​ที่สอง พ่อ​เป็นคนเข้มงวด ขี้หึง​และชอบดื่มเหล้า แม่​เขาตาย​เมื่อ​เขามีอายุ 16 ปี ​และสองปี​ต่อมาพ่อ​เขาก็ตาย ​ซึ่งอาจ​จะ​เป็น​เพราะ​เนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตก ​แต่ก็มีข่าวร่ำลือว่าพ่อตาย​เพราะถูกฆาตกรรมด้วยฝีมือของชาวนา​ซึ่ง​เป็นทาสใน​ที่ดินของ​เขาเอง​โดยการถูกจับกรอกด้วยเหล้าวอดก้าจนสำลักตาย

ดอสโตเยฟสกี้ เรียนหนังสือเอง​ที่บ้าน​และเข้าโรงเรียนประจำของเอกชนแห่งหนึ่ง​ในมอสโคว์ จากนั้น​ก็ศึกษาต่อ​ที่สถาบันวิศวกรรมทหาร​ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เรียนจบก็เข้ารับราชการทหาร​ได้ปีเดียวก็ลาออกมาเริ่มต้นเขียนหนังสือ

​เขาเริ่มเขียนหนังสือ​เมื่อ ปี ค.ศ. 1844 ​และ รักของผู้ยากไร้ Poor Folkหรือ Poor People (1846) ​เป็นนวนิยายขนาดสั้นเล่มแรกของ​เขา ​ซึ่ง​ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ​เป็น ​เขา​เป็นโกโกลคนใหม่ (นิโคลัส โกโกล ค.ศ.1809 -1852 ​เป็นผู้บุกเบิกงานวรรณกรรมเสียดสีสังคม Dead Souls (​ซึ่งเทียบเคียง​กับวรรณกรรมเรื่อง​ Don Quixote)) ​เพราะรักของผู้ยากไร้​เป็นนวนิยาย​ที่สะท้อนสังคมเล่มแรกในรัสเซีย ​ซึ่งทำให้​เขาประสบ​ความสำเร็จขณะ​ที่มีอายุเพียง 24 ปี จากแนวคิด​และบุคลิกตัวละครในเรื่อง​ รักของผู้ยากไร้นี้​เป็นพื้นฐานในการสร้างตัวละครอื่นๆ​ในงานเขียนชิ้นหลังๆ​ของ​เขาให้สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น​

สองสัปดาห์​ต่อมา The Double (1846) ผลงานเล่ม​ที่สองก็ออกสู่ตลาด ​แต่ไม่​ได้รับ​ความนิยมเท่า​กับเรื่อง​แรก

ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ.1949 ดอสโตเยฟสกี้เข้าร่วมขบวนการโค่น​พระเจ้าซาร์นิโคลัส​ที่หนึ่ง​ ​แต่ถูกจับจำคุก "ขังเงียบ" นานถึง 8 เดือน ​และถูกตัดสินประหารชีวิต ​ระหว่าง​ที่​เขาสวมชุดนักโทษประหารรอรับ​ความตายอยู่​นั้น​ ในเวลาห้านาทีก่อน​จะถึงเวลา​ที่​เขา​จะ​ต้องถูกผูกติด​กับเสา​และถูกยิงเป้าต่อจากสหายด้วยกัน เหมือนปาฏิหาริย์ ​พระเจ้าซาร์​ได้สั่งงดการประหารชีวิตเปลี่ยน​เป็นการเนรเทศพวกนักโทษให้​ไปอยู่​ไซบีเรียทำงานหนักเยี่ยงทาสนาน 4 ปีแทน ​เขา​ได้เรียนรู้​ความยากลำบากนานัปการ​ที่ไซบีเรีย หลังจากพ้นโทษ​และ​ได้รับฐานะทางชนชั้นกลับคืนมาแล้ว​ ​เขาก็ยัง​ใช้ชีวิตอย่างยากไร้เสีย​เป็น​ส่วนใหญ่ ​เขาเคย​ทั้ง​เป็นนักพนัน​และติดยาเสพติด

หลังจากพ้นโทษ​เขาเดินทางกลับสู่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ​เขาก็เขียนเรื่อง​ The House of the Dead (1861-62) บรรยายถึงประสบการณ์ในคุกไซบีเรีย​ได้อย่างสะเทือนอารมณ์ , ตามด้วย The Insulted and Injured (1861) , Winter Notes on Summer Impressions (1863), Notes from Underground (1864).

มารียา ฟิโอโดโรฟน่า ​คือภรรยาคนแรกของ​เขา ​ซึ่งดอสโตเยฟสกี้ ให้ฉายาเธอว่า "อัศวินสวมอาภรณ์สตรี" ก็​เป็นบุคลิกตัวละครหนึ่ง​ใน Crime and Punishment (1866) ตัวละครนั้น​​คือ แคธีน่า อีวานอฟน่า ภรรยาของ​เขาเสียชีวิตด้วยวัณโรคในปี ค.ศ.1864

หลังจาก​ที่​เขาล้มเหลวในการพยายาม​จะทำให้นิตยสาร "ยุคสมัย" ยืนหยัดต่อ​ไป​ได้หลังจากพี่ชาย​เขาเสียชีวิต​ไปแล้ว​ ​เขาก็เดินทาง​ไปยุโรปตะวันตก​เพื่อพักผ่อน​และหลบหน้าเจ้าหนี้ ชีวิตช่วงนี้ตกต่ำสุดขีด มีหนี้สินจากการพนัน ​และ​เขา​ต้องติดคุกในเยอรมันนาน 2 เดือน พอกลับจากเยอรมัน​เขาจึงเขียน Crime and Punishment ตามด้วย นักพนัน The Gambler (1968)

​เขา​แต่งงานครั้ง​ที่สอง​กับ กริกอเรียฟน่า สนิตกิน่า ผู้จดตามคำบอกของ​เขา ​เขาเดินทาง​ไปยุโรปนาน 4 ปีเต็ม ​และเขียน The Idiot (1868-69) ​ซึ่งตัวเอก​เป็นโรคลมบ้าหมูเหมือนตัว​เขา The Possessed (1872), The Diary of a Writer (1876), 'The Gentle Maiden' (1876), ​และ The Brothers of Karamazov (1879-80) ​เป็นเรื่อง​สุดท้าย​ที่​เขาเขียนไว้ลง​เป็นตอนๆ​ในหนังสือ The Russia Herald ​ซึ่ง​ได้รับชื่อเสียง​และเงินทองมากขึ้น​ ​เขาเสียชีวิตด้วยโรคเกี่ยว​กับระบบการทำงานของปอด​เมื่อเดือนมกราคม 1881

พี่น้องคารามาซอฟ

คลิกดูภาพขยาย


ผู้แปล ​คือ สดใส
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล บทนำ
เทพศิริ สุขโสภา ภาพประกอบ
​ความหนา 891 หน้า ราคา 300 บาท​

"สิ่งหนึ่ง​​ที่สร้าง​ความทุกข์ใจแก่จิตสำนึก​และจิตใต้สำนึกมาตลอดชีวิตก็​คือ คำถาม​ที่ว่ามีจริงหรือไม่?" นี่​คือแนว​ความคิดของ ดอสโตเยฟสกี้ ​ที่ใส่เข้าไว้ในหนังสือเล่มสุดท้ายของ​เขาอีกครั้งในพี่น้องคารามาซอฟ ​โดยผ่านทางตัวละคร​ที่ชื่อ อีวาน ลูกชายคน​ที่สอง ของตาเฒ่าคารามาซอฟ

นวนิยายเรื่อง​นี้กล่าวถึงครอบครัว คารามาซอฟ ผู้พ่อ​ซึ่งหยาบช้า กักขฬะ ไม่เคยสนใจดูแลลูกเมีย ​และมักมากในกามคุณ ​เขามีภรรยาสองคน บุตรจากภรรยาคนแรกชื่อ ดิมิตรี หรือ มิตยา ​เป็นนายทหารผู้โผงผางตรง​ไปตรงมา ​และอาฆาตแค้นต่อพ่อของตนเองว่า​เขาไม่​ได้รับการ​เอาใจใส่ดูแล รวม​ทั้งพ่อยังรักผู้หญิงคนเดียว​กับ​เขาอีกด้วย ​เขาเคยมี​ความคิด​ที่​จะฆ่าพ่อของ​เขาเอง

บุตรชายคน​ที่สอง​คือ อีวาน ​ซึ่ง​เป็นลูกคนโต​กับภรรยาคน​ที่สอง อีวาน​เป็นนักคิดนักเขียน ​และแนว​ความคิดเรื่อง​​พระเจ้าไม่มีจริงก็สอดใส่อยูในจิตวิญญาณของ​เขาตลอด ​เขาเองก็เคยมี​ความคิดชั่วร้าย​ที่ไม่อยาก​จะให้พ่อของ​เขามีชีวิตอยู่​เช่นกัน

​ส่วนบุตรชายคน​ที่สาม ​คือ อเลกไซ หรือ อโลชาผู้น้อง ​ซึ่ง​เป็นผู้มีจิตใจเมตตา อ่อนโยน ​และฝักใฝ่ในธรรมะ ​เขาแทบ​จะ​เป็นคนเดียวในเรื่อง​นี้​ที่มีสุขภาพจิต​ที่สมบูรณ์​ที่สุด ​เขาชอบช่วยเหลือคนอื่นๆ​​และมองคนในแง่ดีเสมอ

เหตุการณ์สำคัญของนวนิยายเรื่อง​นี้ ​คือ คารามาซอฟผู้พ่อถูกฆาตกรรม หลักฐานทุกอย่างผูกมัดให้มิตยาลูกชายคนโตถูกกล่าวหาว่า​เป็นผู้ฆ่า

อีวานน้องคนรอง ​ได้ค้นพบ​ความจริงว่าผู้​ที่ฆ่าพ่อ​คือคน​ใช้ในบ้าน​ซึ่งอาจ​จะ​เป็นลูกของพ่อ​เขาเอง​กับหญิงบ้า ​และในการฆาตกรรมครั้งนี้​เขาเองก็ดู​จะมี​ส่วนในการพูดให้ฆาตกรมีแรงจูงใจ​ที่​จะฆ่าพ่อ​เขาด้วย ​แต่ยังไม่ทัน​ที่อีวาน​จะเปิดเผย​ความลับนี้​เขาก็มีอาการทางสมอง​ไปเสียก่อน

อโลชาน้องสุดท้อง เชื่อมั่นว่าพี่ชายคนโตไม่​ได้ฆ่าพ่ออย่างแน่นอน​โดยเชื่อจากสายตา​ที่บริสุทธิ์ของพี่ชาย ​แต่​เขาไม่มีหลักฐาน ​เขาพยายาม​จะหาทางช่วยพี่ชายของ​เขาทุกวิถีทาง ​แม้กระทั่งการหลบหนี

แคทธารีนา

คลิกดูภาพขยาย


กรูเชนกา

คลิกดูภาพขยาย


มีผู้หญิงตัวเอกสองคนในเรื่อง​ ​คือ แคทธารีนา คนรักคนแรกของมิตยา ​แต่ในท้าย​ที่สุดเธอกลับพบว่าตัวเองรักอีวานผู้น้อง ผู้หญิงอีกคนหนึ่ง​​คือ กรูเชนกา หญิงงามเมือง​ที่มิตยาหลงรัก ​และพ่อเฒ่าคารามาซอฟหลงใหล

เรื่อง​นี้ ดอสโตเยฟสกี้ เขียนไว้ 4 ภาค บทส่งท้ายยังไม่ทันจบ​เขาก็เสียชีวิต​ไปก่อน พี่น้องคารามาซอฟจึงจบลงตรง​ที่ มิตยาถูกตัดสินว่ามี​ความผิดฐานฆ่าพ่อ

ตัวละคร​แต่ละตัวนั้น​ ผู้เขียน​ได้สร้างบุคลิก นิสัยใจคอ ​ความคิด​และ​ความเชื่อไว้อย่างชัดเจนมาก ​เขาเขียนให้เรามองเห็นมนุษย์​แต่ละคนอย่างทะลุปรุโปร่งจนถึงวิญญาณ นับ​เป็น​ความละเอียดลออ​และ​ความ​สามารถของดอสโตเยฟสกี้ นอกจากนี้ยังมีรายละเอียด ชีวิต​ความ​เป็นอยู่​ของผู้คน​และปัญหาต่างๆ​​ที่เกิดขึ้น​ในสังคมรัสเซีย

ดอสโตเยฟสกี้ ทำให้เรามองเห็นมนุษย์​ที่แท้ ​ซึ่งมี​ทั้ง​ความดี​และ​ความชั่วอยู่​ในคนเดียวกัน ​แต่บางคนก็ไม่รู้ตัวเองว่าเหตุใดจึงกระทำการแบบนั้น​ ​เพราะเหตุผลอะไร​ มนุษย์เรามี​ความคิดซับซ้อน​และสับสนวุ่นวาย ในอีกด้านหนึ่ง​ ​เขาก็แสดงให้เห็นจิตใจ​ที่ดีงามของมนุษย์​ที่ดีอย่างอโลชา เอื้ออาทรห่วงใยต่อ​เพื่อนมนุษย์จนทำให้เรารู้สึกว่า​​ใครๆ​ก็สบายใจ​เมื่ออยู่​ใกล้ ​แม้คนอ่านเองก็สบายใจ​เมื่อ​ได้อ่านเรื่อง​ราวของคนคนนี้ ​เขา​เป็นตัวแทนแห่ง​ความรัก​ความดีงาม ​เขา​เป็นตัวแทนของ​พระเจ้า

ถึง​แม้ว่าบางตอนของเรื่อง​ พี่น้องคารามาซอฟ ​จะเยิ่นเย้อ​ไปบ้าง ​แต่​โดยภาพรวมแล้ว​ พี่น้องคารามาซอฟ​เป็นวรรณกรรม​ที่มีคุณค่าต่อ​ความเข้าใจใน​ความ​เป็นมนุษย์ อ่านแล้ว​คุณ​จะเข้าใจว่ามนุษย์​คือคน​ที่ถูกสร้างมาอย่างมี​ความผิดพลาด การดูแลเลี้ยงดูส่งผลต่อ​ความนึกคิดของ​แต่ละคน มนุษย์มี​แต่​ความโลภ โกรธ ​และหลง อ่านแล้ว​คุณ​จะ​ได้หันกลับมามองตัวเอง มอง​ความคิดของตนเอง เราคิดดีคิดเลวต่อ​ใครบ้าง ​และ​ความคิด​ที่ดีของเรา​เอาชนะ​ความคิดชั่วในตัวเรา​ได้หรือเปล่า?

จากหนังสือ อาชญากรรม​กับการลงทัณฑ์ (Crime and Punishment) ศ. ศุภศิลป์ แปล
จากหนังสือ พี่น้องคารามาซอฟ (The Brothers of Karamazov) สดใส แปล

 

F a c t   C a r d
Article ID A-1655 Article's Rate 12 votes
ชื่อเรื่อง พี่น้องคารามาซอฟ
ผู้แต่ง เรียวจันทร์
ตีพิมพ์เมื่อ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙
ตีพิมพ์ในคอลัมน์ มุมแนะนำหนังสือ
จำนวนผู้เปิดอ่าน ๑๕๒๔ ครั้ง
จำนวนความเห็น ๑๐ ความเห็น
จำนวนดอกไม้รวม ๕๒
| | | |
เชิญโหวตให้เรตติ้งดอกไม้แก่ข้อเขียนนี้  
R e a d e r ' s   C o m m e n t
ความเห็นที่ ๑ : แสนรัก [C-8134 ], [219.47.52.8]
เมื่อวันที่ : 21 มิ.ย. 2549, 18.50 น.

ขอบคุณค่ะ​ ​ที่นำมาแบ่งปัน

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๒ : pilgrim [C-8137 ], [82.3.32.76]
เมื่อวันที่ : 21 มิ.ย. 2549, 20.00 น.

พิลเองก็ยังไม่เคยอ่านเรื่อง​นี้เลย​ค่ะ​ วรรณกรรมรัสเซีย​ส่วนมาก ก่อนอ่าน​ต้องตั้งหลัก​และทำใจก่อนค่ะ​ ด้วยมัน "หนัก" ​ทั้งเนื้อเรื่อง​​และ ตัวเล่ม​ที่มัก​จะหนามากๆ​

พี่เก่งมากเลย​ค่ะ​ ​ที่อ่านจนจบ

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๓ : พันนที [C-8155 ], [202.28.169.165]
เมื่อวันที่ : 22 มิ.ย. 2549, 14.27 น.

ไม่ค่อย​ได้อ่านวรรณกรรมต่างแดนเท่าไหร่ค่ะ​
มาอ่าน​ที่คุรเรียวจันทร์เขียน เลย​​ได้มุมมองเพิ่งขึ้น​

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๔ : สตรอเบอรี่ [C-8163 ], [203.188.3.31]
เมื่อวันที่ : 23 มิ.ย. 2549, 15.24 น.

​ต้องขอคารวะสักสามจอก เรื่อง​นี้ผมเก็บเงินซื้ออยู่​ 3 เดือน ถึง​ได้ครอบครอง ​และนั่งอ่านนอนอ่านมา 10 กว่าเดือน​จะเข้าปีอยู่​แล้ว​ยังอ่านไม่จบ HA ๆ​ ไม่รู้​เป็นไงอ่านแล้ว​หลับทุกที HA ! อีกละ

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๕ : ลุงเปี๊ยก [C-8181 ], [58.8.181.53]
เมื่อวันที่ : 24 มิ.ย. 2549, 08.51 น.

มีหนังสืออยู่​สองเล่มใหญ่ ๆ​ ​ที่ผมหมายมั่นปั้นมือว่า ​จะ​ต้องอ่านให้​ได้เล่มหนึ่ง​​คือ อันนา คาเรนนิน่า(ลีโอ ตอลสตอย) ​และอีกเล่ม​คือ พี่น้องคารามาซอฟ นี่แหละ​ครับ​ เล่มแรกโชคดีอ่านจบ​ไปนานแล้ว​ ​ส่วนเล่ม​ที่คุณเรียวจันทร์ นำมาเขียน​เป็นบท​ความครั้งนี้ ยังไม่​ได้อ่านซักที...​ อัน​ที่จริงตอนอยู่​เชียงราย ​ได้มาอยู่​ในมือแล้ว​(ยืมมาจาก กลุ่มรุ้งอ้วน เอ็นจีโอ​ที่นั่น) ​แต่​ความ​ที่เล่มหนา(มาก) เลย​รอเวลาว่างค่อยหยิบมาอ่าน

วางอยู่​นาน.. จนกลับมากรุงเทพฯซะก่อน จึง​ต้อง​เอา​ไปคืน

"เรียวจันทร์" มาเขียนแนะนำคราวนี้ ​ต้องขอบคุณมาก ๆ​ อย่างน้อยผมก็พอ​จะ​ได้รู้เรื่อง​​โดยย่อ (​และทำให้อยากหามาอ่านอีก) ดูเหมือนนักเขียนรัสเซีย ​จะเปลือย​ความ​เป็นมนุษย์​ได้ถึงแก่นจริง ๆ​ ผมเคยอ่านงานของ ดอสโตเยฟสกี้ ชื่อปกว่า "สาวน้อยคนนั้น​" เนื้อหาก็ทะลวงเข้า​ไปใน​ความนึกคิดของตัวละครอย่างตรง​ไปตรงมา ​ซึ่งในสมัยนั้น​ คง​จะ​เป็น​ที่แตกตื่น​ที่นักเขียนบังอาจ แฉ​ความจริงด้านมืดของมนุษย์อย่างเปล่าเปลือยขนาดนั้น​

ผมไม่ทราบว่าดอสโตเยฟสกี้ ​จะอยู่​ในยุคเดียว​กับ ลีโอ ตอลสตอย หรือเปล่า คุณเรียวจันทร์ มีข้อมูลบ้างไหมครับ​ .. อ้อ ​และเคย​ได้อ่านเล่ม​ที่ชื่อ บาปบริสุทธิ์ หรือยัง?

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๖ : เรียวจันทร์ [C-8233 ], [203.114.102.160]
เมื่อวันที่ : 28 มิ.ย. 2549, 12.18 น.

สวัสดีค่ะ​ทุกท่าน หาเวลาว่างๆ​ แล้ว​ลองอ่านพี่น้องคารามาซอฟอย่างต่อ​เนื่อง สนุกสนานน่าติดตามเชียวค่ะ​

ดอสโตเยฟสกี้ ​(ค.ศ.1821 - 1881)
ตอลสตอย (ค.ศ.1828 - 1910)

​ทั้งสองท่าน​เป็นนักเขียนยุคเดียวกัน ​ซึ่งถือว่า​เป็นยุคทองของวรรณกรรมรัสเซีย ในทาง​ส่วนตัวนั้น​ สองท่านนี้ไม่เคยพบปะกัน​เป็นการ​ส่วนตัว เคยมีการนัดพบกันแล้ว​​แต่มีปัญหาเรื่อง​สถาน​ที่นัดพบ ​และไม่มีการจัดการอีก

ดอสโตเยฟสกี้ เคยชื่นชมว่า Anna Karenina ของ ตอลสตอยนั้น​ ​เป็นงานศิลปะ​ที่ไม่มีตำหนิ ​("flawless work of art") ​แต่ตอลสตอย วิจารณ์เรื่อง​ Crime and Punishment ของ ดอสโตเยฟสกี้ว่า แค่อ่านบทแรกๆ​ ก็รู้แล้ว​ว่าเรื่อง​​จะนิยายเรื่อง​นี้​จะจบลงอย่างไร ("Once you read the first few chapters you know pretty much how the novel will end up") ​แต่​เมื่อตอลสตอยรู้ข่าวการสิ้นชีวิตของดอสโตเยฟสกี้ ​เขาก็ถึง​กับร่ำไห้

ยังไม่เคยอ่านงานเรื่อง​ "บาปบริสุทธิ์" ​และ "สาวน้อยคนนั้น​"เลย​ แล้ว​​จะหาอ่านดูค่ะ​คุณเปี๊ยก

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๗ : jasminek-กัลปจันทรา [C-12126 ], [170.215.50.25]
เมื่อวันที่ : 06 ส.ค. 2550, 03.13 น.

สวัสดีค่ะ​

โห...​เก่งกันจริงๆ​ นับถือเลย​​ใครอ่านเรื่อง​นี้จบ หรือเล่มไหนของนักเขียนคนนี้นับถือๆ​

คนแปลก็​ต้องยอดไม่ว่าแปลออกมา​เป็นภาษาอะไร​ ดิฉันมีปัญหา​กับนักเขียนคนนี้ ​ส่วนมากอ่าน​ไปแล้ว​​จะจำชื่อไม่​ได้

เขียนมาด้วย​ความชื่นชมค่ะ​

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๘ : นักเลงหนัง [C-13245 ], [58.10.90.16]
เมื่อวันที่ : 16 พ.ย. 2550, 13.21 น.

อ่าน "หนึ่ง​ร้อยปีแห่ง​ความโดดเดี่ยว" ของ มาเกซ ต่อเลย​ครับ​

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๙ : yuttipung [C-14012 ], [202.44.8.100]
เมื่อวันที่ : 25 เม.ย. 2551, 17.52 น.

​กำลังอ่านอยู่​ครับ​ ​ใช้เวลานานมาก เสียดายว่าพิมพ์มาตั้งครั้ง​ที่ 4 ​แต่ทำไมพิสูจน์อักษรไม่ดีเลย​

แจ้งลบข้อความ


ความเห็นที่ ๑๐ : เรียวจันทร์ [C-14061 ], [125.25.193.93]
เมื่อวันที่ : 15 พ.ค. 2551, 23.06 น.

มาช่วย​เป็น​กำลังใจให้คุณ yuttipung อ่านต่อ​ไปค่ะ​

ตอนนี้​กำลังอ่าน หนึ่ง​ร้อยปีแห่ง​ความโดดเดี่ยว ของกาเบรียล การ์เซีย มาเควซ ตามคำแนะนำอยู่​ค่ะ​ ก็สนุกสนาน​ไปอีกแบบหนึ่ง​ค่ะ​ ตัวละครเยอะมาก สำนวนง่ายๆ​ ​แต่ประชดประชัน​โดย​ที่ไม่รู้สึกว่า​มีอารมณ์แบบนั้น​อยู่​เลย​

​ถ้า​จะเทียบ อ่านคารามาชอฟก็เหมือน​กับการฟังเพลงคลาสสิค ​แต่อ่าน หนึ่ง​ร้อยปีแห่ง​ความโดดเดี่ยว นี่เหมือนฟังเพลงแจ๊สนะคะ​

แจ้งลบข้อความ


สั่งให้ระบบส่งเมลแจ้งการเพิ่มเติมความเห็น
 ศาลานกน้อย พร้อมบริการเสมอ และยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกท่าน  ติดต่อเว็บมาสเตอร์ได้ทางคอลัมน์ คุยกับลุงเปี๊ยก หรือทางอีเมลได้ที่ uncle-piak@noknoi.com  พัฒนาระบบ : ธีรพงษ์ สุทธิวราภิรักษ์  โลโกนกน้อย : สุชา สนิทวงศ์  ภาพดอกไม้ในนกแชท : ณัฐพร บุญประภา  ลิขสิทธิ์งานเขียนในนิตยสารรายสะดวก เป็นของผู้เขียนเรื่องนั้น  ข้อความที่โพสบนเว็บไซต์แห่งนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้โพสทั้งสิ้น